71. เกรดเฉลี่ย GPAX, ค่าคะแนนจากผลการสอบ,  ปีปฏิทิน ทั้ง พ.ศ. / ค.ศ.
ตอบ

72. ความพึงพอใจ;  5 = พอใจมาก,  4 = พอใจ,  3 = เฉยๆ,   2 = ไม่พอใจ,  1 = ไม่พอใจมาก
ตอบ

73. ข้อใด ไม่สอดคล้อง กับแนวคิด “แบบสอบถาม” ในการวิจัย
1) เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการตอบคำถามของงานวิจัย
2) ใช้วัดตัวแปรทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ได้รับความนิยมและนำมาใช้กันมาก
3) หลักการพื้นฐานในการออกแบบ คือ หลักการใช้คำ หลักการวัด และลักษณะทั่วไป
4) หลักการใช้คำ- เกี่ยวกับองค์ประกอบ และวัตถุประสงค์ของคำถาม การใช้คำที่ง่าย ไม่ชี้นำฯ
5) หลักการวัด- เกี่ยวกับการออกแบบลักษณะข้อคำถามที่หลากหลายเพื่อรองรับตัวแปรที่ศึกษา
ตอบ

74. ข้อใด ไม่สอดคล้อง กับการทดสอบค่าความเที่ยง (Reliability) ของแบบสอบถาม
1) หมายถึง ประสิทธิภาพในการวัดค่าของตัวแปรที่ทดสอบแล้วได้ผลเหมือนกันทุกครั้ง
2) สะท้อนความคงเส้นคงวาของผลที่ได้จากการวัดซ้ำ ความสม่ำเสมอ และความคงที่ของข้อมูล
3) ค่าความเที่ยงน้อยหรือมาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ อาทิ ความไม่ชัดเจนของคำถาม ปริมาณของคำถาม และ ความหลากหลายของลักษณะข้อคำถามในแบบสอบถาม
4) การทดสอบโดยวิธีหาสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ครอนบาค
5) สอดคล้องทุกข้อ
ตอบ

75. คำศัพท์ในข้อใด ที่ไม่เข้าพวก
1) Cronbach Alpha Co-efficient Reliability
2) Content Validity Ratio
3) I.O.C.
4) Measurement Validity
5) เป็นคำศัพท์ในกลุ่มเดียวกันทุกข้อ
ตอบ

76. ในการนำเสนอผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องมือในงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยเฉพาะในงานวิจัยด้าน สื่อสารมวลชนทั่วไป นักวิจัยนิยมนำเสนอด้วยค่าทางสถิติต่าง ๆ ยกเว้น ข้อใด
1) Alpha Cronbach Co-efficent
2) I.O.C.
3) KR 20 or KR 21
4) Content Validity Ratio
5) Inter-Correlation Value
ตอบ

77. ข้อใด กล่าวไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับสถิติเชิงบรรยาย (Descriptive Statistics)
1) เป็นสถิติที่บรรยายคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการศึกษาจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ
2) ผลของการศึกษาไม่สามารถนำไปอ้างอิงกลุ่มอื่นได้
3) ใช้สำหรับทดสอบสมมติฐาน เพื่อหาข้อสรุปว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธ สมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้
4) จะอธิบายได้ เฉพาะข้อมูลชนิดนั้น เป็นระเบียบวิธีวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น เป็นการแสดงข้อมูลทางสถิติที่อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน
5) แสดงค่าต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปแบบของตาราง แผนภูมิ คำอธิบายหรือกราฟต่าง ๆ ที่ได้จากการคำนวณค่าทาง สถิติ ได้แก่ การแจกแจกความถี่ ค่าร้อยละ ค่าพิสัย ค่าเฉลี่ยเลขคณิตฯ
ตอบ

78. ข้อใด กล่าวได้ถูกต้อง เกี่ยวกับสถิติเชิงอ้างอิงหรือสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics)
1) ใช้ศึกษากลุ่มตัวอย่างแล้วสรุปผลอ้างอิงไปถึงกลุ่มประชากรโดยอาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็น
2) สถิติแบบนี้สำคัญอยู่ที่กลุ่มตัวอย่างจะต้องเป็นตัวแทนที่ดีของกลุ่มประชากร
3) ใช้สำหรับทดสอบสมมติฐาน เพื่อหาข้อสรุปว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธ สมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้
4) ผลของการศึกษาสามารถนำไปอ้างอิงกลุ่มอื่นได้
5) กล่าวถูกต้องทุกข้อ
ตอบ

79. ตัวแปรที่มีมาตรวัดเป็นแบบ Nominal Scale และ Ordinal Scale) สามารถเลือกใช้สถิติพรรณนาสำหรับ ตัวเปรเดียว (Univariate Statistics) ได้ในข้อใด
1) การกระจายจำนวนความถี่ และร้อยละ
2) ค่าเฉลี่ย, ค่ามัธยฐาน และฐานนิยม
3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและความแปรปรวน
4) ใช้ได้ทุกข้อ
5) ไม่มีข้อใดที่ใช้ได้
ตอบ

