มาถึงตอนนี้นักศึกษามาดูการบอกความหมายของ Modal Auxiliary Verbs ในแง่มุมต่าง ๆ พร้อมคำอธิบาย ว่าในแต่ละกรณีนั้นให้ความหมายที่แตกต่างกันอย่างไร

ตัวอย่างการใช้ Modal Auxiliary Verbs เบื้องต้น

พิจารณาตัวอย่างประโยคที่ 1
■ “I will go to college in the fall.”
(ฉันจะเข้าเรียนวิทยาลัยในภาค fall)  **Fall Semester ช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม
ประโยคนี้ใช้ will หมายความว่า ฉันได้ทำการตัดสินใจไว้แล้วว่าจะเข้าเรียน

พิจารณาตัวอย่างประโยคที่ 2
■ “I shall go to college in the fall.”
ประโยคนี้ ใช้ shall จะเป็นการกล่าวที่มีลักษณะเป็นทางการขึ้นอีก เป็นเน้นว่าเป็นไปได้ต่อการตัดสินใจของคนว่าจะทำสิ่งนั้น (พบในภาษากฎหมาย)

พิจารณาตัวอย่างประโยคที่ 3
■ “I would go to college in the fall.”
ประโยคนี้ใช้ would ซึ่งเป็นรูปอดีตของ will หมายความว่า ฉันเคยได้วางแผนว่าจะเข้าเรียนวิทยาลัย แต่มีบางสิ่งมาขัดขวางทำให้ฉันไม่ได้เข้าเรียน (พูดถึงสิ่งที่คิดจะทำในอดีตแต่ไม่ได้ทำ)

พิจารณาตัวอย่างประโยคที่ 4
■ “I should go to college in the fall.”
(ฉันควรเข้าเรียนวิทยาลัยในภาค fall)
ประโยคนี้ ใช้ should เพื่อเป็นการบอกว่า เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว หรือเหมาะสมแล้ว ที่ฉันควรจะเข้าเรียนวิทยาลัย

พิจารณาตัวอย่างประโยคที่ 5
■ “I can go to college in the fall.”
ประโยคนี้ใช้ can หมายความว่า ฉันมีความสามารถที่จะเข้าเรียนวิทยาลัยได้

พิจารณาตัวอย่างประโยคที่ 6
■ “I could go to college in the fall.”
ประโยคนี้ใช้ could หมายความว่า ฉันมีความสามารถที่จะเข้าเรียนวิทยาลัยได้ แต่ว่าไม่ได้ตัดสินใจทำ

พิจารณาตัวอย่างประโยคที่ 7
■ “I may go to college in the fall.”
(ฉันอาจจะเข้าเรียนวิทยาลัยในภาค fall)
ประโยคนี้ใช้ may หมายความว่า เป็นไปได้ที่ฉันจะเข้าเรียน แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจ

พิจารณาตัวอย่างประโยคที่ 8
■ “I might go to college in the fall.”
(ฉันอาจจะเข้าเรียนวิทยาลัยในภาค fall)
ประโยคนี้ใช้ might หมายความว่า เป็นไปได้ที่ฉันจะเข้าเรียน แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจ

พิจารณาตัวอย่างประโยคที่ 9
■ “I must go to college in the fall.”
(ฉันต้องเข้าเรียนวิทยาลัยในภาค fall)
ประโยคนี้ ใช้ must หมายความว่า ฉันต้องเข้าเรียน แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจ

พิจารณาตัวอย่างประโยคที่ 10
■ “Will we spend the summer in Florida?”
(พวกเราจะใช้เวลาช่วงฤดูร้อนในฟลอริด้ากันไหม)
ประโยคนี้ใช้ will หมายความว่า มีแผนในอนาคตที่จะใช้เวลาช่วงฤดูร้อนในฟลอริด้าไหม

พิจารณาตัวอย่างประโยคที่ 11
■ “Shall we spend the summer in Florida?”
ประโยคนี้ใช้ shall เป็นการถามที่มีลักษณะที่เป็นทางการกว่าประโยคที่ 10

พิจารณาตัวอย่างประโยคที่ 12
■ “Would we spend the summer in Florida?”
ประโยคนี้ใช้ would หมายความว่า ได้เคยมีแผนที่จะใช้เวลาช่วงฤดูร้อนในฟลอริด้ากันบ้างไหม

พิจารณาตัวอย่างประโยคที่ 13
■ “Should we spend the summer in Florida?”
(พวกเราควรใช้เวลาช่วงฤดูร้อนในฟลอริด้ากันไหม)
ประโยคนี้ใช้ should เป็นการถามว่า มันถูกต้องไหมหรือดีกว่าไหม ที่จะทำอย่างนั้น

พิจารณาตัวอย่างประโยคที่ 14
■ “Can we spend the summer in Florida?”
(พวกเราขออนุญาตใช้เวลาช่วงฤดูร้อนในฟลอริด้าได้ไหม)
ประโยคนี้ใช้ can มีความหมายว่า ขออนุญาตทำหรือสามารถที่จะทำสิ่งนั้นได้ไหม
มีความหมายเดียวกับประโยคต่อไปนี้
Can we have permission to spend the summer in Florida?
Are we able to spend the summer in Florida?

