วิชา POL 2100 : การเมืองการปกครองในสหพันธรัฐรัสเซีย

โดย อ.ดร.กฤติธี ศรีเกตุ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ข้อสอบอยู่ในคำบรรยายนี้ทั้งหมด โปรดอ่านและทำความเข้าใจให้ดี
-------------------------
ประวัติการก่อตั้งอาณาจักรรัสเซีย
        เจ้าขุนมูลนายผู้มีอิทธิพลในเขตกสิกรรมต่างๆ ของรัสเซียเริ่มรวมตัวกันเป็นปึกแผ่นและก่อสร้างตัวในลักษณะอาณาจักรอย่างชัดเจนขึ้น เมื่อกลางศตวรรษที่ 15 เมื่อไอแวนที่ 3 แห่งวาซิเลวิช ประกาศเอกราชจากผู้ปกครองชาวมองโกล สถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าไอแวนที่ 3 หรือพระเจ้าไอแวนมหาราช ผู้เป็นเจ้าแห่งชาวรัสเซียทั้งปวง จากนั้นพระเจ้าไอแวนที่ 4 ได้เถลิงอำนาจขึ้นเป็นพระเจ้าซาร์พระองค์แรกแห่งรัสเซีย จากนั้นก็ปกครองโดยพระเจ้าซาร์จากราชวงศ์โรมานอฟเป็นระยะเวลา 300 กว่าปี 
        อาณาจักรรัสเซียแผ่ขยายอำนาจไปอย่างกว้างขวาง จนมีฐานะเป็น “จักรวรรดิรัสเซีย” ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17-19 รัสเซียมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลครอบคลุมดินแดนทั้งในยุโรปและเอเชีย เป็นมหาอำนาจสำคัญของโลก ก่อนที่จะอ่อนอำนาจลงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งรัสเซียแพ้เยอรมันหลายครั้ง ปัญหาในราชสำนัก และปัญหาทางเศรษฐกิจ นำไปสู่การก่อจลาจลและการปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์โรมานอฟ ในปี ค.ศ.1917 

การสิ้นสุดของราชวงศ์โรมานอฟ
        การพ่ายแพ้ในสงครามไครเมีย ปี ค.ศ.1853-1856) ส่งผลต่อความสูญเสียทางยุทธศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ และมีผลร้ายแรงต่อเสถียรภาพทางอำนาจของราชวงศ์โรมานอฟ เกิดเป็นกระแสต่อต้านราชวงศ์และสนับสนุนการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐตามแบบฝรั่งเศส หรือไม่ก็เปลี่ยนไปเป็นแบบรัฐสภาโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแบบอังกฤษ

