กริยาช่วย Semi-Modal Auxiliary Verbs
นิยามสำหรับ Semi-Modal Auxiliary Verbs หรือบางตำราเรียก Semi-modal verbs คือกลุ่มกริยาที่บางครั้งทำหน้าที่เหมือนกริยาช่วย บางครั้งก็ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วย ซึ่งมีอยู่หลายคำด้วยกัน แต่ที่เราพบบ่อยมีอยู่คำ คือ dare, need, used to, ought to
การใช้กริยา Dare เป็นกริยาช่วย
กริยา dare ถือว่า Semi-Modal Auxiliary Verbs แปลว่า กล้าพอ ที่จะทำบางสิ่ง โดยถ้า dare ทำหน้าที่เป็น Modal Auxiliary Verbs นั้น จะไปไม่เปลี่ยนรูปตามประธานหรือ Tenseพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “If he dare cross me again, I’ll make sure he pays dearly for it.”
(ถ้าเขากล้าข้ามฉันอีกครั้ง ฉันมั่นใจว่าเขาจะได้รับความลำบากแน่)
• “I dare not press the issue any further.”
(ฉันไม่กล้าตีพิมพ์ประเด็นนั้นอีกต่อไป)
• “How dare she talk to me like that?”
(หล่อนกล้าพูด(หยาบ)กับฉันเช่นนั้นได้อย่างไร)
• “They daren’t give him a reason to be angry.”
(พวกเขาไม่กล้าให้เหตุผลที่ทำให้เขาโกรธ)
การใช้กริยา Dare เป็นกริยาหลัก (Main verb)
เราสามารถใช้กริยา dare เป็นกริยาหลักได้ โดยจะมีการผันรูปกริยาตามประธานและ Tenseพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I can’t believe he dared (to) stand up to the boss.”
(ฉันคิดไม่ถึงว่า เขากล้ายืนขึ้นต่อหน้าหัวหน้า)
• “No one dares (to) question my authority!”
(ไม่มีใครกล้าที่จะสงสัยอำนาจของฉัน)
เมื่อจะใช้กริยา dare เป็นประโยคคำถาม หรือ จะปฏิเสธ ก็จะใช้กริยา do เข้ามาช่วย
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Did they dare (to) go through with it?”
(พวกเขากล้าที่จะผ่านมันไปได้ไหม?)
• “He doesn’t dare (to) argue with the principal.”
(เขาไม่กล้าโต้เถียงกับครูใหญ่)
กริยา dare มีความหมายถึง การท้าทายให้ใครบางคนทำสิ่งหนึ่ง ด้วยความกล้าหาญ
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I dare you to ask Suzy on a date.”
(ฉันท้าว่าคุณกล้าที่จะถาม Suzy ในวันออกเดท)
• “I’ve never been dared to race someone before.”
(ฉันเคยกล้าที่จะท้าแข่งกับคนอื่นมาก่อน)
การใช้กริยา Need เป็นกริยาช่วย
โดยทั่วไปแล้ว กริยา need จะทำหน้าที่เป็นกริยาช่วยนั้น มักจะเป็นประโยคปฏิเสธหรือประโยคคำถามพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “No one need know about this.”
(ไม่มีใครจำเป็นที่จะรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้)
• “He needn’t have called; I told him I would be late.”
(เขาไม่จำเป็นต้องโทร เพราะฉันได้บอกเขาว่า ฉันจะมาสาย)
• “You needn’t worry about my grades.”
(คุณไม่จำเป็นต้องกังวลถึงเกรดของฉัน)
• “Need we be concerned?”
(พวกเราจำเป็นต้องกังวลไหม?)
• “Need I go to the market later?”
(ฉันจำเป็นต้องไปตลาดในภายหลังไหม?)
การใช้กริยา Need เป็นกริยาหลัก
เมื่อ need เป็นกริยาหลัก ก็จะต้องผันตามประธานและ Tenseพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “He needs that report by tomorrow.”
(เขาต้องการรายงานนั้นตอนวันพรุ่งนี้)
• “Does she need to know where the house is?”
(หล่อนจำเป็นต้องรู้ว่าบ้านอยู่ที่ไหนไหม)
• “You have plenty of time, so you don’t need to rush.”
(คุณมีเวลาเหลือเฟือ ดังนั้นคุณไม่จำเป็นต้องรีบ)
การใช้กริยา Used to เป็นกริยาช่วย
สำหรับการใช้ used to นั้น หมายถึง สิ่งที่เคยทำในอดีต แต่ปัจจุบันไม่ได้ทำแล้วพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I used to get up early when I lived in New York.”
(ฉันเคยตื่นเช้า ตอนฉันอยู่ในกรุงนิวยอร์ค)
• “She used to live in Ireland.”
(หล่อนเคยอาศัยอยู่ในไอร์แลนด์)
เมื่อเป็นประโยคคำถามหรือปฏิเสธ จะใช้กริยา did เข้ามาช่วย
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Did you use to live in Manchester?”
(คุณเคยอาศัยอยู่ในเมืองแมนเซสเตอร์ไหม?)
• “I didn’t use to like coffee.”
(ฉันไม่เคยชอบกาแฟ)
• “She didn’t use to go to the gym every day.”
(หล่อนไม่เคยไปโรงยิมทุกวัน)
ความแตกต่างระหว่าง used to , be used to และ get used to
การใช้ be used toสำหรับ be used to นั้น มักจะตามด้วย noun, noun phrase หรือ gerund ซึ่ง be used to มีความหมายว่า ชิน หรือคุ้นเคยกับบางสิ่ง “to be accustomed to something.”
