เรื่องกริยา ก็มาถึงเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งก็คือ กริยาช่วยอีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า Modal Auxiliary Verbs ที่มีความสำคัญมากและมีการใช้หลายรูปแบบ เป็นอย่างไรนั้น โปรดช่วยกันอ่านนะครับ

กริยาช่วยประเภท Modal Auxiliary Verbs

นิยาม
Modal Auxiliary Verbs บางตำราเรียก Modal Verb บางตำราเรียกสั้น ๆว่า Modal
คือกริยาที่มาใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงความหมายของกริยาอื่น ๆ ซึ่งกริยาอื่น ในที่นี้หมายถึงกริยาหลัก หรือ Main Verb นั่นเองครับ
Modal Auxiliary Verbs นำมาใช้เพื่อแสดงทัศนคติของผู้พูด หรือเรียกว่า Modality
Modal Auxiliary Verbs นำมาใช้บอกสิ่งต่อไปนี้
1. บอกความเชื่อมั่น หรือเรียกว่า Asserting หรือเป็นการปฏิเสธความเชื่อมั่นก็ได้
2. บอกความเป็นไปได้ หรือ Possibility
3. บอกความน่าจะเป็น หรือ Likelihood
4. บอกความสามารถ หรือ Ability
5. บอกการอนุญาต หรือ Permission
6. บอกความจำเป็นที่ต้องทำ หรือ Obligation
7. บอกเจตนาในอนาคต หรือ Future intention
นักศึกษาจะเห็นได้ว่า กริยากลุ่ม Modal สามารถนำไปใช้ได้หลายกรณี ที่สำคัญกริยากลุ่มนี้ จะไม่เปลี่ยนรูปตามประธานหรือ Tense และไม่สามารถทำเป็นรูป Infinitive และ Participle ได้
Modal Auxiliary Verbs จะต้องตามหลังด้วยกริยาหลักที่อยู่ในรูปเดิม(Base Form) ได้เท่านั้น นอกจากนั้นไม่สามารถนำไปใช้ได้ เช่น ตามด้วย Modal ด้วยกันไม่ได้ ตามด้วยคำนามไม่ได้ ตามด้วยกริยาช่วยไม่ได้ หรือ จะอยู่แบบตัวเดียวลำพังก็ไม่ได้ เป็นต้น
นอกจากนี้ Modal Auxiliary Verbs สามารถสร้างประโยคปฏิเสธและประโยคคำถามได้

ชนิดของ Modal Auxiliary Verbs
Modal Auxiliary Verbs ที่แท้จริง มี 9 ตัว คือ will, shall, would, should, can, could, may, might, must
Semi-modal auxiliary verbs มี 4 ตัว คื dare, need, used to, ought to

Will

สำหรับ will นั้น สามารถนำไปใช้ได้กว้าง สามารถทำหน้าที่และบอกความหมายที่แตกต่างกันได้หลายกรณี เช่น
ใช้สำหรับสร้าง Future Tense
ใช้บอกความเต็มใจ หรือ บอกความสามารถ
ใช้บอกการร้องขอ หรือ ข้อเสนอ
ใช้สร้างประโยคเงื่อนไข
ใช้บอกความน่าจะเป็น
ใช้บอกคำสั่ง

Shall

สำหรับ shall นั้น มีลักษณะการใช้เหมือน ๆ กับ will
ใช้ shall กับประโยคที่บอกระดับความสุภาพหรือความเป็นทางการ ซึ่งบางกรณีอาจจะใช้ will ไม่ได้
เราจะใช้ shall กับประธาน I หรือ We ได้เท่านั้น แต่ก็ไม่ใช่กฎที่ตายตัวเสมอไป

Would

สำหรับ would นั้น
เราจะใช้ would แทน will สำหรับเหตุการณ์ในอดีต
ในบางกรณีเราจะใช้ would แทน will เพื่อบอกความเป็นทางการหรือความสุภาพขึ้นไปอีก
ใช้ would ใช้บอกการขอร้องและความปรารถนา
ใช้ would บรรยายเหตุการสมมุติ
ใช้ would บอกข้อเสนอหรือการร้องขอคำแนะนำ ความคิดเห็น

