parts of speech แบ่งออกเป็นกี่กลุ่มกันแน่
          สวัสดีครับนักศึกษา นี่เป็นโพสท์ที่ 2 หลังจากที่ครั้งที่แล้ว ผมได้ลงถึงขอบเขตไวยากรณ์ทั้งหมดที่ตั้งใจจะลง โดยเนื้อหานั้นผมลงไว้เพื่อประกอบการสอนติวนักศึกษาในคอร์สที่ไม่มีพื้นฐาน เพื่อเป็นการประหยัดเรื่องเอกสารประกอบการติว และทำให้การติวผ่านไปได้รวดเร็วขึ้น ผมไม่ต้องการพกชีทหรือเอกสารเล่มหนา ๆ ในขณะติว ส่วนการติวนั้น ผมจะเน้นเรื่องการทำความเข้าใจ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อสอบ ว่านักศึกษาต้องมีพื้นฐานเรื่องอะไรบ้าง บางเรื่องนักศึกษายังเข้าใจผิดอยู่เกี่ยวกับไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษ การแก้ไขข้อผิดพลาด จึงเป็นหน้าที่ของผม
อ่านสารบัญเนื้อหาได้ที่นี่ครับ
       
          การอธิบายหรือการใช้ภาษาของผมนั้นจะไม่เหมือนกับตำราไทยโดยทั่วไป การนิยามความหมายเกี่ยวกับไวยากรณ์นั้น ผมจะยึดตามความเข้าใจของผมเองตามภาษาจากต้นฉบับ ดังนั้น คำศัพท์เฉพาะที่เกี่ยวกับไวยากรณ์อังกฤษนั้น คำไหนที่แปลเป็นภาษาไทยได้ชัดเจน ผมก็จะลงไว้ให้ แต่หากมีคำไหนที่เทียบเป็นไทยไม่ได้ หรือไม่มีในภาษาไทย ผมก็จะทับศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากความรู้ด้านภาษาไทยของผมอาจจะยังไม่ลึกซึ้งพอที่จะบัญญัติศัพท์เพื่อแปลเป็นไทยได้ และเพื่อป้องการการเข้าใจผิด ที่อาจไม่ตรงตามภาษาต้นฉบับ
          สำหรับตำราอ้างอิงที่ผมจะใช้ประกอบการเรียบเรียงหลัก มาจาก 3 เล่ม นี้
  • Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
  • Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
  • Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
  • Peter Huring. 2016. Complete English Grammar Rules - Examples, Exceptions & Everything You Need to Master Proper Grammar by Farlex International.
          หากการอธิบายส่วนไหนมีข้อผิดพลาด ผมต้องขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย และท่านสามารถแจ้งข้อผิดพลาดให้ผมทราบได้ เพื่อจะได้แก้ไขให้ถูกต้องเป็นลำดับต่อไปครับ
          สำหรับโพสท์นี้จะพูดถึง ภาพรวมเกี่ยวกับไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ที่จะเริ่มขยายความจากครั้งแรก เราจะพบว่าจะมีศัพท์ทาง Grammar(ไวยากรณ์) เยอะแยะไปหมด ซึ่งนักศึกษาต้องจำไว้ให้ดี เพราะในอนาคตเราจะพบในตำราที่เป็นภาษาอังกฤษ หรือ ฟังเจ้าของภาษาที่สอนภาษาอังกฤษ เราจะได้ฟังและอ่านเข้าใจได้มากยิ่งขึ้นครับ  เริ่มต้นกันเลยครับ
ข้อผิดพลาดที่ผมพบบ่อย คือ นักศึกษายังสับสนระหว่าง ประเภท(ชนิด)ของคำ กับ การทำหน้าที่ของคำ(function) ในประโยค เช่น เมื่อพูดถึงคำนาม อันนี้เราเรียกว่า ประเภทของคำ แต่เมื่อพูดถึง ประธาน(Subject) อันนี้เราเรียกว่า การทำหน้าที่ของคำในประโยค ถามประเภท ตอบ ประเภท ถามหน้าที่ ตอบหน้าที่ ต้องแยกให้ออก มันคนละเรื่องครับ ไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษไม่เข้าใจครับ


English Grammar

Grammar   หมายถึง วิธีการใช้คำ วิธีการแบ่งประเภทของคำ และวิธีการประกอบขึ้นมาเป็นคำ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องต้องกันในการสื่อสารในการพูดหรือการเขียน

สำหรับประเด็นหลักเกี่ยวกับไวยากรณ์ภาษาอังกฤษนี้ ผมขอแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ในระดับพื้นฐาน คือ  Parts of Speech, Inflection, Syntax โดยทั้ง 3 ส่วนนี้จะนำมาใช้ร่วมกันในการให้ความหมาย

Parts of Speech(ประเภทของคำ)

