ข้อสอบกระบวนวิชา MCS4170 (การวิจัยสื่อสารมมวลชนเบื้องต้น)
สอบวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563
คำสั่ง : ใช้ตัวเลือกเหล่านี้สำหรับตอบคำถามใน ข้อ 1. – ข้อ 3.1) การแสวงหาความรู้โดยรวบรวมข้อเท็จจริงจากทุก ๆ หน่วยย่อยในประชากร แล้วจึงไปสรุปรวมกับหน่วยใหญ่ ซึ่งในความเป็นจริงทำได้ยาก
2) การแสวงหาความรู้ที่เชื่อถือได้ เป็นการรวมกันระหว่างการให้เหตุผลแบบอนุมาน และอุปมาน
3) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากหน่วยย่อย ๆ แล้วจึงไปสรุปรวมใหญ่ โดยข้อสรุปจะเป็นจริงได้ข้อเท็จจริงย่อย ๆ ทั้งหมดจะต้องถูกเสมอ
4) การคิดเชิงเหตุผลจากเรื่องทั่วไปสู่เรื่องเฉพาะเจาะจง จากส่วนใหญ่ไปสู่ย่อย จากสิ่งที่รู้สู่ไม่รู้
5) การแสวงหาความรู้โดยรวบรวมข้อเท็จจริงจากบางส่วนของหน่วยย่อยในประชากรแล้วไป สรุปรวมกับหน่วยใหญ่
คำถาม : ข้อความต่อไปนี้ สอดคล้อง กับความหมายหรือคำอธิบาย ในข้อใด
1. การแสวงหาความแบบ Scientific Method
ตอบ
2. การแสวงหาความแบบ Perfect Inductive Method
ตอบ
3. การแสวงหาความแบบ Imperfect Inductive Method
ตอบ
4. ขั้นตอนใด ในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้แนวทางการแสวงหาความรู้แบบ DEDUCTIVE
1) ขั้นตอนการกำหนดปัญหา
2) ขั้นตอนการกำหนดปัญหา + การตั้งสมมติฐาน
3) ขั้นตอนการกำหนดปัญหา + การตั้งสมมติฐาน + การเก็บรวบรวมข้อมูล
4) ขั้นตอนการตั้งสมมติฐาน + การเก็บรวบรวมข้อมูล + การวิเคราะห์และอภิปรายผล
5)ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล + วิเคราะห์ อภิปรายผล + การสรุปผลข้อมูล
ตอบ
5. ขั้นตอนใด ในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้แนวทางการแสวงหาความรู้แบบ INDUCTIVE
1) ขั้นตอนการกำหนดปัญหา
2) ขั้นตอนการกำหนดปัญหา + การตั้งสมมติฐาน
3) ขั้นตอนการกำหนดปัญหา + การตั้งสมมติฐาน + การเก็บรวบรวมข้อมูล
4) ขั้นตอนการตั้งสมมติฐาน + การเก็บรวบรวมข้อมูล + การวิเคราะห์และอภิปรายผล
5) ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล + วิเคราะห์ อภิปรายผล + การสรุปผลข้อมูล
ตอบ
6. ข้อใด ไม่สอดคล้อง กับแนวคิดและความหมายของ เพื่อให้เกิดความรู้ที่เชื่อถือได้
1) กระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงที่มีระบบและวิธีการที่น่าเชื่อถือ ถูกต้องแม่นยำ
2) วิธีแก้ปัญหาที่มีระบบแบบแผนเชื่อถือได้ เพื่อให้เกิดความรู้ที่เชื่อถือได้
3) การแสวงหาข้อเท็จจริงด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบ, มีกระบวนการเก็บวิเคราะห์ สังเคราะห์ การสร้างและทดสอบสมมติฐาน สรุปอย่างมีแบบแผนอย่างดี
4) ชื่อเรื่องหรือประเด็นปัญหาเป็นตัวกำหนดความเป็นงานวิจัย คือ ชื่อเรื่องต้องดึงดูดความสนใจส่วน ประเด็นปัญหาต้องโดดเด่น แปลกใหม่ ไม่เคยมีการศึกษามาก่อน
