หลังจากที่ได้พูดถึง will ไปเป็นตัวแรก ต่อมาก็จะพูดถึง การใช้ would กันต่อนะครับ นักศึกษาจะพบว่า ในบางกรณีเราสามารถใช้ Modal Auxiliary Verbs ทดแทนกันได้ เพื่อสร้างประโยคที่มีความหมายที่แตกต่างกันเล็กน้อย เช่น เราสามารถใช้ shall แทน will  เพื่อแสดงระดับความสุภาพ หรือ เราสามารถใช้ would แทน will ในประโยคขอร้องที่สุภาพขึ้นไปอีก เป็นต้น

การใช้ Modal Auxiliary Verbs : Would

นิยาม
เราสามารถใช้ would ได้หลายกรณีดังนี้
1. ใช้ would แทน will กับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต
2. ใช้ would เพื่อแสดงการเรียกร้อง หรือความต้องการ
3. ใช้ would กับสถานการณ์สมมุติ
4. ใช้ would เพื่อการเสนอแนะหรือขอคำแนะนำหรือขอความคิดเห็นอย่างสุภาพ

การใช้ would เพื่อสร้างประโยคที่เป็นอดีต (future tense in the past)
เมื่อเราจะพูดถึง สิ่งที่เราอยากจะทำในอดีต หรือ การคาดคะเนที่เกิดขึ้นในอดีต เราจะใช้ would แทน will
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I thought he would be here by now.”
(ฉันได้คิดว่าเขาจะอยู่ที่นี่ ณ ตอนนี้)
ประโยคนี้หมายความว่า การคาดคะเนว่าเขาจะอยู่ที่นี่ เป็นความคิดในอดีต

การใช้ would เพื่อบอก ความสามารถหรือความปราถนาสถานการณ์ในอดีต
โดยปกติมักจะใช้ในรูปปฏิเสธ
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “This darn washing machine wouldn’t turn on this morning.”
(เครื่องซักผ้านี้ ไม่สามารถทำงานได้เมื่อเช้านี้)
• “Mary wouldn’t come out of her room all weekend.”
(แมรี่ไม่อยากออกจากห้องของหล่อนตลอดสัปดาห์)

การใช้ would เพื่อบอกความน่าจะเป็นและความแน่นอน
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• A: “There was a man here just now asking about renting the spare room.”
(ได้มีผู้ชายคนหนึ่งที่นี่กำลังถามถึงการเช่าห้องที่ว่าง)
• B: “That would be Kenneth. He just moved here from Iowa.”
(คนนั้นน่าจะเป็น Kenneth เขาเพิ่งย้ายมาที่นี่จาก Iowa)

การใช้ would ในประโยคขอร้องอย่างสุภาพ
เราสามารถใช้ would เช่นเดียวกับ will ต่างตรงที่ would นั้นจะเพิ่มระดับความสุภาพเมื่อใช้เป็นประโยคคำถาม
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Would you please take out the garbage for me?”
(โปรดนำขยะนั้นไปทิ้งให้ฉันหน่อยได้ไหม)
• “Would John mind helping me clean out the garage?”
(จอห์นโปรดช่วยฉันทำความสะอาดโรงรถหน่อยได้ไหม)

การใช้ would เพื่อบอกความปราถนา
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I would like to go to the movies later.”
(ฉันอยากจะไปดูหนังในภายหลัง)
• “Where would you like to go for your birthday?”
(คุณอยากไปที่ไหนสำหรับวันเกิดของคุณ)
• “I would not care to live in a hot climate.”
(ฉันไม่อยากอาศัยในสภาพอากาศร้อน)
• “Would you care to have dinner with me later?”
(อยากให้คุณมาทานอาหารค่ำกับฉันในภายหลังหน่อยได้ไหม)
หมายเหตุ
ในการตั้งคำถาม ว่าอยากจะได้สิ่งใด ถ้าเราใช้ like เป็นกริยาหลัก มักจะตามด้วยคำนาม หรือวลีบอกคำนาม แต่ถ้าเราจะใช้ care เป็นกริยาหลัก จะต้องตามด้วย บุพบท for
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Would you like a cup of tea?” (like + คำนาม)
(คุณอยากจะรับกาแฟสักถ้วยไหม)
• “He would like the steak, and I will have the lobster.”
(เขาอยากกินเนื้อย่าง และฉันจะกินกุ้งก้ามกราม)
• “Ask your friends if they would care for some snacks.”
(ช่วยถามเพื่อนของคุณหน่อยว่า พวกเขาอยากได้อาหารว่างไหม)