การสิ้นสุดของราชวงศ์โรมานอฟ
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 พยายามกู้วิกฤติศรัทธาด้วยนโยบายสำคัญๆ เช่น 
  • การยกเลิกระบบไพร่ในปี ค.ศ. 1861(ของไทย 1905) ข้อวิจารณ์สำคัญหนึ่งคือในขณะที่รัสเซียพยายามจะแสดงตนเป็นมหาอำนาจ แต่สามัญชนรัสเซียกลับเป็นกลุ่มท้ายๆ ของยุโรปที่ได้รับการปลดปล่อยจากระบบไพร่ 
  • การปฏิรูปการเมืองและสังคมในหลายด้าน เช่น การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น ให้ประชาชนเลือกคณะผู้บริหารท้องถิ่นระดับอำเภอถึงเมือง (จังหวัด) การปฏิรูปกองทัพ การปฏิรูปกฎหมาย 
  • การปฏิรูปของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นแค่ประวิงเวลา แต่ไม่ได้ตั้งใจพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง ในที่สุดพระองค์ก็ถูกลอบปลงพระชนม์ และสวรรคตในปี ค.ศ.1881 
  • รัชกาลต่อมาคือพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 และนิโคลัสที่ 2 ใช้นโยบายรวบอำนาจเช่นเดิม แต่ก็มีกระแสต่อต้านอย่างมากจากประชาชน ก่อให้เกิดกระแสการปฏิวัติเพิ่มมากขึ้น 
  • เหตุการณ์สำคัญอีกเหตุการณ์หนึ่งอันเป็นสาเหตุของการล่มสลายของราชวงศ์คือความพ่ายแพ้ในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ปี 1904-1905 
  • การปฏิรูปทางด้านเศรษฐกิจในยุคพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 เริ่มปรากฏผล เศรษฐกิจเป็นทุนนิยมมากขึ้น ประชาชนมีการศึกษา อุตสาหกรรมขยายตัว สื่อมวลชนขยายตัว เกิดสหภาพแรงงาน ฯลฯ แต่การปฏิรูปการเมืองกลับหยุดชะงัก เป็นผลให้โครงสร้างการเมืองไม่ทันสมัยเพียงพอที่จะควบคุมสภาพสังคมได้ 
  • การปฏิวัติรัสเซียปี ค.ศ. 1905 “วันอาทิตย์นองเลือด” 
  • หลังเหตุการณ์ดังกล่าว พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ประกาศแผนการปฏิรูปการเมืองครั้งใหญ่ รับรองสิทธิเสรีภาพใหม่ๆ ให้กับประชาชน ที่สำคัญคือมีแผนจัดตั้งสภาผู้แทนราษฎร
  • การปฏิรูปทางการเมืองของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ถูกมองว่าไม่จริงใจ สร้างความไม่พอใจแก่ผู้ต่อต้านราชวงศ์อย่างมาก 
  • พระเจ้าซาร์ฯ ยอมประนีประนอมอีกครั้ง โดยการประกาศปฏิญญาเดือนตุลาคม รับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน อนุญาตให้มีการตั้งพรรคการเมืองได้ และรับรองให้สภานิติบัญญัติเป็นสภาหลักทำหน้าที่นิติบัญญัติ 
  • เหตุการณ์ความไม่สงบดำเนินอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้นำกรรมกรกลุ่มบอลเชวิค ที่เห็นว่ารัฐบาลพระเจ้าซาร์ฯ เพียงแค่ต้องการประวิงเวลา 
  • ในที่สุดช่วงปลายปี 1905 รัฐบาลพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ส่งกองกำลังปืนใหญ่เข้าปราบปรามกรรมกรที่นัดชุมนุมหยุดงานครั้งใหญ่ในกรุงมอสโคว มีผู้เสียชีวิตนับพัน บ้านเรือนเสียหายอย่างมาก จนฝ่ายบอลเชวิคประกาศยอมแพ้ 
  • อย่างไรก็ตาม ความพ่ายแพ้ในปี 1905 ก็กลายไปเป็นบทเรียนสำคัญของผู้ต่อต้านในปี 1917 
  • บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติ 1917 คือ เลนิน นักปฏิวัติแนวสังคมนิยม สมาชิกพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยแห่งรัสเซีย 
  • เกิดความขัดแย้งภายในรัฐบาลระหว่างฝ่ายที่สนุบสนุนการเมืองแบบเก่ากับฝ่ายที่เห็นว่าควรปฏิรูปการบริหารประเทศไปในทางประชาธิปไตยแบบรัฐสภา 
  • ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสงครามโลกครั้งที่ 1 
  • การปฏิวัติ 1917 ระลอกแรกเกิดขึ้นในเดือนมีนาคม  ฝ่ายรัฐพยายามควบคุมสถานการณ์โดยการใช้กำลังปราบปรามอย่างรุนแรง ตำรวจทหารระดับล่างก็หันไปเข้ากับฝ่ายกบฏ สภาผู้แทนรักษาการณ์โดยการตั้งรัฐบาลชั่วคราว (พระเจ้าซาร์ฯ อยู่ในสนามรบและประสบวิกฤติศรัทธาอย่างหนัก) แต่ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ไว้ได้
  • พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 สละราชสมบัติในเดือนมีนาคมนั้นเอง โดยยกราชสมบัติให้พระอนุชาคือเจ้าชายไมเคิล แต่เจ้าชาย   ไมเคิลปฏิเสธ ราชวงศ์โรมานอฟจึงสิ้นสุดอำนาจลงในเดือนนั้น
  • เมื่อเลนินทราบข่าว จึงรีบเดินทางกลับถึงรัสเซียในเดือนเมษายน ได้รับการต้อนรับอย่างคับคั่งโดยกลุ่มผู้สนับสนุนการปฏิวัติ ในขณะนั้นแม้พระเจ้าซาร์ฯ จะสละราชสมบัติแล้ว แต่ยังมีกลุ่มทางการเมืองหลายกลุ่มแย่งชิงอำนาจกันอยู่ โดยกลุ่มบอลเชวิคเป็นกลุ่มสำคัญหนึ่ง
  • เลนินพยายามโค่นล้มรัฐบาลชั่วคราวในเดือนกรกฎาคม แต่ไม่สำเร็จ จึงต้องหนีไปอยู่ฟินแลนด์ระยะหนึ่ง
  • เลนินเดินทางกลับรัสเซีย และเป็นผู้นำปฏิวัติอีกครั้งในเดือนตุลาคม เป็นปฏิบัติการล้มล้างรัฐบาล สามารถยึดอำนาจการปกครองได้ในเดือนพฤศจิกายน 1917 และย้ายเมืองหลวงไปยังมอสโคว 
  • พรรคบอลเชวิคกุมอำนาจสูงสุดทางการเมือง มีการบังคับให้เจ้าของที่ดินมอบที่ดินให้กับชาวไร่ชาวนา ให้กรรมกรเข้ายึดโรงงานอุตสาหกรรม รัฐบาลยึดธนาคารทุกแห่งเป็นของรัฐ 
  • มีการจัดตั้งสภาผู้นำประชาชน มีเลนินเป็นประธาน ซึ่งต่อมาสภานี้ วิวัฒนาการเป็นคณะรัฐบาลของสหภาพโซเวียต 

