สวัสดีครับ นักศึกษา ผมก็จะขยายความ ต่อจากครั้งที่แล้วเพื่อให้นักศึกษามองเห็นภาพชัดมากขึ้นเกี่ยวกับการใช้กริยาช่วยในกรณีต่าง ๆ

การสร้างประโยคปฏิเสธด้วย "not" กรณี Simple Present Tense กับ Simple Past Tense

ในกรณีที่ Tense นั้น ไม่มีกริยาช่วย เมื่อจะปฏิเสธให้ใช้ do หรือ does เข้ามาสร้างประโยค
ยกตัวอย่างประโยค
• “I work on the weekends.” (simple present tense)
(ฉันทำงานในสุดสัปดาห์)
“I work not on the weekends.”
“I do not work on the weekends.” (ฉันไม่ทำงานในสุดสัปดาห์)

• “She lives in the city.” (หล่อนอาศัยในเมือง)
“She lives not in the city.”
“She does not live in the city.” (หล่อนไม่อาศัยในเมือง)
สังเกตว่า do จะเปลี่ยนรูปเมื่อประธานเป็น บุรุษที่ 3 เอกพจน์ ส่วนกริยาหลัก ก็จะเปลี่ยนไปเป็นรูปเดิม

• “He studied in Europe.” (simple past tense)
(เขาได้ศึกษาในยุโรป)
“He studied not in Europe.”
“He did not study in Europe.”
(เขาไม่ได้ศึกษาในยุโรป)
ใช้ did not เข้ามาช่วยปฏิเสธ ในกรณีเป็น simple past tense

การสร้างประโยคปฏิเสธด้วย "not" กรณีเป็น Tense อื่น ๆ

•  “I am working later.” (present continuous tense)
•  “I am not working later.”

•  “She had been living there for a month.”  (past perfect continuous tense)
•  “She hadn’t been living there for a month.”

•  “They will have been writing their dissertations for almost a year.” (future perfect continuous tense)
• “They will not have been writing their dissertations for almost a year.”
จะสังเกตเห็นว่า เราจะวาง not ไว้หลังกริยาช่วยตัวที่อยู่ใกล้ที่สุดกับประธาน

ข้อผิดพลาดในการใช้ have not
นักศึกษาต้องจำไว้เสมอว่า เราจะใช้ do not หรือ does not  กรณี Present Simple Tense เสมอ
ยกตัวอย่างประโยค
•  “I have a dog.” (ฉันมีสุนัข 1 ตัว)
“I haven’t a dog.”
“I don’t have a dog.”
“She hasn’t a cat.”
“She doesn’t have a cat.”
เนื่องจาก กริยา have / has แปลว่า "เป็นเจ้าของ" และเป็นกริยาหลักของประโยค ในรูปปฏิเสธต้องนำกริยา do หรือ does เข้ามาช่วยเสมอ

ยกตัวอย่างประโยค กรณีเป็น Past Simple Tense
•  “I had a car.” (ฉันได้มีรถ 1 คัน)
“I hadn’t a car.”
“I didn’t have a car.”
สังเกตว่า รูปอดีตใช้ did not ในขณะที่ had เปลี่ยนกลับไปสู่รูปเดิม คือ have

การปฏิเสธ have กับ have got
ในภาษาอังกฤษ การบอกว่า มี หรือ ครอบครอง สามารถใช้ได้ทั้ง have กับ have got แต่การใช้ have got เป็นทางการน้อยกว่า และสามารถใช้แทนกันได้แม้ว่าจะไม่ทุกกรณี
ยกตัวอย่างประโยค
• “He has got an idea about what happened.” (present simple tense)
(เขามีแนวคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เกิดขึ้น)
• “He hasn’t got an idea about what happened.” (รูปปฏิเสธ)
จากตัวอย่าง กริยา has ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วยในประโยค เราสามารถใช้ not วางหลังกริยาช่วยได้เลย
• “They’ve got a plan to increase sales.”
(พวกเขามีแผนที่จะเพิ่มยอดขาย)
•  “They haven’t got a plan to increase sales.”

การนำกริยาช่วยมาสร้างเป็นประโยคคำถาม

1. ใช้กริยา do มาช่วยสร้างประโยคคำถาม
กรณีเป็น present simple tense
ยกตัวอย่างประโยค
•  “John works across town.”
•  “Does John work across town?”
กรณีเป็น past simple tense
ยกตัวอย่างประโยค
• “They lived in an apartment.”
• “Did they live in an apartment?”

