สำหรับโพสท์นี้ผมจะพูดถึงการใช้กริยาช่วย May กับ Might ให้อยู่ในหัวข้อเดียวกัน ขอให้นักศึกษาพึงเข้าใจไว้เสมอว่า May กับ Might ไม่ได้แปลว่า อาจจะ เสมอไป เพราะกริยาช่วยส่วนใหญ่จะไม่มีความหมายในตัวของมันเอง เป็นคำกริยาที่ช่วยบ่งบอกอารมณ์ของผู้พูด ความหมายจึงเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของอารมณ์ครับ

การใช้กริยา Modal Auxiliary Verbs : May

นิยาม
สำหรับกริยา may มีขอบเขตการนำไปใช้ได้ ดังต่อไปนี้
1. การใช้กริยา May เพื่อขออนุญาต
2. การใช้กริยา May เพื่อการเสนอการช่วยเหลืออย่างสุภาพ
3. การใช้กริยา May เพื่อแสดงความเป็นไปได้
4. การใช้กริยา May เพื่อแสดงความปรารถนาในอนาคต
5. การใช้กริยา May เพื่อแสดงการเน้นย้ำความคิดเห็น

การใช้กริยา May เพื่อขออนุญาต

ในการขออนุญาตนั้น เราสามารถใช้ได้ทั้ง can หรือ could แต่การใช้ may นั้น ถือว่ามีความสุภาพและเป็นทางการมากที่สุด

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “May I borrow your pen, please?”
(ฉันขออนุญาตยืมปากกาของคุณหน่อยได้ไหม)
• “May we ask you some questions about your experience?”
(พวกเราขออนุญาตถามบางคำถามเกี่ยวกับประสบการณ์ของคุณได้ไหม)
• “She may invite one or two friends, but no more than that.”
(หล่อนได้รับอนุญาตให้เชิญเพื่อนได้ 1หรือ 2 คน แต่ห้ามมากกว่านั้น)
• “Students may not leave the class once their exams are complete.”
(นักเรียนไม่ได้รับอนุญาตออกจากห้อง ทันทีที่ทำข้อสอบเสร็จ)

การใช้กริยา May เพื่อเสนอความช่วยเหลืออย่างสุภาพ

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “May I help you set the table?”
(ขอให้ฉันช่วยคุณจัดโต๊ะได้ไหม)
• “May we be of assistance in any way?”
(ขอให้พวกเราคอยช่วยเหลือทางใดทางหนึ่งไหม)

การใช้กริยา May เพื่อบอกความเป็นไปได้

เราจะใช้ may เพื่อบอกความเป็นไปได้ของสิ่งที่จะเกิดขึ้น เพียงแต่ว่าไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้น
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I’m worried that it may start raining soon.”
(ฉันกังวลว่าฝนอาจจะเริ่มตกในไม่ช้า)
• “I may be coming home for the winter break, depending on the cost of a plane ticket.”
(ฉันอาจจะมาบ้านช่วงพักฤดูหนาว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคาตั๋วเครื่องบิน)

การใช้กริยา May เพื่อการอวยพรในอนาคต

การใช้ may เพื่อแสดงถึงความปรารถนาในอนาคตนั้น ถือว่าเป็นภาษาที่อยู่ในระดับทางการ โดยการใช้นั้นจะสลับที่ may กับประธาน

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “May you both have a long, happy life together.”
(ขออวยพรให้คุณทั้งคู่อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขและยาวนาน)
• “May you be safe in your journey home.”
(ขออวยพรให้คุณเดินทางถึงบ้านอย่างปลอดภัย)

การใช้กริยา May เพื่อเน้นความคิดเห็น (rhetorical device) อย่างสุภาพ

สำหรับการเน้นความคิดเห็นหรืออารมณ์นั้น เราจะสลับกริยา may กับประธาน

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “May I just say, this has been the most wonderful experience of my life.”
(ถ้าจะให้พูดจริง ๆ เลยนะ นี้เป็นประสบการณ์ที่วิเศษสุดของฉัน)
• “May I be frank: this is not what I was hoping for.”
(ขอฉันพูดตรง ๆ เลยนะ นี้ไม่ใช่สิ่งที่ฉันอยากให้เกิดขึ้น)