การใช้ would that แสดงความปรารถนา
เราอาจจะเคยเห็นมีการใช้ would + that clause เพื่อแสดงถึงสถานการณ์สมมุติที่ปรารถนาให้เป็นจริง
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Would that we lived near the sea.”
(ปรารถนาให้พวกเราอยู่ใกล้ทะเล)
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• นาย A: “Life would be so much easier if we won the lottery.”
(ชีวิตคงจะสบายกว่ามาก ถ้าพวกเราถูกล๊อตเตอร์รี่)
• นาย B: “Would that it were so!”
(หวังว่าคงเป็นเช่นนั้น)
หมายเหตุ
การใช้ would that มักจะพบในงานเขียนหรือการพูดที่มีความเป็นทางการมากหรือในงานวรรณคดี

การใช้ would เพื่อแสดงถึงการชอบมากกว่า
.ในกรณีนี้ เราจะใช้ would ตามด้วย กริยาวิเศษณ์ (Adverb) rather และ sooner เพื่อบอกถึงการชอบมากกว่าของคนในบางสิ่ง

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “There are a lot of fancy meals on the menu, but I would rather have a hamburger.”
(มีอาหารน่ากินมากมายบนรายการอาหาร แต่ฉันอยากจะกินแฮมเบอร์เกอร์มากกว่า)

• “They would sooner go bankrupt than sell the family home.”
(พวกเขาอยากจะปล่อยให้ล้มละลาย ดีกว่าขายบ้านครอบครัว)
would rather หมายถึง ชอบสิ่งหนึ่งมากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง
would sooner หมายถึง ชอบสิ่งหนึ่งมากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง อย่างทันที

• “Would you rather go biking or go for a hike?”
(คุณอยากจะไปขี่จักรยาน หรือไปไต่เขา)

การใช้ would กับประโยคเงื่อนไข (Conditional sentences)
เราสามารถนำ would มาสร้างเป็นประโยคเงื่อนไข ที่เรียกว่า Second Conditionals (เงื่อนไขแบบที่ 2) ซึ่งเงื่อนชนิดที่ 2 ใช้กับสถานการณ์ที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้หรือไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย เป็นเพียงสถานการณ์ที่สมมุติขึ้นเท่านั้น

โครงสร้างประโยคเงื่อนไขแบบที่ 2 คือ
เงื่อนไข If + Past Simple Tense
ผลของเงื่อนไข S + would + Bare Infinitive

ตัวอย่างประโยคเงื่อนไข แบบที่ 2
• “If I went to Bangkok, I would visit Siam Paragon.”
(ถ้าฉันได้ไปกรุงเทพ ฉันจะไปเที่ยวสยามพารากอน)
• “I would buy a yacht if I ever won the lottery.”
(ฉันจะซื้อเรือยอชท์ ถ้าฉันเคยถูกล๊อตเตอร์รี่)

สำหรับเงื่อนไขแบบที่ 2 นั้น พูดถึงสถานการณ์ ที่ไม่สามารถเป็นจริงได้ เป็นแค่การสมมุติเท่านั้นครับ

การใช้ would กับสถานการณ์สมมุติ
เราสามารถใช้ would กับสถานการณ์ที่เป็นไปได้ที่เราสามารถจิตนาการว่าจะเกิดขึ้น โดยไม่ใช้ if
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “She would join your study group, but she doesn’t have any free time after school.”
(หล่อนสามารถที่จะเข้าร่วมกลุ่มเรียนของคุณได้ แต่ว่าหล่อนไม่มีเวลาว่างหลังจากเรียน)

การใช้ would กับการแสดงความคิดเห็นอย่างสุภาพ
• “I would expect that the board of directors will be pleased with this offer.”
(ฉันคาดว่าคณะกรรมการจะยินดีกับข้อเสนอนี้)
การใช้ would เพื่อถามความคิดเห็นอย่างสุภาพ
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Where would be a good place to travel this summer?”
(ช่วยแนะนำหน่อยว่ามีสถานดี ๆ ที่ไหนบ้างที่น่าเที่ยวช่วงฤดูร้อนนี้)