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I am used to getting up at 7 AM every morning.”
(ฉันชินกับการตื่น 7 น. ทุกเช้า)
• “I am not used to living in the city.”
(ฉันไม่ชินกับการอาศัยอยู่ในเมือง)
• “He wasn’t used to so much work.”
(เขาไม่ชินกับการทำงานงานหนักมาก)
• “Are you used to living with roommates?”
(คุณชินกับการอยู่กับเพื่อนร่วมห้องใหม?)
การใช้ get used to
สำหรับ get ในที่นี้หมายถึง กลายเป็น (become) ถ้าในภาษาทางการจะใช้คำว่า become used to แต่ในปัจจุบันทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียนนิยมใช้คำว่า get used to มากกว่า โดยทั่วไปนั้นเราจะพบการใช้ get used to ในโครงสร้างของ present continuous tense
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I am getting used to living in the city.”
(ฉันเริ่มชินกับการอยู่ในเมือง)
• “He is getting used to public speaking.
(เขาเริ่มชินกับการพูดต่อสาธารณะ)
เราสามารถใช้ get used to กับ past simple tense เช่นกัน แต่มักจะอยู่ในรูปปฏิเสธ
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “She never got used to the silence of the countryside.”
(หล่อนไม่รู้สึกว่าจะชินกับความเงียบของชนบท)
เราจะพบบ่อย ๆ เมื่อมีการใช้ get used to กับ could, will, และ cannot
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I can’t get used to working so many hours. I am so tired.”
(ฉันไม่สามารถที่จะทำให้ชินกับการทำงานหลาย ๆชั่วโมง เพราะว่าฉันเหนื่อยมาก)
• “I could get used to doing nothing all day.”
(ฉันอาจจะชินกับการไม่ทำอะไรทั้งวัน)
• “I will never get used to these cramped conditions.”
(ฉันจะไม่เกิดความชินต่อสภาพที่แออัดเหล่านี้)
สรุปความแตกต่างระหว่าง be used to และ get used to
คำว่า be used to บอกสภาวะว่า ชินแล้ว กับสิ่งนั้น
คำว่า get used to บอกว่า มีแนวโน้มว่าจะชิน หรือ ไม่ชิน กับสิ่งนั้น
การใช้ Ought to
สำหรับการใช้กริยา Ought to มีความหมายเทียบได้กับกริยา should ซึ่งหมายถึง ควรทำพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “With the cost of airfare so high, in-flight meals ought to be free.”
(ด้วยค่าเครื่องบินที่สูงมาก อาหารบนเครื่องควรจะฟรี)
• “We ought to arrive in the evening.”
(เราควรจะถึงในตอนเย็น)
• “I think we ought to turn back.”
(ฉันคิดว่าพวกเราจำเป็นต้องเลี้ยวกลับ)
• “You ought to see the Grand Canyon some day.”
(อยากแนะนำให้คุณไปเที่ยวที่ Grand Canyon สักครั้ง)
การใช้ Ought to เป็นรูปปฏิเสธ บางครั้ง เราจะพบว่า มีการ ตัด "to" ออก
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “You ought not to read in such dim light.”
(คุณไม่ควรอ่านหนังสือในสภาพที่มีแสดงน้อยแบบนั้น)
• “We oughtn’t leave the house; it isn’t safe.”
(พวกเราไม่ควรออกจากบ้าน มันไม่ปลอดภัยป
เราสามารถใช้ Ought to เป็นรูปประโยคคำถาม บางครั้งพบว่า มีการ ตัด "to" ออก
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Ought we find someplace to eat?”
(พวกเราควรจะหาสถานที่กินกันไหม?)
• “Oughtn’t she study for her exam?”
(หล่อนไม่จำเป็นต้องศึกษาเพื่อการสอบของหล่อนใช่ไหม)
• “Ought they to be more worried about the storm?”
(พวกเขาไม่ควรกังวลเกี่ยวกับพายุให้มากใช่ไหม)
• “Ought not he to finish his homework first?”
(เขาไม่จำเป็นต้องทำการบ้านให้เสร็จเป็นอันดับแรกใช่ไหม)
หมายเหตุ ในภาษาอังกฤษสมัยใหม่นั้น มีการใช้ Ought to น้อยกว่า should โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน American English
สำหรับโพสท์นี้ผมก็จะจบหัวข้อ Semi-Modal Auxiliary Verbs พอเข้าใจเพียงแค่นี้ หัวข้อถัดไปผมก็จะพูดถึงกริยาที่เรียกว่า Infinitives เป็นลำดับต่อไป สวัสดีครับ
เรียบเรียงโดย
- ติวเตอร์แบงค์
- สถาบันติว PERFECT ซ.รามคำแหง 43/1
- ติวเตอร์ประจำวิชา ENG, ENS, CEN2101, CEN2102, APR2101
- ติดต่อติวเตอร์ โทร. 081-7269394 Line ID : sjbank
- Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
- Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
- Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
- Raymond Murphy. 2019. English Grammar in Use, Cambridge University Press; 5 edition (24 Jan. 2019).
- Marianne Celce-Murcia (Author), Donna M. Brinton. 2013. Teaching English as a Second or Foreign Language. Cengage Learning, 4th edition.
- Peter Huring. 2016. Complete English Grammar Rules - Examples, Exceptions & Everything You Need to Master Proper Grammar by Farlex International.
0 ความคิดเห็น