51. คำศัพท์ในข้อใด ไม่เข้าพวก
1) Element
2) Unit of Analysis
3) Samples
4) Sampling Unit
5) Census
ตอบ

52. ในกระบวนการเลือกกลุ่มตัวอย่าง นักวิจัยต้องคำนึงถึงหลักการต่าง ๆ ข้อใด กล่าวถูกต้อง
1) โดยคำนึงถึงคุณภาพของกลุ่มตัวอย่างที่สะท้อนความเป็นตัวแทนที่ดีของกลุ่มประชากร
2) ต้องกระจายโอกาสให้ทุก ๆ หน่วยสมาชิกของประชากร ได้มีโอกาสได้ถูกเลือกเท่า ๆ กัน
3) การกำหนดจำนวนตัวอย่างที่เหมาะสมเพียงพอในการวิเคราะห์ ตามแนวคิด ทฤษฎีการวิจัย
4) ภายใต้การบริหารจัดการงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ
5) กล่าวถูกต้องทุกข้อ
ตอบ 

53. ข้อใด ไม่สอดคล้อง กับแนวคิด Nonprobability Sampling Procedures ในงานวิจัย
1) เป็นแนวทางการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยไม่ทราบขนาดของประชากรที่แน่นอนในการวิจัย
2) คาดเดาไม่ได้ว่า โอกาสที่แต่ละหน่วยของประชากรจะถูกสุ่มมาเป็นตัวอย่างเท่ากับเท่าใด
3) ผู้วิจัยไม่สามารถคาดเดาความคลาดเคลื่อน จากการเลือกตัวอย่าง (Sampling error) ได้
4) เป็นการเลือกตัวอย่างที่จะนำมาศึกษา ที่ต้องอาศัยการคำนวณจากสูตรเป็นวิธีเดียวเท่านั้น
5) แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ อาทิ Accidental Sampling, Convenience Sampling
ตอบ

54. ข้อใด สอดคล้อง กับ แนวคิด Probability Sapling Procedures ในงานวิจัย
1) การเลือกกลุ่มแบบอาศัยความน่าจะเป็น ทราบโอกาสที่แต่ละหน่วยตัวอย่างจะถูกเลือกได้
2) นักวิจัยมีโอกาสเลือกใช้สถิติวิเคราะห์เพื่อการทดสอบสมมติฐานให้หลากหลาย และมากกว่า
3) ทำให้สามารถคำนวณหาความน่าจะเป็นที่ค่าของตัวอย่าง (Sample Value) แตกต่างจากค่าของประชากร ที่ต้องการศึกษา (Population value)
4) ความแตกต่างของ Sample value และ Population value เรียกว่า Sampling error หรือความคลาดเคลื่อนจากการเลือกตัวอย่าง
5)ถูกทุกข้อ
ตอบ

คำสั่ง : ใช้ตัวเลือกเหล่านี้สำหรับตอบคำถามใน 55. – 60.
1) Snow ball sampling
2) Simple random sampling
3) Cluster sampling
4) Accidental sampling
5) Stratified sampling

55. แบ่งประชากรออกเป็นระดับชั้น และเป็นกลุ่มย่อย โดยในกลุ่มย่อยเดียวกันมีความเหมือนกัน ขณะที่แต่ละกลุ่มย่อย มีความแตกต่างกัน หลังจากนั้นเลือกจากแต่ละขั้นมาศึกษาตามสัดส่วน
ตอบ

56. จัดประชากรอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ โดยแต่ละกลุ่มมีลักษณะภายในที่หลากหลาย แต่ระหว่างกลุ่มย่อยมีความ คล้ายคลึงกัน แล้วจึงเลือกกลุ่มย่อยออกมาศึกษา
ตอบ

57. เลือกตามความสามารถ หรือความเหมาะสมของเหตุการณ์ จากผู้ที่อยู่ในสถานการณ์นั้นมีอคติ ไม่เป็นตัวแทนที่ดีของประชากรแต่เป็นที่นิยม สะดวก ประหยัดเวลาและงบประมาณ
ตอบ

58. เหมาะสำหรับกลุ่มประชากรขนาดเล็กและมีกรอบการสุ่มตัวอย่างที่สมบูรณ์ สะดวก เข้าใจง่ายแต่ยากในการหา กรอบตัวอย่าง สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ยังไม่เป็นตัวแทนที่ดี
ตอบ 

59. การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัยการแนะนำของหน่วยตัวอย่างที่ได้เก็บข้อมูลไปแล้ว
ตอบ

60. ถ้าแบ่งกลุ่มย่อยมากทำให้ยุ่งยากใช้เวลามาก สามารถควบคุมคุณสมบัติที่สำคัญของประชากรได้ครบถ้วน และเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร
ตอบ

61. การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม ต้องอาศัยวิธีการต่าง ๆ ยกเว้น ข้อใด
1) เปิดตารางสำเร็จรูปแสดงประชากรและจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม
2) คำนวณจากสูตรทางคณิตศาสตร์          
3) จากการแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ/ที่ปรึกษาวิจัย
4) พิจารณาสัดส่วนจากจำนวนประชากรตามเกณฑ์กำหนด    
5) ถูกทุกข้อ
ตอบ