ส่วนแรกที่จะกล่าวถึง ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานที่สุด คือ ส่วนประกอบของคำในภาษาอังกฤษ คำว่า "Parts of Speech" คือ ประเภทต่าง ๆ ของคำ(Categories) ซึ่งประเภทต่าง ๆ ของคำนั้นจะถูกกำหนดตาม ความหมาย โครงสร้าง และการทำหน้าที่ในประโยค

Parts of Speech จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ ครับ
1. Parts of Speech หลัก มี 7 ประเภท มีดังนี้
  • Nouns
  • Pronouns
  • Verbs
  • Adjectives
  • Adverbs
  • Prepositions
  • Conjunctions
2. Parts of Speech อื่น ๆ ที่ไม่จัดอยู่ใน 7 กลุ่ม มีดังนี้
  • Particles
  • Articles
  • Determiners
  • Gerunds
  • Interjections
การเข้าใจเรื่อง Parts of Speech ทำให้เราเข้าใจว่า เราจะนำคำต่าง ๆ นั้นมาสร้างเป็นประโยคอย่างไร และทำไมจึงสร้างขึ้นแบบนั้น

Inflection(การผันคำ)

เมื่อเราเข้าใจเรื่อง parts of speech แล้ว เรื่องสำคัญต่อมาที่จะต้องรู้ คือ Inflection คือ ลักษณะการเปลี่ยนรูปของคำเป็นคำใหม่ หรือ สร้างคำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจง
สำหรับ  Inflection ในภาษาอังกฤษจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
  • Conjugation หมายถึง การผันคำกริยา
  • Declension หมายถึง การผัน Nouns, Pronouns, Adjectives, และ Adverbs
ยกตัวอย่าง
การผันกริยาจากรูปปัจจุบัน เป็นรูปอดีต เราเรียกว่า Conjugation
การเปลี่ยนคำนามรูปเอกพจน์ เป็นรูปพหูพจน์ เราเรียกว่า Declension

Syntax(วากยสัมพันธ์)

สำหรับเรื่องสุดท้าย ก็คือ Syntax หมายถึง กฎและรูปแบบต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นเป็นโครงสร้างของประโยค เกี่ยวกับโครงสร้างทางไวยากรณ์ที่กำหนดขึ้น ที่เป็นลักษณะลำดับชั้น(Hierarchy) จากบนลงล่างของหน่วยในภาษาและคำ

เรื่อง Syntax เราจะพิจารณาถึงหน่วยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานในทุกประโยค ได้แก่ ภาคประธาน(Subjects) และภาคแสดง(Predicates)  ไปจนถึง ชนิดของโครงสร้างประโยค ส่วนขยาย(Modifiers) วลี(Phrases) และ ประโยคย่อย(Clause) รวมไปถึงการศึกษาถึง ความแตกต่างของโครงสร้างและประเภทต่าง ๆ ของประโยคแต่ละรูปแบบ

สรุปว่า ในการศึกษาไวยากรณ์ภาษาอังกฤษนั้น จะต้องนำความรู้ 3 ส่วนมาประกอบกัน คือ Parts of Speech, Inflection, Syntax ครับ

Parts of Speech

หมายถึง ประเภทต่าง ๆ ของคำที่สำคัญ แบ่งตามการทำหน้าที่ของคำเหล่านั้นในประโยค

1. Nouns (คำนาม)
หมายถึง คำที่ระบุ ชื่อ คน(People) สถานที่(Places) หรือสิ่งของ(Things)
Nouns จะทำหน้าที่ ดังต่อไปนี้
  1. Subject of a clause
  2. Subject of a sentence
  3. Object of a verb
  4. Object of a preposition
2. Pronouns (คำสรรพนาม)
Pronouns  หมายถึง คำที่ใช้แทนคำนาม (คน, สถานที่, สิ่งของ)  ในทางไวยากรณ์  Pronouns มีลักษณะการใช้เหมือนกับคำนาม ตัวอย่าง คำสรรพนามที่เห็นทั่วไป เช่น  I, you, she, him, it, everyone, somebody เป็นต้น

3. Verbs (คำกริยา)
คำกริยา หมายถึง คำที่บอกลักษณะการกระทำ(Actions) หรือบอกสถานะ(States of being) ของ คน สัตว์ สถานที่ สิ่งของ
กริยาที่ทำหน้าที่เป็นรากฐานของประโยค เรียกว่า  Predicate  ซึ่งวางไว้หลังประธานเพื่อสร้างให้ประโยคสมบูรณ์ ดังนั้น ทุกประโยค ต้องมีกริยาอย่างน้อย 1 ตัว
กริยาที่บอกการกระทำ เช่น run, walk, write,  sing เป็นต้น
กริยาที่บอกสถานะ เช่น  be, seem, feel,  sound เป็นต้น

4. Adjectives (คำคุณศัพท์)
คำคุณศัพท์ หมายถึง คำที่ขยายคำนาม และคำสรรพนาม(บางกรณี) เช่น  red, blue, fast, slow, big, tall, wide เป็นต้น