80. ตัวแปรที่มาตรวัดเป็นแบบ Interval Scale และ Ratio Scale สามารถเลือกใช้สถิติพรรณนาสำหรับตัวแปรเดียว (Univariate Statistics) ได้ทุกข้อ ยกเว้น ข้อใด
1) การกระจายจำนวนความถี่ และร้อยละ
2) ค่าเฉลี่ย, ค่ามัธยฐาน และฐานนิยม
3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ ความแปรปรวน (Variance)
4) ค่าความสัมพันธ์ (Pearson Correlation Value)
5) สามารถใช้ได้ทุกข้อ
ตอบ

คำสั่ง : ใช้ตัวเลือกเหล่านี้สำหรับตอบคำถามในข้อ 81- 87
1) Pearson Correlation Coefficient
2. F-Test (One way ANOVA)
3. T-Test
4. Chi-square
5. Simple Regression 

คำถาม :  วัตถุประสงค์ต่อไปนี้ สอดคล้อง กับแนวคิดสถิติวิเคราะห์ทางการวิจัย ในข้อใด
81. เพื่อทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความเป็นอิสระต่อกันของตัวแปร 2 ตัวแปร
ตอบ
82. เพื่อทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวแปร
ตอบ
83. เพื่อทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม
ตอบ
84. เพื่อทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากรมากกว่า 2 กลุ่ม
ตอบ
คำถาม : สมมติฐานการวิจัยต่อไปนี้ ควรใช้สถิติวิเคราะห์ในข้อใด
85. “นักศึกษารามคำแหง ที่ศึกษาคณะต่างกัน มีพฤติกรรมการสร้างความเกลียดชังบนสื่อสังคมออนไลน์แตกต่างกัน” โดยตัวแปรพฤติกรรมฯ มีมาตรวัดเป็นแบบ Interval Scale
ตอบ
86. “พฤติกรรมจริยธรรมของเยาวชน ส่งผลต่อสำนึกจริยธรรมในการดำเนินชีวิต” โดย ตัวแปรทั้งคู่ มีมาตรวัดเป็นแบบ  Interval Scale
ตอบ
87. “การมีส่วนร่วมทางการเมือง ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร มีระดับสูงกว่าประชาชน ในต่างจังหวัด” โดย ตัวแปร การมีส่วนร่วมฯ มีมาตรวัดเป็นแบบ Interval Scale
ตอบ

88. คำกล่าวในข้อใด สะท้อน ลักษณะเด่นของการวิจัยเชิงคุณภาพ
1) เป็นการศึกษาในสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติ เน้นการเข้าใจภาพรวมทั้งหมด
2) เป็นสากลไม่ถูกจำกัดด้วยเวลา/บริบท มีตัวตน จับต้องได้
3) การสรุปอ้างอิงเป็นสิ่งสำคัญ
4) ความสัมพันธ์เป็นเส้นตรง แยกเหตุออกจากผลได้ชัดเจน
5) ถูกทุกข้อ
ตอบ

89. ข้อใด ไม่ใช่ มูลเหตุพื้นฐานในการออกแบบงานวิจัยเชิงคุณภาพ
1) เมื่อต้องการสร้างสมมติฐานหรือทฤษฎีใหม่ ๆ และ เมื่อต้องการศึกษากระบวนการสังคม
2) เมื่อต้องการศึกษาปัจจัยหรือองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ หรืออิทธิพลต่อการเกิดปรากฏการณ์
3) เมื่อต้องการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ในระดับลึกซึ้งถึงความหมายของปรากฏการณ์นั้น ๆ
4) เมื่อทำวิจัยในสังคมที่มีผู้ไม่รู้หนังสือ/ ผู้มีการศึกษาต่ำมาก หรือเรื่องที่มีลักษณะเป็นนามธรรม
5) เมื่อต้องการข้อมูลระดับลึกเพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจในการวางแผนปฏิบัติงาน
ตอบ

หมายเหตุจากติวเตอร์
1. ให้นักศึกษาฝึกหาคำตอบก่อน โดยเข้าไปฟังคำบรรยยายกระบวนวิชานี้ สำหรับคำตอบ ผมจะนำมาลงให้ภายหลังครับ
2. หากน้อง ๆ ที่ต้องการคำตอบ เอกสาร หรือการติววิชานี้ สามารถติดต่อติวเตอร์แบงค์ได้

ข้อมูลโดยติวเตอร์แบงค์
สถาบันติว PERFECT  ซ.รามคำแหง 43/1 
ติวเตอร์ประจำวิชา MCS 4170
ติวเตอร์ประจำวิชา ENG1001, ENG1002, ENG2001, ENG2002, CEN, ENS,APR
ติวเตอร์ประจำวิชา STA1003, STA2016, SBM4509, INT1004, INT1005
ติดต่อติวเตอร์ได้ที่ เบอร์ 081-7269394 Line ID : sjbank
นักศึกษาที่จะติดต่อติว กรณีคอร์สติวส่วนตัว ให้ติดต่อล่วงหน้าตั้งแต่เนิ่น ๆ นะครับ

ข้อสอบกระบวนวิชา MCS4170 (การวิจัยสื่อสารมมวลชนเบื้องต้น) พ.ศ.2563 ข้อ 71-89