62. ข้อใด กล่าวถูกต้อง
1) การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยการคำนวณจากสูตร จะทำได้เฉพาะในงานที่ทราบจำนวนประชากร ที่แน่นอน (definite population) เท่านั้น 
2) เมื่อขนาดของประชากรตั้งแต่ 50,000 ขึ้นไป จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่คำนวณได้จะเริ่มคงที่
3) สูตรจำนวนกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yamane ถือเป็นสูตรที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
4) การใช้สูตรของ Yamane ต้องทราบขนาดของประชากรที่แน่นอน และต้องมีวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัย ความน่าจะเป็นเท่านั้น  ถูก
5) จำนวนตัวอย่างที่ได้จากทั้งการคำนวณและการเปิดตาราง เป็นขนาดตัวอย่างขั้นต่ำ
ตอบ 

63. นอกจากสูตรคำนวณของ Yamane แล้ว ยังมีนักวิชาการท่านใดอีกที่มีบทบาทต่อการกำหนดขนาดของกลุ่ม ตัวอย่างที่เหมาะสมในงานวิจัย
1) Peter Roger
2) Roger Everatte
3) Paul Larzafeld
4) Krejcie & Morgan
5) Swendon J. Bill
ตอบ

64. เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล (การวัดผล) ในข้อใด มี “ค่าความเชื่อมั่น” มากที่สุด
1) แบบสอบถาม
2) แบบสัมภาษณ์
3) แบบทดสอบแบบปรนัย
4) แบบทดสอบแบบอัตนัย
5) แบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วม
ตอบ

65. ข้อใด จัดเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการวิจัยเชิงคุณภาพ นอกเหนือจาก การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) หรือการอภิปรายกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion)
1) แบบบันทึกการสังเกต
2) แบบสอบถาม
3) แบบสัมภาษณ์
4) แบบทดสอบ/แบบวัดความรู้
5) ผู้วิจัย
ตอบ

คำสั่ง :  ใช้ตัวเลือกเหล่านี้สำหรับตอบคำถามใน ข้อ 66. – 72.
1) Nominal Scale
2) Ordinal Scale
3) Interval Scale
4) Ratio Scale
5) Likert Scale

คำถาม : ข้อมูล  และข้อความต่อไปนี้ สอดคล้อง กับ “มาตรวัด” ในข้อใด
66. ใช้ในการกำหนดตัวแทนกลุ่มของสมาชิก เป็นการวัดเพื่อแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่ม
ตอบ
67. การวัดลำดับว่าข้อมูลใดอยู่ในอันดับที่เท่าไหร่ แต่ไม่ได้บอกว่าดีกว่าหรือมากกว่าเท่าใด
ตอบ
68. การแบ่งช่วงภายในแต่ละหน่วยที่เท่ากันโดยกำหนดค่าตัวเลขแทนสิ่งของพฤติกรรมระบุได้ว่าคำตอบที่ได้แต่ละ คำตอบจากสมาชิกมีความแตกต่างกันในเชิงปริมาณอย่างไร
ตอบ
69. สามารถเปลี่ยนหน่วยการวัดจากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่งเพื่อนำมาเปรียบเทียบกันได้ โดยอาศัยกรรมวิธีทางคณิตศาสตร์
ตอบ
70. อาการของโรคมะเร็ง, ระยะไม่แสดงอาการ ระยะที่ 1, ระยะที่ 2,  ระยะที่ 3, ระยะสุดท้าย
ตอบ

หมายเหตุจากติวเตอร์
1. ให้นักศึกษาฝึกหาคำตอบก่อน โดยเข้าไปฟังคำบรรยยายกระบวนวิชานี้ สำหรับคำตอบ ผมจะนำมาลงให้ภายหลังครับ
2. หากน้อง ๆ ที่ต้องการคำตอบ เอกสาร หรือการติววิชานี้ สามารถติดต่อติวเตอร์แบงค์ได้

ข้อมูลโดยติวเตอร์แบงค์
สถาบันติว PERFECT  ซ.รามคำแหง 43/1 
ติวเตอร์ประจำวิชา MCS 4170
ติวเตอร์ประจำวิชา ENG1001, ENG1002, ENG2001, ENG2002, CEN, ENS,APR
ติวเตอร์ประจำวิชา STA1003, STA2016, SBM4509, INT1004, INT1005
ติดต่อติวเตอร์ได้ที่ เบอร์ 081-7269394 Line ID : sjbank
นักศึกษาที่จะติดต่อติว กรณีคอร์สติวส่วนตัว ให้ติดต่อล่วงหน้าตั้งแต่เนิ่น ๆ นะครับ

ข้อสอบกระบวนวิชา MCS4170 (การวิจัยสื่อสารมมวลชนเบื้องต้น) พ.ศ.2563 ข้อ 51-70