81. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิโดยทางนิติกรรม
   (1) การเช่า
   (2) การเช่าซื้อ
   (3) การซื้อขาย
   (4) การรับมรดก

82. หากซื้อที่ดินมือเปล่า ผู้ซื้อจะได้รับทรัพยสิทธิลักษณะใด
   (1) สิทธิครอบครอง
   (2) กรรมสิทธิ์
   (3) ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
   (4) สิทธิอาศัย

83. การซื้อขายทรัพย์สินในข้อใดต่อไปนี้ที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
   (1) โทรทัศน์
   (2) ช้างที่จะนำไปเป็นสัตว์พาหนะ
   (3) ดินที่ตักจากที่ดินมาใส่ถุงขาย
   (4) รถยนต์

84. ข้อใดต่อไปนี้ไม่อาจทำสัญญาซื้อขายกันได้
   (1) ที่ธรณีสงฆ์
   (2) ที่ดินบนดาวอังคาร
   (3) สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน
   (4) ถูกทุกข้อ

85. สิ่งใดต่อไปนี้ไม่ใช่ส่วนควบ
   (1) ต้นพลูที่นำไปปลูกบนที่ดิน
   (2) บ้านที่ปลูกลงบนที่ดินให้เช่า
   (3) กระบะที่นำมาต่อเติมเข้ากับรถ
   (4) ถูกทุกข้อ

86. ข้อใดต่อไปนี้ คือ อุปกรณ์
   (1) ปลอกแว่นตา
   (2) ล้อรถยนต์
   (3) เครื่องทำความเย็นที่ติดในบ้าน
   (4) ถ่านไฟฉาย

87. คนไร้ความารถทำพินัยกรรมโดยได้รับความยินยอมจากผู้อนุบาล พินัยกรรมย่อม
   (1) สมบูรณ์
   (2) ตกเป็นโมฆียะ
   (3) ตกเป็นโมฆะ
   (4) จะสมบูรณ์หากได้รับอนุญาตจากศาลด้วย

88. กรณีใดคืออสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ
   (1) เรือยอร์ช
   (2) รถบรรทุก 18 ล้อ
   (3) เรือนแพที่อยู่อาศัย
   (4) ถูกทุกข้อ

89. การที่นายดำกลัวว่านายแดงจะมาฆ่า จึงยอมทำสัญญาขายที่ดินไป จะมีผลทางกฎหมายอย่างไร
   (1) โมฆะ
   (2) โมฆียะ
   (3) สมบูรณ์
   (4) ไม่สมบูรณ์

90. การที่สำคัญผิดในตัวคู่สัญญาที่จะทำสัญญาด้วย จะมีผลทางกฎหมายอย่างไร
     (1) โมฆะ
     (2) โมฆียะ
     (3) สมบูรณ์
     (4) ไม่สมบูรณ์

91. การที่สำคัญผิดในสัญญาที่จะทำสัญญาด้วย จะมีผลทางกฎหมายอย่างไร
     (1) โมฆะ
     (2) โมฆียะ
     (3) สมบูรณ์
     (4) ไม่สมบูรณ์

92. การที่สำคัญผิดว่าคู่สัญญาสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างดีจึงจ้างมาเป็นเลขา แต่แท้จริงแล้วแค่พูดได้บ้างเท่านั้น เช่นนี้สัญญาจะมีผลทางกฎหมายอย่างไร
     (1) โมฆะ
     (2) โมฆียะ
     (3) สมบูรณ์
     (4) ไม่สมบูรณ์

93. การแสดงเจตนาลวง จะมีผลทางกฎหมายอย่างไร
     (1) โมฆะ
     (2) โมฆียะ
     (3) สมบูรณ์
     (4) ไม่สมบูรณ์

94. นายดำถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ศาลได้ตั้งให้นายขาวมาเป็นผู้อนุบาล ต่อมานายดำต้องการซื้อลูกชิ้นปิ้งที่ผ่านมาหน้าบ้าน จึงวิ่งไปบอกนายขาว นายขาวให้เงินนายดำไปซื้อ 20 บาท เช่นนี้สัญญาซื้อขายที่นายดำทำขึ้นมีผลทางกฎหมายอย่างไร
     (1) โมฆะ
     (2) โมฆียะ
     (3) สมบูรณ์
     (4) ไม่สมบูรณ์

95. ข้อใดต่อไปนี้มีสภาพความเป็นบุคคลธรรมดาเกิดขึ้น
   (1) นางน้อยขณะคลอดเด็กหญิงเอ แต่รกได้พันคอและเสียชีวิต
   (2) นางหนูตั้งครรภ์ แต่ได้แท้งบุตรเมื่ออายุครรภ์ได้ 7 เดือน
   (3) นางนิดคลอดเด็กชายดำได้ 2 นาที จากนั้นเด็กชายดำจึงเสียชีวิต
   (4) นางนุ่มตั้งครรภ์เกิด 9 เดือน แต่ยังไม่คลอดบุตร

