การใช้กริยา Modal Auxiliary Verbs : Could

นิยาม
ขอบเขตการใช้กริยาช่วย Could นั้น สามารถนำมาใช้ในกรณีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. เราใช้กริยา Could เป็นรูปอดีตของกริยา can
2. เราใช้กริยา Could เพื่อแสดงถึงความสามารถของคนหรือสิ่งต่าง ๆ ในอดีต
3. เราใช้กริยา Could เพื่อแสดงถึงความสุภาพในการขอร้องหรือเสนอความช่วยเหลือ
4. เราใช้กริยา Could เพื่อแสดงถึงความเป็นไปได้ที่ค่อนข้างน้อย
5. เราใช้กริยา Could เพื่อแสดงถึงการให้ขอคำแนะนำหรือเสนอคำแนะนำ
เป็นต้น

การใช้กริยา Could เพื่อบอกถึงความสามารถในอดีต

เมื่อเราต้องการแสดงถึงความสามารถของคนหรือสิ่งของ ว่าในอดีตนั้นมความสามารถทำอะไรได้บ้าง
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “When I was younger, I could run for 10 miles without breaking a sweat!”
(ตอนฉันหนุ่มกว่านี้ ฉันสามารถวิ่ง 10 ไมล์โดยเหงื่อไม่แตก)
• “She couldn’t read until she was nearly 12 years old.”
(หล่อนไม่สามารถอ่านได้ จนกระทั่งหล่อนมีอายุเกือบ 12 ขวบ)

การใช้กริยา Could เพื่อแสดงถึงสถานการณ์สมมุติ(Subjunctive Mood)
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I wish I could swim; it looks like so much fun.”
(ฉันปรารถนาว่าฉันสามารถว่ายน้ำได้ คงจะสนุกมาก)

การใช้กริยา Could เพื่อสร้างประโยคเงื่อนไข (Conditional sentences)

โครงสร้างประโยคเงื่อนไขรูปอดีต เราเรียกว่า เงื่อนไขชนิดที่ 2 หรือ Second Conditionals โดยเงื่อนไขชนิดนี้พูดถึงสิ่งที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย

โครงสร้างประโยคเงื่อนไขชนิดที่ 2
If + Past Simple Tense , Subject + would + Bare Infinitive  (สถานการณ์ที่จะไม่เกิดขึ้นจริง)
แต่ถ้าเป็นเงื่อนไขที่เกี่ยวกับความสามารถ เราจะใช้ could แทน would
If + Past Simple Tense , Subject + could + Bare Infinitive  (ความสามารถที่จะไม่เกิดขึ้นจริง)

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “If I got that promotion at work, I could finally afford a new car!”
(ถ้าฉันได้เลื่อนขั้นที่ทำงาน ฉันคงสามารถซื้อรถใหม่ได้ในที่สุด!)
• “If we moved to California, I could surf every day!”
(ถ้าเราได้ย้ายไปอยู่ที่แคลิฟอร์เนีย ฉันคงสามารถเล่นกระดานโต้คลื่นทุกวัน!)

กรณีเป็นโครงสร้างเงื่อนไขแบบผสม(mixed conditional)
If + Present Tense , Subject + could + Bare Infinitive  (ถ้าเงื่อนไขนั้นเป็นไปได้)
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “If I get some money from my parents, we could go to the movies.”
(ถ้าฉันได้เงินจากพ่อ-แม่ พวกเราสามารถไปดูหนัง)

การใช้กริยา Could เพื่อการขออนุญาต

เมื่อเราต้องการขออนุญาตทำบางสิ่ง การใช้ could จะสุภาพกว่า can
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Dad, could I spend the night at my friend’s house?”
(พ่อครับ ผมขออนุญาตไปบ้านเพื่อนตอนกลางคืนได้ไหม)
• “Could we invite Sarah to come with us?”
(พวกเราขออนุญาตเชิญซาร่ามากับเราด้วยได้ไหม)

การใช้กริยา Could เพื่อการขอร้อง

ตามที่ผมเคยได้อธิบายไว้แล้วว่า การขอร้องด้วย Could นั้นถือว่าเป็นการเพิ่มระดับความสุภาพขึ้นไปอีก
พิจารณาตัวอย่างประโยค
 • “Could you please be quiet?”
(โปรดเงียบเงียบหน่อยได้ไหม)
• “Could you help me with this assignment?”
(โปรดช่วยฉันทำงานนี้หน่อยได้ไหม)

ในขณะเดียวกันการขอร้องอย่างสุภาพนั้น เราสามารถใช้ would ได้เช่นกัน
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Would you ask Jeff to come over here?”
(รบกวนคุณช่วยบอกให้เจฟขยับมาที่นี่หน่อยจะได้ไหม)
• “Would Tina help me paint this fence?”
(รบกวนทีน่าช่วยฉันทาสีรั้วนี้หน่อยจะได้ไหม)

การใช้กริยา Could เพื่อเน้นย้ำสิ่งที่พูดอย่างสุภาพ (Rhetorical Device)