2. การใชกริยา be และ have กับ Tense อื่น ๆ
Present continuous tense:
• “John is working across town.” (ประโยคบอกเล่า)
• “Is John working across town?” (ประโยคคำถาม)

Past continuous tense:
• “John was working across town.” (ประโยคบอกเล่า)
• “Was John working across town?” (ประโยคคำถาม)

Present perfect tense:
• “John has worked across town for a long time.” (ประโยคบอกเล่า)
• “Has John worked across town for a long time?” (ประโยคคำถาม)

Past perfect tense:
• “John had worked across town for a long time.” (ประโยคบอกเล่า)
• “Had John worked across town for a long time?” (ประโยคคำถาม)

Present perfect continuous tense:
• “John has been working across town for a long time.” (ประโยคบอกเล่า)
• “Has John been working across town for a long time?” (ประโยคคำถาม)

Past perfect continuous tense:
• “John had been working across town for a long time.” (ประโยคบอกเล่า)
• “Had John been working across town for a long time?” (ประโยคคำถาม)

การใช้ที่ผิดพลาดกับ have
จากที่ผมเคยยกตัวอย่างมาแล้วว่า ในการสลับกริยา have กับประธานนั้น จะใช้ได้เมื่อ กริยา have ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วย แต่ถ้ากริยา have ทำหน้าที่เป็นกริยาหลัก เราจะต้องใช้กริยา do มาช่วยในการสร้างเป็นประโยคคำถาม
ยกตัวอย่างประโยค
• “You had a car when you lived in London.” (ประโยคบอกเล่า)
(คุณได้มีรถ 1 คัน ตอนที่คุณอาศัยอยู่ในกรุงลอนดอน)
“Had you a car when you lived in London?”
Did you have a car when you lived in London?” (ประโยคคำถาม)

การสลับตำแหน่งของกริยา be กรณี be เป็นกริยาหลัก
เรื่องนี้ถือว่า เป็นกรณียกเว้นเมื่อกริยา be เป็นกริยาหลัก หรือทำหน้าที่เป็นกริยาเชื่อม (Linking Verb) การเปลี่ยนเป็นประโยคคำถาม ไม่ต้องใช้ do หรือ does เข้ามาช่วย
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I am cold.” (ประโยคบอกเล่า)
(ฉันหนาว)
“Do you be cold?”
Are you cold?” (ประโยคคำถาม)
(คุณหนาวไหม)
• “They were all present.” (ประโยคบอกเล่า)
(พวกเขาอยู่ทั้งหมด)
“Did they be all present?” 
Were they all present?” (ประโยคบอกเล่า)

กรณีใช้กับคำถามชนิดอื่น รูปแบบการสลับก็เหมือนเดิม
• “Why are you cold?”
• “When were they all present?”
• “Who is attending the party?”

การใช้กริยา do เพื่อสร้างประโยคที่เน้นความชัดเจน (emphatic sentences)

นอกจากเราใช้กริยา do ในการสร้างประโยคคำถามแล้ว เราสามารถใช้กริยา do เป็นกริยาช่วยเพื่อสร้างประโยคที่เน้นย้ำการกระทำ หรือที่เรียกว่า emphatic mood
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I washed the dishes.” (ประโยคไม่เน้น)
(ฉันได้ล้างจานนั้น)
• “I did wash the dishes.” (ประโยคเน้นความชัดเจน)
(ฉันได้ล้างจานนั้น)
กรณีนี้เราใช้ did เข้ามาช่วย ส่วนกริยาหลักเปลี่ยนไปเป็นรูปเดิม ความหมายของประโยคยังคงเดิม แต่เป็นการเน้นให้ทราบว่า ผู้พูดเป็นผู้ทำสิ่งนั้นอย่างแน่นอน
• “He looks like an honest man.” (ประโยคไม่เน้น)
(เขาดูเป็นผู้ชายที่ซื่อสัตย์)
• “He does look like an honest man.” (ประโยคเน้นความชัดเจน)

ยกเว้นกรณีนี้
• “I am cold.” (ประโยคไม่เน้น)
(ฉันหนาว)
“I do be cold.”

การใช้กริยา do เพื่อสร้างประโยค คำสั่ง ขอร้อง (imperative sentences)
เราจะพบว่า มีการใช้กริยา do มาช่วยในการสร้างประโยคคำสั่ง ประโยคให้คำแนะนำ หรือประโยคขอร้อง ได้
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Do be careful!” (จงระวัง!)
• “Do try to be quiet.” (แนะนำให้อยู่ในความสงบ)
• “Please do avoid walking on the grass.” (โปรดหลีกเลี่ยงการเดินบนหญ้า)

สรุปจากทั้งหมดที่ผมได้กล่าวมานั้น นักศึกษาพอจะเข้าใจคร่าว ๆ แล้วว่า เราสามารถใช้กริยาช่วย be, do, และ have ได้ในกรณีใดบ้าง หัวข้อถัดไปผมก็จะขยายความ การใช้กริยาช่วยกลุ่มที่เรียกว่า Modal Auxiliary Verb เป็นลำดับต่อไปครับ สวัสดีครับ


เรียบเรียงโดย
  • ติวเตอร์แบงค์
  • สถาบันติว PERFECT ซ.รามคำแหง 43/1
  • ติวเตอร์ประจำวิชา ENG, ENS, CEN2101, CEN2102, APR2101
  • ติดต่อติวเตอร์ โทร. 081-7269394 Line ID : sjbank
เอกสารอ้างอิง
  1. Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
  2. Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
  3. Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
  4. Raymond Murphy. 2019. English Grammar in Use, Cambridge University Press; 5 edition (24 Jan. 2019).
  5. Marianne Celce-Murcia (Author), Donna M. Brinton. 2013. Teaching English as a Second or Foreign Language. Cengage Learning, 4th edition.
  6. Peter Huring. 2016. Complete English Grammar Rules - Examples, Exceptions & Everything You Need to Master Proper Grammar by Farlex International.
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 20 ธ.ค. 2562