Should

สำหรับ should จะใช้บอก
สิ่งที่ควรทำหรือบอกหน้าที่อย่างสุภาพ
เมื่อต้องการคำแนะนำ
บรรยายถึงการคาดหวัง
สร้างประโยคเงื่อนไข
ใช้ในกรณีอื่น ๆ อีก โดยเฉพาะใน British English ซึ่งโดยทั่วไปไม่มีใน American English

Can

สำหรับ can นั้น
ใช้บอกถึงความสามารถของคนหรือสิ่งของ
ใช้บอกถึงการขออนุญาต
ใช้บอกความเป็นไปได้กับสิ่งที่จะเกิดขึ้น
ใช้บอกการร้องขอ หรือ การให้ข้อเสนอ

Could

สำหรับ could นั้น
ใช้เป็นรูปอดีต ของ can
แสดงถึงสิ่งที่สามารถทำได้ในอดีต
แสดงถึงการขออนุญาตอย่างสุภาพ
แสดงถึงสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้
แสดงถึงการให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะ

May

สำหรับ may นั้น
ใช้แสดงการขอร้อง ขออนุญาต
ใช้แสดงเพื่อเสนอให้คนบางคนทำสิ่งหนึ่ง
ใช้บอกความเป็นไปได้กับสิ่งที่จะเกิดขึ้น
ใช้แสดงความปรารถนาในอนาคต
ใช้ may เป็นตัวโน้มน้าวผู้ฟัง หรือเรียกว่า Rhetorical Device

Might

สำหรับ might นั้น
ใช้บอกความเป็นไปได้ที่ไม่แน่นอน
ใช้ในประโยคการขออนุญาตที่สุภาพและเป็นทางการมาก ๆ
ใช้ might เป็นรูปอดีตของ may
ใช้ might เพื่อให้คำแนะนำ

Must

สำหรับ must นั้น
ใช้ must บอกความจำเป็นต่อสิ่งที่ต้องเกิดหรือต้องเป็น
ใช้ must บอกว่าบางสิ่งเกิดขึ้นหรือเป็นจริงค่อนข้างแน่นอน

นักศึกษาจะสังเกตเห็นว่า Modal Verbs  นั้น ใน 1 คำ สามารถใช้ได้หลายกรณี และมีความหมายที่เฉพาะ ไม่ได้มีความหมายเดียว ขึ้นอยู่กับลักษณะบริบทการใช้ ผมยกตัวอย่าง คำว่า can ไม่ได้แปลว่า สามารถเสมอไป ดังนั้น นักศึกษาจะต้องจำเป็นกรณี ๆ ไป ว่าควรใช้คำไหน และในบางกรณีสามารถใช้แทนกันได้อีกด้วยครับ ซึ่งผมจะยกตัวอย่างกรณีต่าง ๆ พร้อมทั้งอธิบาย เป็นลำดับต่อไป


เรียบเรียงโดย
  • ติวเตอร์แบงค์
  • สถาบันติว PERFECT ซ.รามคำแหง 43/1
  • ติวเตอร์ประจำวิชา ENG, ENS, CEN2101, CEN2102, APR2101
  • ติดต่อติวเตอร์ โทร. 081-7269394 Line ID : sjbank
เอกสารอ้างอิง
  1. Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
  2. Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
  3. Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
  4. Raymond Murphy. 2019. English Grammar in Use, Cambridge University Press; 5 edition (24 Jan. 2019).
  5. Marianne Celce-Murcia (Author), Donna M. Brinton. 2013. Teaching English as a Second or Foreign Language. Cengage Learning, 4th edition.
  6. Peter Huring. 2016. Complete English Grammar Rules - Examples, Exceptions & Everything You Need to Master Proper Grammar by Farlex International.
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 20 ธ.ค. 2562