การเน้นย้ำความคิดเห็น นอกจากใช้ can ได้นั้น เราสามารถใช้ could เพื่อเพิ่มระดับความสุภาพขึ้นไปอีก โดยการสลับ could กับประธาน
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Could I just say, this has been a most wonderful evening.”
(อยากจะบอกคำเดียวว่า นี้เป็นยามเย็นที่วิเศษสุด)
• “Could I add that your time with us has been greatly appreciated.”
(ฉันอยากจะเสริมอย่างหนึ่งว่า ช่วงเวลาที่คุณอยู่กับเรามันช่างซาบซึ้งยิ่งนัก)

บางครั้ง การกระตุ้นผู้ฟังเราสามารถใช้กริยา let หรือ allow ได้เช่นเดียวกัน
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Let me clarify: this decision is in no way a reflection on the quality of your work.”
(ขอให้ฉันชี้แจงสักนิดเถอะว่า การตัดสินนี้ไม่มีทางที่จะสะท้อนปริมาณงานของคุณ)
• “Allow me to add, we were greatly impressed by your performance.”
(ขอให้ฉันเสริมสักนิดเถอะว่า พวกเราทึ่งมากกับการแสดงของคุณ)

การใช้กริยา Could เพื่อบอกความน่าจะเป็น
เรายังสามารถใช้ could บอกความน่าจะเป็นได้ ซึ่งไม่ได้แปลว่าความสามารถในอดีต ครับ
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I think it could rain any minute.”
(ฉันคิดว่าฝนน่าจะตกเร็ว ๆ นี้)
• “Be careful, you could hurt someone with that thing!”
(จงระวัง คุณอาจจะทำร้ายบางคนด้วยสิ่งนั้น!)
• “Answer the phone! It could be your father calling.”
(รับโทรศัพท์หน่อยสิ! น่าจะเป็นพ่อของคุณกำลังโทรมา)

การใช้กริยา Could เพื่อเสนอคำแนะนำ

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “We could go out for pizza after work on Friday.”
(พวกเราน่าจะออกไปกินพิซซ่าหลังจากงานในวันศุกร์)
• “I know it will be tricky to convince your parents, but you could try.”
(ฉันรู้ว่า มันจะยากที่จะทำให้พ่อ-แม่คุณเชื่อ แต่คุณควรพยายาม)

การใช้กริยา Could เพื่อบ่งบอกอารมณ์โกรธ

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “You could have told me that you didn’t want a party before I spent all this time and effort organizing one!”
(คุณน่าจะบอกฉันก่อนว่า คุณไม่อยากจัดงานเลี้ยง ก่อนที่ฉันเสียเวลาทั้งหมดนี้และลงแรงที่จะจัดงาน!)
• “My mother has traveled a long way to be here—you could try to look a little more pleased to see her!”
(แม่ของคุณเดิมทางมาไกลถึงที่นี่ คุณน่าจะแสดงความดีใจสักนิดที่ได้พบหล่อน!)

การใช้กริยา Could เพื่อให้ความช่วยเหลือ

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Could I give you a hand with dinner?”
(ขอให้ฉันช่วยคุณทำอาหารค่ำได้ไหม)
• “Could I give you a ride home?”
(ขอให้ฉันได้ขับรถไปส่งคุณที่บ้านได้ไหม)

การใช้กริยา Could เพื่อใช้เป็นคำถามประชดประชัน (Sarcastic or Rhetorical Questions)

ฝรั่งก็ประชดประชันเป็นนะครับ เมื่อเห็นว่ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือรับไม่ได้
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Danny, we’re going to be late! Could you walk any slower?”
(แดนนี่ เรากำลังจะไปสาย! คุณช่วยเดินให้ช้าลงหน่อยได้ไหม?)
• “Could you be any louder? I can barely hear myself think!”
(คุณช่วยทำเสียงดังขึ้นอีกได้ไหม ฉันแทบจะไม่ได้ยินว่าตัวเองคิดอะไร!)

สำหรับโพสท์นี้ก็คงจะจบการใช้กริยา could พอคร่าว ๆ เพียงแค่นี้ พบกันอีกในหัวข้อถัดไป สวัสดีครับ

เรียบเรียงโดย
  • ติวเตอร์แบงค์
  • สถาบันติว PERFECT ซ.รามคำแหง 43/1
  • ติวเตอร์ประจำวิชา ENG, ENS, CEN2101, CEN2102, APR2101
  • ติดต่อติวเตอร์ โทร. 081-7269394 Line ID : sjbank
เอกสารอ้างอิง
  1. Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
  2. Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
  3. Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
  4. Raymond Murphy. 2019. English Grammar in Use, Cambridge University Press; 5 edition (24 Jan. 2019).
  5. Marianne Celce-Murcia (Author), Donna M. Brinton. 2013. Teaching English as a Second or Foreign Language. Cengage Learning, 4th edition.
  6. Peter Huring. 2016. Complete English Grammar Rules - Examples, Exceptions & Everything You Need to Master Proper Grammar by Farlex International.
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 29 ธ.ค. 2562