101. ข้อความใดไม่ถูกต้อง 
(1) พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมไม่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของบุคคล 
(2) จุดมุ่งหมายในการศึกษาพัฒนาการ คือ เพื่อเข้าใจพัฒนาการและพฤติกรรมของบุคคล 
(3) พัฒนาการเป็นการศึกษากระบวนการเปลี่ยนแปลงของอินทรีย์ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
(4) การศึกษาพัฒนาการของมนุษย์ทําให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงทุกด้านของบุคคล 
(5) การศึกษาพัฒนาการของบุคคลต้องศึกษาจากทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจึงทําให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น 

102. ข้อใดไม่สอดคล้องกับกฎของเมนเดล 
(1) ยีนส์ถูกส่งข้ามจากคนช่วงอายุหนึ่งไปยังคนอีกช่วงอายุหนึ่ง 
(2) ร่างกายของคนเรามียืนส์ 400,000 ชนิด 
(3) ยีนส์ที่มีลักษณะเด่น และยีนส์ที่มีลักษณะด้อย 
(4) โรคเบาหวานเป็นโรคทางพันธุกรรม 
(5) พันธุกรรมถ่ายทอดจากบรรพบุรุษไปสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน 

103. สิ่งใดที่ทําให้ยีนส์ที่อยู่ในร่างกายของมนุษย์ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง 
(1) การใช้รังสี X-Ray 
(2) การใช้ยา 
(3) เคมีบําบัด 
(4) การเกิดอุบัติเหตุ 
(5) การเกิดโรคไทรอยด์ 

104. ข้อใดไม่ใช่ฝาแฝดเหมือน 
(1) สเปิร์ม 1 ไข่ 1 
(2) สเปิร์ม 1 ไข่ 2 
(3) ฝาแฝดเพศเดียวกัน 
(4) มียีนส์และโครโมโซมเหมือนกัน 
(5) หน้าตาเหมือนกัน 

105. คนที่มีลักษณะ Endomorphy จะมีลักษณะอารมณ์ 
(1) มีน้ำใจเป็นนักกีฬา 
(2) อารมณ์ดี 
(3) โมโหยาก 
(4) อารมณ์มั่งคง 
(5) เอาใจตนเป็นใหญ่ 

106. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะพัฒนาการของมนุษย์ 
(1) เกิดขึ้นเอง 
(2) เป็นอัตราที่ไม่เหมือนกัน 
(3) ไม่ต่อเนื่องกัน 
(4) มีทิศทางที่แน่นอน 
(5) พัฒนาการแต่ละช่วงอายุไม่เป็นอัตราเดียวกัน
 
107. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีพัฒนาการทางเพศของฟรอยด์ 
(1) Oral Stage ความพึงพอใจอยู่ที่ปาก 
(2) Anal Stage ความพึงพอใจอยู่ที่ระบบขับถ่าย 
(3) Phallic Stage สนใจอวัยวะเพศ, เด็กผู้ชายจะรักพ่อ และเด็กผู้หญิงจะรักแม่ 
(4) Latency Stage เป็นวัยที่เด็กกําลังเข้าโรงเรียน 
(5) Genital Stage เด็กเริ่มสนใจเพศตรงข้าม มีแรงจูงใจที่จะรักผู้อื่น
 
108. ความต้องการได้รับตําแหน่งและการได้รับรางวัลประกาศเกียรติยศ อยู่ในลําดับขั้นความต้องการใดตามแนวคิดของมาสโลว์ (Maslow) 
(1) ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological Needs) 
(2) ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง (Safety and Security Needs) 
(3) ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Love and Belonging Needs) 
(4) ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self Esteem Needs) 
(5) ความต้องการประจักษ์ตน (Self-Actualization Needs)

109. ข้อใดไม่ใช่ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ 
(1) สร้างความสามัคคี 
(2) ภาพวาด 
(3) ได้บัตรอวยพร 
(4) หนังโรแมนติก 
(5) มอบยาบํารุงร่างกาย 