นโยบายเร่งด่วนของสภาผู้นำประชาชน
  • ปฏิรูปที่ดินเพื่อให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
  • นำรัสเซียออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเร็วที่สุด 
  • ยึดธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งเป็นสมบัติรัฐ ยึดทรัพย์สินในบัญชีธนาคารส่วนบุคคลทั้งหมดเป็นของรัฐ
  • เข้าควบคุมการทำงานของโรงงานอุตสาหกรรมสำคัญ
  • ยึดทรัพย์สินและอสังหาริมทรัพย์ทุกอย่างของศาสนจักรเป็นของรัฐ มีนโยบายต่อต้านศาสนา 
  • ปรับค่าแรงขั้นต่ำให้สูงขึ้น ลดเวลาทำงานเหลือ 8 ชั่วโมง
  • ปฏิเสธไม่ยอมใช้หนี้ใดๆ ที่รัฐบาลราชวงศ์หรือรัฐบาลชั่วคราวติดค้างอยู่ 

สงครามกลางเมืองและการเกิดขึ้นของสหภาพโซเวียต
        ตั้งแต่การขึ้นสู่อำนาจของพรรคบอลเชวิค และการออกนโยบายเชิงปฏิวัติทั้งหลาย สร้างความขัดแย้งอย่างรุนแรงภายใน อย่างไรก็ตาม สงครามภายในที่ยืดเยื้อตั้งแต่ ปี 1917-1922 ก็จบลงที่ชัยชนะของฝ่ายบอลเชวิค ซึ่งเอาชนะฝ่ายต่อต้านต่างๆ ได้ทั้งหมด และผนวกเอาดินแดนซึ่งเคยอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิรัสเซียเดิม เช่น ยูเครน รัฐชายฝั่งทะเลบอลติก และได้สถาปนา “สหภาพโซเวียต” ขึ้น ในวันที่ 22 ธันวาคม 1922 

สหภาพโซเวียตในช่วงของโจเชฟ สตาลิน 
        สตาลินเป็นสมาชิกพรรคบอลเชวิคที่มีความเห็นขัดแย้งกับเลนินและทรอทสกี้อย่างรุนแรง เขาเห็นว่าภารกิจสำคัญของพรรคคือการรักษาเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศสังคมนิยมแห่งแรกของโลกให้มั่นคงก่อน และเห็นว่าแนวคิดชาตินิยมเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงและอิทธิพลทางการเมือง การปฏิวัติสากลยังไม่อาจเกิดขึ้นได้หากสหภาพโซเวียตยังไม่เข้มแข็งพอ ซึ่งความคิดเช่นนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงทั้งจากเลนินและทรอทสกี้ว่าเป็นจักรวรรดินิยมใหม่
        อย่างไรก็ตามสตาลินก็ได้ขึ้นสู่ตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ เดินเกมทางการเมืองจนสามารถมีอำนาจสูงสุด โดยเฉพาะหลังจากการเสียชีวิตของเลนินในปี 1924
ในช่วงก่อนการเสียชีวิตของเลนิน สหภาพโซเวียตแตกออกเป็น 3 ฝ่าย 
ฝ่ายที่ 1 นำโดยทรอทสกี้ สนับสนุนนโยบายการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพในระดับสากล
ฝ่ายที่ 2 นำโดยสตาลิน สนับสนุนการสร้างสหาภาพโซเวียตให้มั่นคง
ฝ่ายที่ 3 นำโดยบูคาริน ให้ความสำคัญกับกลุ่มเกษตรกร 
เมื่อเลนินเสียชีวิต สตาลินก็ดำเนินการกวาดล้างคู่แข่งขันได้สำเร็จ
        นโยบายต่างๆ ของสตาลิน เปลี่ยนแปลงไปจากยุคของเลนิน เปลี่ยนแปลงจากนโยบายเศรษฐกิจใหม่มาเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจคราวละ 5 ปี มีลักษณะเด่นคือ การพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางของรัฐ มีรากฐานอยู่ที่การพัฒนาอุตสาหกรรมหนักและการเกษตรแบบคอมมูน 
แม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก แต่แผนการต่างๆ ของ  สตาลินบบรลุเป้าหมายในการพัฒนาสหภาพโซเวียต โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมหนัก ส่งผลให้สหภาพโซเวียตขยับขึ้นมาเป็น 1 ใน 2 อภิมหาอำนาจโลกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และช่วงสงครามเย็น 

