41. ความพอดีที่ไม่น้อยและไม่มากเกินไป ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เป็นคุณลักษณะใดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(1) ความคุ้มทุนชีวิต
(2) ความเจริญ
(3) ความพอประมาณ
(4) ความเข้าใจชีวิต

42. ลักษณะของบุคคลที่ตรงข้ามกับจิตสาธารณะที่ชัดเจนที่สุด คือข้อใด
(1) เห็นแก่ตัว
(2) อคติ
(3) โอ้อวด
(4) ยกตนข่มท่าน

43. ในการประชุมพรรคเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหง บุคคลสำคัญที่อภิปรายและเสนอให้ตั้งมหาวิทยาลัยที่หัวหมาก คือใคร
(1) นายศักดิ์ ผาสุขนิรันต์
(2) นายยศ อินทรโกมาลย์สุต
(3) นายประสิทธิ์ ชูพินิจ
(4) นายสุรินทร์ เทพกาญจนา

44. ปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะตามการศึกษาของเรียม นมรักษ์ คืออะไร
(1) จิตใจและสังคม
(2) ความรู้และทัศนคติ
(3) ความปรารถนาและแรงจูงใจ
(4) เครือข่ายและกิจกรรม

45. ความขัดแย้งในสังคมสูง เกิดการแก่งแย่งชิงดีกันที่เกิดขึ้นในสังคมเพิ่มมากขึ้น เกิดจากประชาชนส่วนหนึ่ง ขาดอะไร
(1) ความเอื้ออาทร
(2) ประโยชน์ของสังคม
(3) จิตสาธารณะ
(4) ความบริสุทธิ์ใจ

46. ในช่วงปีแรกที่มหาวิทยาลัยรามคําแหงเปิดสอนเป็นไปอย่างราบรื่น เนื่องจากอะไร
(1) ไม่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการสร้างอาคารเรียน และจัดซื้ออุปกรณ์การสอนเลย 
(2) มีการเตรียมการเป็นกระบวนการไว้ล่วงหน้าเป็นอย่างดี
(3) ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอย่างต่อเนื่องและเพียงพอในระยะ 10 ปี
(4) เป็นไปตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของรัฐ

47. ตามหลักจิตวิทยา จิตสํานึกเกิดจากสิ่งใดเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุด
(1) สุขภาพจิต
(2) การอบรมเลี้ยงดู
(3) ฐานะของครอบครัว
(4) คุณธรรมจริยธรรม

48. ในการพิจารณากฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคําแหง ใครเป็นผู้เสนอให้แก้ไขคําว่า “ตลาดวิชา” แต่คณะกรรมาธิการขอไม่แก้ไข
(1) วุฒิสภา
(2) รัฐบาล
(3) สภาผู้แทนราษฎร
(4) นายกรัฐมนตรี

49. ทุกรัฐบาลจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ได้กำหนดหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับมนุษย์ไว้อย่างไร
(1) มนุษย์ที่มีคุณภาพต้องกินดี อยู่ดี และร่ำรวย
(2) มนุษย์ที่มีคุณภาพต้องรู้จักอภัย ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
(3) มนุษย์ที่มีคุณภาพต้องเรียนรู้จากชุมชน สังคม และสื่อต่าง ๆ
(4) มนุษย์ที่มีคุณภาพต้องได้รับการศึกษาในระบบ นอกระบบ หรือตามอัธยาศัย

50. ข้อใดคือหลักการตลาดตามแนวคิดทฤษฎีใหม่
(1) การรวบรวมผลผลิตเพื่อต่อรองราคา
(2) การผลิตตามฤดูกาล
(3) การขอความเป็นธรรมจากพ่อค้าคนกลาง
(4) การพึ่งพาการโฆษณาประชาสัมพันธ์

51. การเตรียมพร้อมรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง เป็นคุณลักษณะใดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(1) การมีภูมิคุ้มกัน
(2) การมีศักยภาพ
(3) การมีพลังชีวิต
(4) การมีจุดหมายชีวิต

52. สถาบันใดไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเสริมสร้างจิตสาธารณะให้แก่เยาวชน
(1) ครอบครัว
(2) ศาสนา
(3) โรงเรียน
(4) องค์การธุรกิจ

53. ใครเคยดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย
(1) นายสง่า จีนะสมิต
(2  นายธนกาญจน์ ภัทรากาญจน์
(3) พลโทแสวง เสนาณรงค์
(4) นายศักดิ์ ผาสุขนิรันต์

54. เมื่อเติบใหญ่ได้กลายเป็นบุคคลสำคัญของประเทศ ทำให้ลืมตัวแสดงกิริยาเหยียดหยามผู้ที่เลี้ยงดูตนเองมาตั้งแต่เล็กจนเติบใหญ่ ข้อความข้างต้นนี้แสดงว่าบุคคลนั้นขาดคุณธรรมอะไร
(1) ความมีมุทิตา อุเบกขา
(2) ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
(3) ความกตัญญูกตเวทิตา
(4) ความเมตตากรุณา

55. ข้อใดไม่ใช่หรือไม่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะของผู้มีจิตสาธารณะ
(1) การลงมือกระทำ
(2) การทุ่มเทอุทิศตน
(3) เลือกงานที่ได้ค่าตอบแทนสูง
(4) เคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล

56. จากรายชื่อจำนวน 3 – 4 รายชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอให้พิจารณาในการตั้งชื่อมหาวิทยาลัยรามคําแหง แสดงให้เห็นว่าสมาชิกสภาผู้แทนในสมัยนั้นพิจารณาว่า มหาวิทยาลัยรามคําแหงจะเป็น มหาวิทยาลัยที่มีบทบาทอย่างไรในสังคมไทย
(1) เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในอนาคต
(2) เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก
(3) เป็นความภูมิใจของพรรคการเมือง และสมาชิกพรรคที่สนับสนุนการจัดตั้ง
(4) เป็นรากฐานและสนองความต้องการการศึกษาของคนไทยอย่างทั่วถึง

57. อวิชชา มีความหมายสมบูรณ์ในข้อใด
(1) รู้และไม่รู้
(2) ไม่รู้อะไรเลย
(3) ไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้
(4) รู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้

58. การแบ่งพื้นที่จำนวนเท่าใดตามหลักทฤษฎีใหม่เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนน ทางเดิน และโรงเรือน
(1) 40%
(2) 30%
(3) 10%
(4) 50%

59. เมื่อมหาวิทยาลัยรามคําแหงเปิดทำการเป็นครั้งแรก อาคารเอดี 1 เป็นที่ตั้งของหน่วยงานใด
(1) คณะนิติศาสตร์
(2) สำนักงานอธิการบดี
(3) หอสมุด
(4) คณะบริหารธุรกิจ

60. ใครมีอำนาจจัดวางระเบียบและข้อบังคับมหาวิทยาลัยรามคําแหง
(1) อธิการบดี
(2) คณบดี
(3) คณะรัฐมนตรี
(4) สภามหาวิทยาลัย

--------------------------