การใช้ would เพื่อถามเหตุผล
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Why would my brother lie to me?”
(พี่ชายฉันจะโกหกฉันเพราะอะไร?)/เหตุใดพี่ชายจึงโกหกฉัน?
• “Why would they expect you to know that?”
(เหตุใด พวกเขาถึงคาดหวังให้คุณรู้เรื่องนั้น)

บางกรณีเราสามารถใช้ would เพื่อถามหรือการกล่าวหา ว่าไม่มีเหตุผล
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Why would I try to hide anything from you?”
(เหตุใดที่ฉันพยายามซ่อนบางสิ่งจากคุณ?) แปลว่า ไม่มีเหตุผลเลยที่ฉันจะซ่อนสิ่งนั้นจากคุณ
• “Why would we give up now, when we’ve come so close to succeeding?”
(เหตุใดที่เราจะยอมแพ้ตอนนี้ เมื่อเราได้มาใกล้ความสำเร็จมากแล้ว?)
แปลว่า ไม่มีเหตุผลเลยที่จะล้มเลิกตอนนี้

การใช้ would เพื่อเสนอข้อแนะนำอย่างสุภาพ
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I would apologize to the boss if I were you.”
(ฉันจะขอโทษหัวหน้า ถ้าฉันเป็นคุณ)
• “I would talk to her tonight; there’s no point in waiting until tomorrow.”
(ฉันควรจะพูดกับหล่อนคืนนี้ ไม่มีเหตุผลที่จะรอถึงพรุ่งนี้)

• “I think you would be wise to be more careful with your money.”
(ฉันคิดว่าคุณฉลาดพอที่จะระมัดระวังกับเงินของคุณมากขึ้น)
หมายเหตุ
โดยปกติ เมื่อพูดถึงการเสนอคำแนะนำ จะใช้
you would be wise to do something
หรือ
you would be smart to do something

การใช้ Modal Verbs แทนกัน

นอกจากเราจะใช้ would ในโครงสร้างประโยคเงื่อนไขแบบที่ 2 (Second Conditionals) เพื่อแสดงความหมายว่าจะทำอะไรแล้ว เรายังสามารถใช้ could เพื่อแสดงถึงความสามารถ หรือ ใช้ might เพื่อบอกความเป็นไปได้
พิจารณาตัวอย่างประโยคเงื่อนไขแบบที่ 2 (Second Conditionals)
• “If I won the lottery, I could buy a new house.”
(ถ้าฉันถูกล๊อตเตอร์รี่ ฉันสามารถซื้อบ้านใหม่ได้)
• “If I were older, I might stay up all night long.”
(ถ้าฉันอายุมากขึ้น ฉันอาจจะได้นอนหลับสนิททั้งคืน)
หมายเหตุ
ใน British  English มักจะใช้ should แทน would เพื่อเพิ่มความสุภาพหรือความเป็นทางการ
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I should apologize to the boss if I were you.” (คำแนะนำแบบสุภาพ)
(ฉันควรขอโทษต่อหัวหน้า ถ้าฉันเป็นคุณ)
• “I should like a poached egg for breakfast.” (ความปรารถนา)
(ฉันชอบกินไข่ยางมะตูมเป็นอาหารเช้า)

สำหรับหัวข้อนี้ นักศึกษาพอจะเข้าใจว่า การใช้ would นั้น สามารถนำไปใช้ได้กี่กรณี สวัสดีครับ
เรียบเรียงโดย
  • ติวเตอร์แบงค์
  • สถาบันติว PERFECT ซ.รามคำแหง 43/1
  • ติวเตอร์ประจำวิชา ENG, ENS, CEN2101, CEN2102, APR2101
  • ติดต่อติวเตอร์ โทร. 081-7269394 Line ID : sjbank
เอกสารอ้างอิง
  1. Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
  2. Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
  3. Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
  4. Raymond Murphy. 2019. English Grammar in Use, Cambridge University Press; 5 edition (24 Jan. 2019).
  5. Marianne Celce-Murcia (Author), Donna M. Brinton. 2013. Teaching English as a Second or Foreign Language. Cengage Learning, 4th edition.
  6. Peter Huring. 2016. Complete English Grammar Rules - Examples, Exceptions & Everything You Need to Master Proper Grammar by Farlex International.
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 24 ธ.ค. 2562