5) สอดคล้องทุกข้อ
ตอบ
7. ข้อใด สอดคล้อง กับลักษณะเด่นที่สำคัญของงานวิจัย
1) มุ่งหาคำตอบโดยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในลักษณะของความเป็นเหตุเป็นผล
2) สามารถตรวจสอบความเที่ยง ความตรงของวิธีการและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้
3) เป็นการรวบรวมข้อมูลใหม่จากแหล่งปฐมภูมิ/ข้อมูลเดิม เพื่อหาคำตอบของวัตถุประสงค์ใหม่
4) เน้นการพัฒนาข้อสรุป หลักเกณฑ์ หรือทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อใช้ทำนายอนาคตเป้าหมายไม่ได้มุ่งเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา แต่มุ่งอ้างอิงไปสู่ประชากรเป้าหมาย
5) สอดคล้องทุกข้อ
ตอบ
8. ข้อใด ไม่สอดคล้อง กับลักษณะเด่นที่สำคัญของงานวิจัย
1) เน้นการตั้งโจทย์การวิจัย/ให้ความสำคัญกับระเบียบวิจัย (Methodology-Oriented)
2) สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) เน้นการวิพากษ์วิจารณ์ (Self Criticism)
3) สามารถดำเนินการวิจัยซ้ำได้ (Replicatoin) ส่งผลให้เกิดความต่อเนื่อง (Cumulativeness)
4) มีการตรวจสอบแก้ไขด้วยตนเองและจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง (Self-Examined)
5) เป็นเรื่องของสาธารณะ (Public) มากกว่า (Private)
ตอบ
9. จากแนวคิดที่ว่า “การวิจัย คือ การตอบคำถามโดยวิธีการศึกษาที่เป็นระบบ” เพื่อให้เข้าใจ “ปรากฏการณ์” ที่ผู้วิจัยเห็นคุณค่าและสนใจศึกษา...” ข้อใด กล่าวผิด
1) การแสวงหาความรู้ เน้นทำความเข้าใจ ช่วยให้จัดการ ควบคุม ทำนายสิ่งที่จะเกิดในอนาคตได้
2) ไม่จำกัดเฉพาะเพียงการตอบคำถามพื้นฐาน อาทิ WHAT / WHEN / WHERE แต่จะเน้นข้อมูลเชิงลึก เพิ่มคำถามไปสู่ WHY & HOW ทำไม เหตุใด เพราะอะไร ผ่านขั้นตอนอะไร อย่างไร ฯ
3) เน้นการศึกษาข้อมูลในทั้งในเชิงลึกและกว้าง ด้วยระเบียบวิธีวิจัยที่หลากหลายแบบผสมผสาน
4) กล่าวคือ นอกจากจะมุ่งสิ่งที่ใคร่รู้เป็นหลักแล้ว ต้องพยายามเชื่อมโยงสิ่งที่ศึกษาไปสู่สภาพแวดล้อมในบริบทนั้น ๆ เน้นศึกษาเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของตัวแปร
5) กล่าวถูกทุกข้อ
ตอบ
10. ข้อใด คือ วัตถุประสงค์หลักของการวิจัย
1) TO EXPLORE/DESCRIBE : สำรวจ-ศึกษาเพื่อหาข้อมูลพื้นฐานเพื่อเข้าใจปรากฏการณ์
2) TO EXPLAIN : อธิบาย-ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือกลุ่มตัวแปร
3) TO PREDICT : ทำนาย – สร้างสมการของตัวแปรเพื่อการทำนายความสัมพันธ์
4) TO CONTROL : ควบคุม – สร้างข้อสรุปเพื่อหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล
5) ถูกทุกข้อ
ตอบ
คำสั่ง : ใช้ตัวเลือกเหล่านี้สำหรับตอบคำถามใน ข้อ 11. – 15.