พิจารณาตัวอย่างประโยคที่ 15
■ “Could we spend the summer in Florida?”
ประโยคนี้ใช้ could มีความหมายเหมือนประโยคที่ 14 แต่เป็นการขออนุญาตที่สุภาพขึ้นไปอีกเล็กน้อย

พิจารณาตัวอย่างประโยคที่ 16
■ “May we spend the summer in Florida?”
ประโยคนี้ใช้ may ถือว่าเป็นการขออนุญาตที่เป็นทางการและสุภาพกว่าประโยคที่ 14 และ 15

พิจารณาตัวอย่างประโยคที่ 17
■ “Might we spend the summer in Florida?”
ประโยคนี้ใช้ might เป็นการขออนุญาตเช่นกัน แต่มีลักษณะที่เป็นทางการมากจนเกินไป (Overly formal way)

พิจารณาตัวอย่างประโยคที่ 18
■ “Must we spend the summer in Florida?”
(พวกเราจำเป็นต้องใช้เวลาช่วงฤดูร้อนในฟลอริด้าไหม)
ประโยคนี้ใช้ must มีความหมายที่เป็นทางการมาก ในการถามว่ามีความจำเป็นหรือต้องทำหรือไม่

จากตัวอย่างเบื้องต้น นักศึกษาจะพบว่า การใช้ Modal Auxiliary Verbs นั้น มีความหมายที่คล้ายกันมาก ซึ่งจะได้ลงรายละเอียดในหัวข้อถัดไป

การละกริยาหลัก (Omitting main verbs)

จากหัวข้อที่แล้ว ผมเคยบอกว่า Modal Verb นั้น จะต้องมีกริยาหลักตามหลังเสมอ ไม่สามารถอยู่แบบตัวเดียวได้ แต่ในบางกรณีจะมีการละกริยาหลักไว้ ในฐานะเข้าใจโดยบริบท
พิจารณาตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
• “I’d like to switch my major to mathematics, but I’m not sure I can.”
(ฉันอยากจะสับเปลี่ยนวิชาเอกของฉันไปเป็นคณิตศาสตร์ แต่ฉันไม่แน่ใจว่าฉันจะสามารถทำได้หรือไม่)
สังเกตว่าประโยคท้ายมีการละกริยาหลักไว้ เพราะว่าได้ระบุไว้แล้ว คือ กริยา switch
but I’m not sure I can switch

การใช้กริยาวิเศษณ์(Adverb) กับ Modal Verb

ในการพูดโดยทั่วไป เราจะใช้กริยาวิเศษณ์(Adverb)วางไว้หลังModal Verb และจะวางไว้ก่อนหรือหลังกริยาหลักก็ได้ บางครั้งการวาง Adverb ไว้หน้า Modal Verb ถือว่าไม่ถูกต้อง ดังนั้นนิยมวางไว้หลังจะดีกว่า
พิจารณาตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
“You only must read this chapter.”
“You must only read this chapter.”
“You easily could win the race.” (ใช้ได้แต่ไม่นิยม)
“You could easily win the race.”
“You could win the race easily.”
อย่างไรก็ตาม ยังไม่ถือว่าเป็นกฎที่เคร่งครัด ยังมีกริยาวิเศษณ์(Adverb) บางคำที่วางไว้หน้า Modal Verbได้
พิจารณาตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
“You really should see the new movie.”
“You should really see the new movie.”
“I definitely will try to make it to the party.”
“I will definitely try to make it to the party.”
เมื่อมีการปฏิเสธ
พิจารณาตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
“I can’t definitely go out tonight.”
“I definitely can’t go out tonight.”
“He must not absolutely travel alone.”
“He absolutely must not travel alone.”
เราจะสังเกตเห็นว่า ในบางกรณีนั้น จะต้องวาง กริยาวิเศษณ์(Adverb) ไว้หน้า Modal Verb

การวางตำแหน่ง Modal Verb ร่วมกับกริยาช่วยอื่น

จากข้อควรจำไว้สำหรับ Modal Verb ที่ผมเคยบอกไว้แล้วว่า
1. Modal Verb จะต้องวางไว้หน้า Main Verb เสมอ หรือวางไว้หน้ากริยา be หรือ have กรณีเป็น Tense
2. ห้ามนำ Modal Verb นำหน้า Modal Verb ด้วยกัน
พิจารณาตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
“We might move  to Spain.”
“We might be moving to Spain.”
Do you can go?” (กรณีนี้ can เป็นกริยาช่วยอยู่แล้ว ไม่ต้องมี do เข้ามาช่วย)
Can you go?”
“I must will finish this before lunch.” (ห้ามวาง Modal Verb ซ้อนกัน)
“I must finish this before lunch.”
“I will finish this before lunch.”

สำหรับโพสท์นี้คงจะได้ประมาณนี้ครับ หัวข้อต่อ ๆ ไป ก็จะลงรายละเอียดการใช้ Modal Verb แต่ละชนิด หรือ ทุกกรณีที่เกี่ยวกับการใช้ Modal Verb สวัสดีครับ

เรียบเรียงโดย
  • ติวเตอร์แบงค์
  • สถาบันติว PERFECT ซ.รามคำแหง 43/1
  • ติวเตอร์ประจำวิชา ENG, ENS, CEN2101, CEN2102, APR2101
  • ติดต่อติวเตอร์ โทร. 081-7269394 Line ID : sjbank
เอกสารอ้างอิง
  1. Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
  2. Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
  3. Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
  4. Raymond Murphy. 2019. English Grammar in Use, Cambridge University Press; 5 edition (24 Jan. 2019).
  5. Marianne Celce-Murcia (Author), Donna M. Brinton. 2013. Teaching English as a Second or Foreign Language. Cengage Learning, 4th edition.
  6. Peter Huring. 2016. Complete English Grammar Rules - Examples, Exceptions & Everything You Need to Master Proper Grammar by Farlex International.
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 21 ธ.ค. 2562