การใช้กริยา Modal Auxiliary Verbs : Might

นิยาม
สำหรับกริยา might มีขอบเขตการนำไปใช้ได้ ดังต่อไปนี้
1. ใช้กริยา Might เพื่อบอกความเป็นไปได้
2. ใช้กริยา Might เพื่อสร้างประโยคเงื่อนไข
3. ใช้กริยา Might เพื่อขออนุญาตอย่างสุภาพ
4. ใช้กริยา Might เพื่อเป็นรูปอดีตของ may
5. ใช้กริยา Might เพื่อให้การแนะนำ
6. ใช้กริยา Might เพื่อเน้นอารมณ์โกรธ

การใช้กริยา Might เพื่อบอกความเป็นไปได้

เราจะใช้กริยา might สำหรับบอกความน่าจะเป็นหรือความแน่นอน ที่ค่อนข้างเป็นไปได้น้อยที่จะเกิดขึ้นได้
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I’m hoping that she might call me later.”
(ฉันหวังว่าหล่อนอาจจะโทรหาฉันในภายหลัง) *ความหวังแค่เล็กน้อย
• “You should pack an umbrella—it looks like it might rain.”
(คุณควรนำร่มไปด้วย ดูเหมือนฝนอาจจะตก)
• “We might go to a party later, if you want to come.”
(พวกเราอาจจะไปงานเลี้ยงในภายหลัง ถ้าคุณต้องการให้มา)

การใช้กริยา Might สร้างประโยคเงื่อนไข

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “If we don’t arrive early enough, we might not be able to get in to the show.”
(ถ้าเราไม่มาถึงแต่เนิ่น ๆ เราอาจจะไม่สามารถเข้าไปดูงานแสดง)
• “We still might make our flight if we leave right now!”
(เราอาจจะยังขึ้นเครื่องทัน ถ้าเราออกเดินทางตอนนี้!)

การใช้กริยา Might สร้างประโยคขออนุญาต

โดยมาตรฐานแล้วเราจะใช้ may สำหรับการขออนุญาตอย่างสุภาพอยู่แล้ว แต่การใช้ might นั้นจะมีลักษณะที่เพิ่มความสุภาพและเป็นทางการขึ้นอีก โดยทั่วไปจะใช้กับประโยคคำถาม

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Might we go to the park this afternoon, father?”
(พวกเราขออนุญาตไปสวนสาธารณะช่วงบ่ายนี้ ได้ไหมพ่อ)
• “Might I ask you a few questions?”
(ฉันขออนุญาตถามคุณสัก 2-3 คำถามหน่อยได้ไหม)

ยังมีการใช้ might ในประโยคบอกเล่า มักจะพบในการพูดหรือการเขียนที่เป็นทางการ และอาจจะพบได้ในการเขียนแบบเก่าใน American English โดยจะแสดงถึงการถามหา
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I was hoping I might borrow the car this evening.”
(ฉันได้หวังว่า ฉันอาจจะหายืมรถยนต์ในเย็นนี้)
• “I wonder if we might invite Samantha to come with us.”
(ฉันคิดว่าเราอาจจะเชิญ Samantha มากับเราด้วยได้หรือไม่)

การใช้กริยา Might สร้างเป็นรูปอดีตของ may

เราจะใช้ might ในประโยคเล่าการพูด (reported speech) ในกรณีที่มีการใช้ may เพื่อขออนุญาต
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “He asked if he might use the car for his date tonight.”
(เขาได้ร้องขอว่า เขาจะขออนุญาตใช้รถสำหรับวันออกเดทคืนนี้ได้ไหม)
• “She wondered if she might bring a friend to the show.”
(หล่อนอยากรู้ว่า หล่อนจะขออนุญาตพาเพื่อนไปงานแสดงได้ไหม)

การใช้กริยา Might เพื่อเสนอคำแนะนำ

เราสามารถใช้ might เพื่อให้คำแนะนำ ซึ่งมีความหมายเชิงบังคับที่น้อยกว่า should (ควรจะทำ) ดังนั้น might จึงเป็นคำแนะนำที่สุภาพ(ไม่บังคับว่าจะต้องทำหรือไม่)