1) Descriptive Research
2) Action Research
3) Applied Research
4) Experimental Research
5) Cross Sectional Study
คำถาม : ลักษณะของการวิจัยต่อไปนี้ สอดคล้อง กับประเภทของงานวิจัยในข้อใด
11. บรรยาย / อธิบายปรากฏการณ์หรือภาวการณ์ในปัจจุบัน – นักวิจัยไม่สามารถคบคุมตัวแปรได้ ทำได้เพียงสังเกตจากสภาพจริงที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
ตอบ
12. การสำรวจในช่วงเวลาเดียวเพียงครั้งเดียวจากประชากรที่มีความหลากหลาย ไม่สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาการของปัญหา
ตอบ
13. ศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผล ของตัวแปร โดยการจัดกระทำแล้วสังเกตผล สามารถควบคุมตัวแปรได้ตอบ
14. มุ่งนำผล / ข้อค้นพบ จากการวิจัยพื้นฐานไปใช้ประโยชน์ หรือทดลองนำแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน (ของทั่วไป / ของสังคม)
ตอบ
15. มุ่งพัฒนาทักษะหรือวิธีการใหม่ ๆ เพื่อนำใช้แก้ปัญหาในการทำงานโดยตรง เน้นการศึกษาเฉพาะที่หรือเฉพาะหน่วยงาน โดยผลที่ได้นำไปใช้กับกลุ่มที่ทำการศึกษาวิจัยเท่านั้น
ตอบ
16. ในเล่มรายงานการวิจัยเชิงปริมาณในบทที่ 1 ปกติจะประกอบด้วยเนื้อหาต่าง ๆ ยกเว้น ข้อใด
1) บทนำ; ที่มาและความสำคัญและปัญหา
2) ปัญหานำ วัตถุประสงค์ สมมติฐานของการวิจัย
3) ตัวแปรในงานวิจัย คำนิยามศัพท์ ขอบเขตของการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
4) ประวัติผู้วิจัยพร้อมหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนทุนวิจัย
5) กล่าวถูกต้องทุกข้อ
ตอบ
17. “กรอบแนวคิดในการวิจัย” ปกตินักวิจัยจะนำเสนอในบทใดในเล่มรายงานวิจัยเชิงปริมาณ
1) บทที่ 1
2) บทที่ 2
3) บทที่ 3
4) สามารถนำเสนอได้ทั้งในบทที่ 1 และ 3
5) สามารถนำเสนอได้ทั้งในบทที่ 1, 2 และ 3
ตอบ
18. หัวข้อ “สถิติวิเคราะห์ในการทดสอบสมมติฐาน” ควรนำเสนอในบทใดของรายงานการวิจัย
1) บทที่ 1
2) บทที่ 2
3) บทที่ 3
4) บทที่ 4
5) บทที่ 5
ตอบ
19. หัวข้อ “รายละเอียดเกี่ยวกับแบบสอบถามและเกณฑ์การกำหนดค่าคะแนน” ควรนำเสนอในบทใดของรายงานการวิจัย
1) บทที่ 1
2) บทที่ 2
3) บทที่ 3
4) บทที่ 4
5) บทที่ 5
ตอบ
20. ข้อใด สอดคล้อง กับคุณลักษณะเด่นของ “งานวิจัยด้านการสื่อสาร”
1) เป็นการศึกษาภายใต้หลักการทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และแบบผสมผสานวิธี
2) การบรรยายกิจกรรมด้านการสื่อสารของกลุ่มต่าง ๆ อาทิบุคคล กลุ่มบุคคล กลุ่มผู้ผลิตสื่อ กลุ่มผู้บริโภค องค์การด้านสื่อ ในฐานะ “ปรากฏการณ์”
3) การศึกษากิจกรรมด้านการสื่อสาร เพื่อค้นหาเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมด้านการสื่อสารกับองค์ประกอบแวดล้อม เน้นศึกษาความสัมพันธ์ตัวแปรด้านการสื่อสาร และอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง
4) การบ่งหาดัชนีบ่งชี้เพื่อให้เป็นเกณฑ์วิเคราะห์ ประเมินกิจกรรมด้านการสื่อสาร เน้นประเมิน “คุณค่า”
5) สอดคล้องกับคุณลักษณะเด่นของ “งานวิจัยด้านการสื่อสาร” ทุกข้อ
ตอบ
0 ความคิดเห็น