สหภาพโซเวียตในช่วงของนิติกา ครุสเซฟ 
สตาลิน เสียชีวิตในปี 1953 
ภายหลังการเสียชีวิตของสตาลิน มีความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้น เมลานอฟดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ 2 ปี จนกระทั่งปี 1955 นิติกา ครุสเซฟ ก็ขึ้นมามีอำนาจเด็ดขาดแทน 
ครุสเซฟดำเนินนโยบายเปลี่ยนแปลงไปจากสตาลินอย่างมาก ปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น สนับสนุนให้คอมมิวนิสต์หัวก้าวหน้าเข้ามามีส่วนในการปกครอง ซึ่งก็สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากจากฝ่ายที่ยึดถือนโยบายแบบสตาลิน สร้างความขัดแย้งกับเหมา เจ๋อ ตุง ของจีน 

สหภาพโซเวียตในช่วงของเลโอนิด เบรสเนฟ
ครุสเซฟถูกเบรสเนฟยึดอำนาจและบังคับให้ลาออกจากตำแหน่งในปี 1964 
  ยุคของเบรสเนฟเป็นยุคที่สหภาพโซเวียตมีเสถียรภาพทางการเมืองมากที่สุด และได้รับการยอมรับจากค่ายสัมคมนิยมคอมมิวนิสต์มากที่สุด แม้ในทางเศรษฐกิจจะอยู่ในภาวะหยุดชะงัก จนเรียกกันว่า “การชะลอตัวแบบเรสเนฟ” มีการนำสหภาพโซเวียตเข้าสู่สงครามอัฟกานิสถาน แต่ก็พ่ายแพ้ 
เบรสเนฟเสียชีวิตในปี 1982 

สหภาพโซเวียตในช่วงของมิคาอิล กอร์บาชอฟ
ภายหลังจากการเสียชีวิตของเบรสเนฟ นายคอนสแตนติน เชอร์เนนโก เป็นผู้มีอำนาจในตำแหน่งเลขาธิการพรรคฯ อยู่จนเสียชีวิตปี 1985 นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ขึ้นดำรงตำแหน่งต่อมา 
  นโยบายสำคัญของนายกอร์บาชอฟ คือ นโยบายเปิด-ปรับ หรือ กราสนอสท์-เปเรสตรอยก้า 
แต่เศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตก็ตกต่ำยิ่งกว่าเดิม นำไปสู่การประท้วง และการรัฐประหารในปี 1991 แต่ก็เป็นการรัฐประหารที่ล้มเหลว นายบอริสต์ เยลซินกลายเป็นวีรบุรุษในครั้งนั้น และกลายเป็นผู้มีอำนาจต่อมาในสหพันธรัฐรัสเซีย ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

ระบบการปกครองหลังปี 1991: เปลี่ยนการปกครองเป็นประชาธิปไตย
ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต มีการแตกออกเป็น 15 รัฐ โดยสหพันธรัฐรัสเซียก็เป็นหนึ่งในนั้น และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตย 
แต่เศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตก็ตกต่ำยิ่งกว่าเดิม นำไปสู่การประท้วง และการรัฐประหารในปี 1991 แต่ก็เป็นการรัฐประหารที่ล้มเหลว นายบอริสต์ เยลซินกลายเป็นวีรบุรุษในครั้งนั้น และกลายเป็นผู้มีอำนาจต่อมาในสหพันธรัฐรัสเซีย ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