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “You might ask your brother about repaying that loan the next time you see him.”
(คุณน่าจะลองถามพี่ชายของคุณเกี่ยวกับการจ่ายเงินกู้ย้อนหลัง เมื่อคุณพบเขา)
• “It tastes very good, though you might add a bit more salt.”
(รสชาติดีมาก อย่างไรก็ดี คุณน่าจะลองเติมเกลือเพิ่มอีกนิด)
• “You might try rebooting the computer; that should fix the problem for you.”
(คุณน่าจะลองเปิดเครื่องคอมฯดูใหม่ ซึ่งอาจจะแก้ปัญหาของคุณได้)

การใช้กริยา Might เพื่อ แนะนำการกระทำที่เป็นไปได้

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I thought you might like this book, so I bought you a copy.”
(ฉันคิดว่า คุณอาจจะชอบหนังสือเล่มนี้(แนะนำ) ดังนั้นฉันจึงได้ซื้อมาให้คุณ 1 เล่ม)
• “I was wondering if you might be interested in seeing a play with me later.”
(ฉันคิดว่า คุณอาจจะสนใจที่จะดูการแสดงกับฉันในภายหลังหน่อยได้ไหม)

การใช้กริยา Might เพื่อแสดงถึงอารมณ์โกรธ

การเน้นว่ามีอารมณ์โกรธนั้น นอกจากใช้ could ได้แล้ว เราสามารถใช้ might ได้ ซึ่งมีความหมายในเชิงให้คำแนะนำ

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “My mother has traveled a long way to be here—you might try to look a little more pleased to see her!”
(แม่ของคุณเดินทางไกลมาอยู่ที่นี่ ดังนั้น คุณน่าจะแสดงถึงความยินดีอีกสักนิดที่ได้พบหล่อน)

การใช้กริยา Might เพื่อแสดงถึงอารมณ์ขัดแย้ง

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I might not have much free time,  but I find great satisfaction  in my work.”
(ถึงแม้ว่า ฉันอาจจะไม่มีเวลาว่างมากนัก แต่ฉันก็มีความพอใจมากในที่ทำงาน)
• “Our organization might be very small, but we provide a unique, tailored service to our clientele.”
(ถึงแม้ว่าองค์กรของเราอาจจะเล็กมาก แต่เราก็ยังให้การบริการตัดชุดที่มีเอกลักษณ์สำหรับลูกค้าของเรา)

การใช้กริยา Might เพื่อเน้นย้ำความคิดเห็นหรือกระตุ้นผู้ฟัง

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Might I just say, this has been a most wonderful evening.”
(ไม่อยากจะพูดเลยว่า นี้เป็นค่ำคืนที่วิเศษสุด)
• “Might I add that your time with us has been greatly appreciated.”
(สิ่งที่ฉันอยากจะเพิ่มเติมคือว่า ช่วงเวลาที่คุณอยู่กับเราช่างซาบซึ้งยิ่งนัก)

สำหรับโพสท์นี้ผมขอจบการใช้กริยาช่วย may กับ might ไว้เพียงแค่นี้ครับ โปรดติดตามหัวข้อถัดไป สวัสดีครับ

ปล. หากผู้รู้ท่านใดที่พบข้อผิดพลาด ยินดีรับคำแนะนำเพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องกันต่อไป


เรียบเรียงโดย
  • ติวเตอร์แบงค์
  • สถาบันติว PERFECT ซ.รามคำแหง 43/1
  • ติวเตอร์ประจำวิชา ENG, ENS, CEN2101, CEN2102, APR2101
  • ติดต่อติวเตอร์ โทร. 081-7269394 Line ID : sjbank
เอกสารอ้างอิง
  1. Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
  2. Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
  3. Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
  4. Raymond Murphy. 2019. English Grammar in Use, Cambridge University Press; 5 edition (24 Jan. 2019).
  5. Marianne Celce-Murcia (Author), Donna M. Brinton. 2013. Teaching English as a Second or Foreign Language. Cengage Learning, 4th edition.
  6. Peter Huring. 2016. Complete English Grammar Rules - Examples, Exceptions & Everything You Need to Master Proper Grammar by Farlex International.
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 30 ธ.ค. 2562