5. Adverbs (คำวิเศษณ์)
Adverbs  หมายถึง คำที่ใช้ขยาย
1. Adverbs ขยาย Verbs
2. Adverbs ขยาย Adjectives
3. Adverbs ขยาย Adverbs
4. Adverbs ขยาย Clauses
ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ขยาย และขยายอย่างไร สำหรับ Adverbs นั้น จะปรากฎในหลาย ๆ ที่ในประโยค โดยทั่วไปแล้ว Adverbs มักจะสร้างจากคำคุณศัพท์ โดยกาเติม -ly  เช่น
slow - slowly
quick - quickly
wide - widely
beautiful - beautifully
common - commonly
เป็นต้น

6. Prepositions (คำบุพบท)
Prepositions หมายถึง คำที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Noun หรือ  Pronoun กับส่วนอื่นของประโยค
นามที่อยู่หลัง Prepositions เราเรียกว่า Object of the preposition เมื่อ นำมารวมกัน เราจะเรียกว่า Prepositional Phrases ซึ่ง Prepositional Phrases จะทำหน้าที่เป็น Adjectives  หรือ  Adverbs ในประโยคก็ได้
ยกตัวอย่าง  Prepositional Phrases
- on  the  table
- in the  shed
- across  the  field
เป็นต้น

7. Conjunctions (คำสันธาน) หรือ คำเชื่อม
Conjunctions หมายถึง คำที่เชื่อม
- Conjunctions เชื่อม คำอื่น(Words)
- Conjunctions เชื่อมวลี(Phrases)
- Conjunctions เชื่อมอนุประโยค(Clauses)
- Conjunctions บอกชนิดความสัมพันธ์ที่ชี้เฉพาะ ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ
ตัวอย่างคำ Coordinating Conjunctions ได้แก่  and, but, or, nor, for, so,  yet เป็นต้น

8. Other Parts of Speech (ประเภทของคำอื่น ๆ)

หมายถึง Parts  of  Speech ที่อยู่นอกเหนือจาก 7 กลุ่มที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งไม่จัดอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ มีดังนี้ ครับ
1. Particles
2. Articles
3. Determiners
4. Gerunds
5. Interjections

เนื่องจากว่ามีคำอีกจำพวกหนึ่งที่มีลักษณะที่เป็นได้หลายประเภทใน 7 กลุ่มหลัก เช่น Determiners ในหลายกรณีเหมือนจะเป็น Adjectives แต่ก็ไม่ใช่ Adjectives อย่างสมบูรณ์ เราจะเห็นได้ว่า ประเภทของคำในกลุ่มที่ 8 นั้น ยากที่จะระบุได้ชัดลงไปว่า อยู่ในกลุ่มไหนกันแน่ นักไวยากรณ์จึงจัดให้อยู่ในกลุ่มอื่น ๆ นั่นเอง

บทสรุป หัวข้อสำคัญที่ผมลงไว้ทั้งหมดมีดังนี้

1. ส่วนประกอบสำคัญของไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
  • Parts of Speech
  • Inflection
  • Syntax
2. Parts of Speech แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
Main Parts of Speech มี 7 ประเภท คือ
  • Nouns
  • Pronouns
  • Verbs
  • Adjectives
  • Adverbs
  • Prepositions
  • Conjunctions
Other Parts of Speech มี 5 ประเภท คือ
  • Particles
  • Articles
  • Determiners
  • Gerunds
  • Interjections
          อย่างน้อย ๆ วันนี้ นักศึกษาพอทราบแล้วว่า การศึกษาไวยากรณ์ภาษาอังกฤษนั้น มีขอบเขตสำคัญ ที่เราจะต้องศึกษามีเรื่องอะไรบ้าง และ เรื่อง Parts  of  Speech นั้น เราสามารถแบ่งออกเป็นกี่กลุ่ม เท่าที่ผมเขียนมา ก็จะแบ่งได้เป็น 12 กลุ่มด้วยกัน คราวหน้า ผมก็จะลงรายละเอียดแต่ละหัวข้อตามลำดับ เริ่มตั้งแต่คำ Nouns ไปจนถึงหัวข้อสุดท้าย ที่ผมได้บอกไว้แล้วในโพสท์ผ่านมาที่นี่ ซึ่งตำราที่ใช้ประกอบ มีเป็น พันหน้าครับ ยังไม่รวมข้อสอบ แบบฝึกหัด ใครที่่ขยันก็คอยติดตามกันในตอนต่อไป สวัสดีครับ

ข้อมูลโดย
  • ติวเตอร์แบงค์
  • สถาบันติว PERFECT ซ.รามคำแหง 43/1
  • ติวเตอร์ประจำวิชา ENG, ENS, CEN2101, CEN2102, APR2101
  • ติดต่อติวเตอร์ โทร. 081-7269394
เอกสารอ้างอิง
  1. Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
  2. Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
  3. Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
  4. Peter Huring. 2016. Complete English Grammar Rules - Examples, Exceptions & Everything You Need to Master Proper Grammar by Farlex International.
ปรับปรุงแก้ไขล่าสุดเมื่อ 24 พ.ย. 2562