สหพันธรัฐรัสเซีย ในช่วงรัฐบาลเยลซิน
การเมืองสมัยเยลซิน มีความขัดแย้งอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างประธานาธิบดีเยลซินกับรัฐสภา กระทั่งนำไปสู่รัฐประหารนองเลือดในปี 1993 แต่ชัยชนะก็เป็นของเยลซิน
มีการประกาศให้มีการเลือกตั้งสภาดูมาชุดใหม่ ในวันที่ 12 ธันวาคม 1993 และในวันเดียวกันนั้นก็กำหนดให้เป็นวันลงประชามติรับรองรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไปพร้อมกัน 
การเลือกตั้งครั้งนั้น มีพรรคการเมืองลงสมัครแข่งขัน13 พรรค และมีผู้ลงสมัครอิสระอีกจำนวนหนึ่ง ผลการเลือกตั้ง พรรคทางเลือกของรัสเซียซึ่งเยลซิลเป็นหัวหน้าพรรคได้คะแนนสูงสุด และประชาชนลงประชามติรับรองร่างรัฐธรรมนูญ เป็นรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจประธานาธิบดีสูง
 
สหพันธรัฐรัสเซีย ยุคปัจจุบัน 
ปัจจุบันสหพันธรัฐรัสสเซียปกครองโดยระบอบประชาธิบไตยแบบกึ่งประธานาธิบดี-กึ่งรัฐสภา 
ประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีร่วมกันบริหารประเทศ ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน และดำรงตำแหน่งเป็นเวลาหกปี ในปัจจุบัน ประธานาธิบดี คือ Vladimir Vladimirovich Putin (2000-2008 และ 2012-ปัจจุบัน)
ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ เป็นผู้นำกองทัพ เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร แต่งตั้งข้าราชการระดับสูง ผู้ว่าการธนาคารชาติ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ อัยการสูงสุด แต่งตั้งทูต มีอำนาจในการยุบสภา 
ประธานาธิบดีมีบทบาทในด้านการบริหารโดยเฉพาะทางด้านการต่างประเทศและความมั่นคง และกำกับรัฐมนตรีในกระทรวงที่เกี่ยวข้องดังกล่าว ในขณะที่นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี มีหน้าที่ในการบริหารประเทศ โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจและสังคม และกำกับรัฐมนตรีในกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
ประธานาธิบดีแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรี ด้วยความเห็นชอบของสภาดูมา หากสภาดูมาไม่ยอมให้ความเห็นชอบ เป็นครั้งที่ 3 ประธานาธิบดีสามารถแต่งตั้งบุคคลที่เสนอนั้นหรือบุคคลใดได้เลย พร้อมกับยุบสภาให้มีการเลือกตั้งทั่วไปใหม่ 
นายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอชื่อรองนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีให้ประธานาธิบดีแต่งตั้ง พิจารณาแนวทางและดำเนินงานให้บรรลุผลภายใต้ขอบเขตของกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นๆ  
นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ Dmitry Medvedev (2012-ปัจจุบัน)

สหพันธรัฐรัสเซีย ยุคปัจจุบัน 
รัฐบาลมีหน้าที่สำคัญๆ ดังนี้ 
1. เสนองบประมาณ ต่อสภาดูมา และรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณสหพันธรัฐต่อสภาดูมา 
2. ประกันการดำเนินนโยบายด้านการเงินการคลังให้เป็นไปในรูปแบบและทิศทางเดียวกัน
3. จัดการเรื่องทรัพย์สินของสหพันธรัฐ
4. ดำเนินมาตรการเพื่อความมั่นคงของประเทศ ทั้งทางทหารและความมั่นคงอื่นๆ และดำเนินนโยบายต่างประเทศ
5. ดำเนินมาตรการเพื่อรักษากฎหมาย รักษาสิทธิเสรีภาพของพลเมือง ดูแลความสงบเรียบร้อย ปราบปรามอาชญากรรม 

สหพันธรัฐรัสเซีย ยุคปัจจุบัน 
ทางด้านอำนาจนิติบัญญัติ ประกอบไปด้วยสองสภา คือ สภาสหพันธรัฐ (Council of the Federation) ซึ่งมาจากการแต่งตั้ง และสภาผู้แทนราษฎรหรือ สภาดูมา (The State Duma) ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง และมีสมาชิกทั้งหมด 450 คน 
ในปัจจุบัน พรรค United Russia ยังคงครองเสียงข้างมากในรัฐสภา
Russian Syndromes
1. การรวมศูนย์อำนาจและการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
2. การลุกขึ้นต่อต้านเมื่อมีโอกาส การแบ่งแยกนิกาย และความโน้มเอียงที่จะเข้าสู่ความเป็นอนาธิปไตย 
3. การแปลกแยกของปัญญาชน 
4. เอกลักษณ์ของรัสเซียและความเหมาะสมของการผสมผสานส่วนต่างๆ ให้เข้าในเอกลักษณ์เดียวกัน 
--------------