96. เด็กชายหินอายุ 14 ปี 6 เดือน ทำพินัยกรรมโดยบิดามารดาให้ความยินยอม พินัยกรรมมีผลอย่างไร
   (1) โมฆะ
   (2) โมฆียะ
   (3) สมบูรณ์
   (4) ไม่สมบูรณ์

97. บุคคลใดต่อไปนี้ทำพินัยกรรมไม่ได้เลย
   (1) คนวิกลจริต
   (2) ผู้เยาว์
   (3) คนเสมือนไร้ความสามารถ
   (4) คนไร้ความสามารถ

98. บุคคลจะสิ้นสภาพบุคคลอย่างไรบ้าง
   (1) ตาย
   (2) ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ
   (3) หายไปจากภูมิลำเนา
   (4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2

99. สิ่งใดต่อไปนี้คืออสังหาริมทรัพย์
   (1) ต้นพลูที่ปลูกลงในดิน
   (2) เรือยนต์
   (3) ยานอวกาศ
   (4) แพที่ใช้อยู่อาศัย

100. นายดำซื้อช้างเพื่อไปแสดงละครสัตว์ ช้างจึงเป็นทรัพย์ประเภทใด
       (1) ส่วนควบ 
       (2) อสังหาริมทรัพย์
       (3) สังหาริมทรัพย์
       (4) สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ

101. ดอกเบี้ยธนาคาร คือ
       (1) ดอกผลธรรมดา
       (2) อุปกรณ์
       (3) ส่วนควบ
       (4) ดอกผลนิตินัย

102. นางหนึ่งจดทะเบียนสมรสกับนายเอ แต่แยกกันอยู่ ต่อมานางหนึ่งกลับไปจดทะเบียนสมรสกับนายบี ต่อมานางหนึ่งตั้งครรภ์และคลอดบุตร คือ ด.ญ.พลอย เช่นนี้ ด.ญ.พลอยเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ใด
       (1) นายเอ
       (2) นายหนึ่งและนายเอ
       (3) นางหนึ่งและนายบี
       (4) นายเอ นายบี และนางหนึ่ง

103. นายดำไม่รู้ว่าเกิดเมื่อใด ทราบว่าเกิดปี พ.ศ. 2500 ดังนี้ตามกฎหมายถือว่านายดำเกิดเมื่อใด
       (1) 1 มกราคม 2500
       (2) แล้วแต่นายอำเภอท้องที่จะกำหนด
       (3) 1 เมษายน 2500
       (4) แล้วแต่นายดำจะเลือกว่าเกิดเมื่อใดในปี 2500

104. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
       (1) บุคคลตามกฎหมายคือมนุษย์เท่านั้น
       (2) บุคคลตามกฎหมายมีเฉพาะบุคคลธรรมดา
       (3) ทารกในครรภ์มารดามีสภาพบุคคล
       (4) บุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย

105. ประเภทของบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ข้อใดถูกต้องที่สุด
       (1) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
       (2) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดาอายุยี่สิบปีบริบูรณ์ และนิติบุคคล
       (3) แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ และ นิติบุคคล
       (4) แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด

106. ข้อใดไม่ใช่บุคคลตามกฎหมาย
       (1) คนพิการ
       (2) เด็กทารก
       (3) บริษัท
       (4) ทารกในครรภ์

107. หญิงหม้ายอาจจดทะเบียนสมรสใหม่ได้ก่อน 310 วัน ด้วยเหตุใด
       (1) คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
       (2) สมรสกับคู่สมรสเดิม
       (3) มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
       (4) ถูกทุกข้อ

108. ข้อใดไม่ใช่ผู้หย่อนความสามารถตามกฎหมาย
       (1) เด็กชายแดง
       (2) นางเขียว
       (3) นายดำอายุ 18 ปี
       (4) คนวิกลจริต

109. ผู้ดูแลผู้หย่อนความสามรถ ข้อใดไม่ถูกต้อง
       (1) ผู้เยาว์ --- ผู้แทนโดยชอบธรรม
       (2) คนไร้ความสามารถ --- ผู้อนุบาล
       (3) คนเสมือนไร้ความสามารถ --- ผู้พิทักษ์
       (4) คนวิกลจริต --- ผู้อนุบาล

110. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับผู้เยาว์ตามกฎหมาย
       (1) ผู้เยาว์คือบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
       (2) ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะเมื่ออายุ 20 ปีบริบูรณ์
       (3) ผู้เยาว์อายุ 17 ปี ทำพินัยกรรมได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบะรรมก่อน
       (4) นิติกรรมที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมโดยหลักย่อมตกเป็นโมฆะกรรม

111. ในกรณีที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลใดก่อน
       (1) ผู้อนุบาล
       (2) ผู้พิทักษ์
       (3) ผู้ปกครอง
       (4) ผู้แทนโดยชอบธรรม

112. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับคนไร้ความสามารถตามกฎหมาย
       (1) คนไร้ความสามารถ ต้องมีผู้อนุบาลอนุญาตหรือให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมต่าง ๆ ทุกชนิด
       (2) คนไร้ความสามารถ ต้องมีผู้พิทักษ์อนุญาตหรือให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมต่าง ๆ ทุกชนิด
       (3) คนไร้ความสามารถ ต้องมีคำสั่งจากศาลให้ตกเป็นคนไร้ความสามารถ
       (4) คนไร้ความสามารถ ทำนิติกรรมได้ทุกชนิด ยกเว้นนิติกรรมที่บัญญัติไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 34

113. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับองค์ประกอบของนิติกรรม
       (1) การใด ๆ อันกระทำลง คือเป็นการกระทำของบุคคลโดยการแสดงเจตนา ต้องรู้สำนึกในการกระทำของตนเอง และการกระทำดังกล่าวต้องชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
       (2) ต้องเป็นการกระทำด้วยความสมัครใจ ไม่ได้เกิดจากการข่มขู่หรือถูกกลฉ้อฉล
       (3) เป็นการกระทำที่มุ่งจะผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์จะก่อให้เกิดความเคลื่อนไวในสิทธิ, ก่อสิทธิ, เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ สงวนสิทธิ หรือระงับซึ่งสิทธิ
       (4) ถูกทุกข้อ

114. วัตถุประสงของนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะหมายถึงข้อใด
       (1) นายเอทำสัญญาซื้อขายบ้านกับนายบีโดยทำเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย
       (2) นายหนึ่งทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับนายสองแต่ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
       (3) นายดำตกลงจ้างนายแดงตัดไม้ในเขตป่าสงวนที่ติดกับที่ดินของตน ให้ค่าจ้างวันละหนึ่งพันบาท
       (4) นายจันทร์ให้นายอังคารจ่ายค่าเช่านาเป็นข้าวเปลือกปีละ 20 กระสอบ

115. คำกล่าวข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องมากที่สุด
       (1) ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมโดยลำพังไม่ได้ นอกจากผู้แทนโดยชอบธรรมจะอนุญาตหรือให้ความยินยอมเป็นหนังสือเท่านั้น
       (2) บุคคลวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถแล้วทำนิติกรรมอาจสมบูรณ์ได้ถ้าคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่ทราบถึงความวิกลจริตของบุคคลนั้น
       (3) คนเสมือนไร้ความสามารถต้องมีผู้พิทักษ์อนุญาตและให้ความยินยอมในกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถนำทรัพย์สินไปลงทุนทำธุรกิจ
       (4) ผู้เยาว์ทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุ 14 ปีบริบูรณ์

116. กรณีใดที่ไม่สามารถเป็นทายาทโดยธรรมได้
       (1) ผู้รับบุตรบุญธรรม
       (2) ปู่ย่าตายายที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก
       (3) บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว
       (4) พี่คนละแม่แต่พ่อเดียวกันกับเจ้ามรดก

117. คนเสมือนไร้ความสามารถทำพินัยกรรมโดยได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ พินัยกรรมย่อม
       (1) สมบูรณ์
       (2) ตกเป็นโมฆะ
       (3) ตกเป็นโมฆียะ
       (4) จะสมบูรณ์หากได้รับอนุญาตจากศาลด้วย

118. ข้อใดคือเหตุแห่งการที่ผู้มีส่วนได้เสียสามารถนำไปร้องขอต่อศาลสั่งให้บุคคลนั้นเป็นบุคคลสาบสูญได้
       (1) นายไก่ป่วยเป็นโรคมะเร็งระยะสุดท้าย
       (2) นายไข่หายไปจากบ้านไม่มีใครพบเห็นเป็นเวลาร่วม 3 ปี
       (3) นายนกเครื่องบินตกเมื่อ 2 ปีที่แล้วยังหาตัวไม่พบ
       (4) นายกิ่งเป็นทหารไปรบที่อิรักเมื่อปีที่แล้วยังไม่กลับมา

119. ผู้สืบสันดานที่มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม ได้แก่
       (1) บุตรนอกกฎหมายที่บิดาให้ใช้นามสกุล
       (2) บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่ได้จดทะเบียนสมรสกัน
       (3) บุตรบุญธรรมที่ได้จดทะเบียนแล้ว
       (4) ถูกทุกข้อ

120. กรณีใดต่อไปนี้ไม่อาจเป็นทายาทผู้รับพินัยกรรมได้
       (1) น้องต่างมารดาของเจ้ามรดก
       (2) ภรรยานอกกฎหมายของเจ้ามรดก
       (3) ทวดของเจ้ามรดก
       (4) ชมรมคนรักราม
------------------------