110. ข้อใดไม่ใช่ความต้องการทางด้านร่างกาย 
(1) การแต่งกาย 
(2) ยา 
(3) บ้าน 
(4) อาหาร 
(5) เครื่องนุ่งห่ม 

111. อารมณ์ในข้อใดไม่แสดงออกทางใบหน้าตามหลักของพอล เอ็กแมน 
(1) เสียใจ 
(2) โกรธ 
(3) ทุกข์
(4) สุข 
(5) ร้องไห้ 

112. ข้อใดไม่ใช่แรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์ 
(1) ความกระหาย 
(2) ความหิว 
(3) ความต้องการหลีกหนีอันตราย 
(4) ความต้องการสืบพันธุ์ 
(5) ความเผาผลาญในร่างกาย
 
113. แรงจูงใจประเภทใดที่ทําให้มนุษย์ต้องหาวิธีอยู่รอด 
(1) แรงจูงใจพื้นฐาน 
(2) แรงจูงใจภายใน 
(3) แรงจูงใจภายนอก 
(4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 
(5) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์

114. แรงจูงใจที่ทําให้บุคคลปฏิบัติตนเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น ตรงกับข้อใด 
(1) แรงจูงใจภายใน 
(2) แรงจูงใจภายนอก 
(3) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 
(4) แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ 
(5) แรงจูงใจที่นอกเหนือการควบคุม
 
115. อารมณ์ที่เกิดขึ้นแรกสุดในวัยทารกคืออารมณ์ใด 
(1) อารมณ์อิจฉาริษยา 
(2) อารมณ์ตื่นเต้น 
(3) อารมณ์รําคาญ 
(4) อารมณ์โกรธ 
(5) อารมณ์อยากรู้อยากเห็น
 
116. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้อง 
(1) อารมณ์เป็นประสบการณ์ความรู้สึกส่วนบุคคล 
(2) การแสดงออกทางอารมณ์แตกต่างจากการกระทําปกติทั่ว ๆ ไป 
(3) อารมณ์จะเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ 
(4) อารมณ์เป็นพฤติกรรมภายนอกและเกิดจากความคิดเฉพาะอย่าง 
(5) อารมณ์เป็นวิธีการที่สามารถระบายความรู้สึกได้ 

117. กระบวนการจูงใจ ตรงกับใด 
(1) ความต้องการ แรงขับ การตอบสนอง สิ่งเร้า เป้าหมาย 
(2) สิ่งเร้า แรงขับ การตอบสนอง ความต้องการ เป้าหมาย 
(3) สิ่งเร้า ความต้องการ แรงขับ การตอบสนอง เป้าหมาย 
(4) เป้าหมาย สิ่งเร้า แรงขับ ความต้องการ การตอบสนอง 
(5) ความต้องการ แรงขับ ความเครียด การตอบสนอง การแสดงผล
 
118. อารมณ์กลัวจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระในข้อใด 
(1) การหายใจช้าลง 
(2) ก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนนอร์แอดรีนาลิน 
(3) กล้ามเนื้ออ่อนแรง 
(4) ความต้านทานกระแสไฟฟ้าของผิวหนังบริเวณมือจะลดลง 
(5) ความต้านทานกระแสไฟฟ้าของผิวหนังบริเวณมือจะเพิ่มขึ้น 

119. ทฤษฎีใดอธิบายว่าร่างกายมีปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าก่อนการเกิดอารมณ์ 
(1) เจมส์-แลง 
(2) แคนนอน-บาร์ด 
(3) แชคเตอร์-ซิงเกอร์ 
(4) คาร์รอล-อิซาร์ด 
(5) มาสโลว์-เมอร์เรย์ 

120. ทฤษฎีใดเน้นว่า “อารมณ์จะเกี่ยวข้องกับการตีความหมายของสถานการณ์ที่แต่ละคนได้เผชิญ” 
(1) เจมส์-แลง 
(2) แคนนอน-บาร์ด 
(3) แชคเตอร์ – ซิงเกอร์ 
(4) คาร์รอล-อิซาร์ด 
(5) มาสโลว์-เมอร์เรย์