ต่อจากโพสท์ที่แล้ว เราอยู่ที่เรื่องกริยาช่วยในภาษาอังกฤษ ที่ผมได้ยกมานั้นมีทั้งหมด 16 ตัว โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ Primary Auxiliary Verbs, Modal Auxiliary Verbs และ Semi-Modal Verbs นะครับ ผมก็จะขยายความลงรายละเอียดไปตามลำดับ ดังต่อไปนี้
การระบุกริยาช่วย (Identifying auxiliary verbs)
เราสามารถระบุหรือบ่งชี้กริยาช่วยในภาษาอังกฤษได้ 2 หลักเกณฑ์ คือ
1. กริยาตัวนั้นสามารถสลับตำแหน่งกับประธานได้หรือไม่
2. กริยาตัวนั้น สามารถที่จะตามด้วยการปฏิเสธ "not" ได้หรือไม่ (not เป็น Adverb นะครับ)
ยกเว้น กริยา be ที่สามารถสลับหรือ มี "not" ตามหลังได้ ทั้ง ๆ ที่เป็นกริยาหลัก
การสลับตำแหน่งระหว่างกริยาช่วยกับประธาน (Subject-auxiliary inversion)
การกลับตำแหน่ง หมายถึง การสลับตำแหน่งปกติระหว่างประธานและกริยาช่วยของประโยค แต่ว่าการสลับนั้นจะใช้เมื่อเป็นโครงสร้างของประโยคคำถาม ประโยคเงื่อนไข หรือ ประโยคปฏิเสธ เท่านั้นนะครับ โดยนักศึกษาส่วนใหญ่มักจะบอกว่าเป็นการย้ายกริยาช่วยมาอยู่ข้างหน้า มันก็ไม่ผิดนะครับ แต่การย้ายมันมีความหมายอีกแบบ เพราะจะทำให้อีกตำแหน่งมันว่างลง แต่ฝรั่งจะใช้คำว่าสลับตำแหน่ง หรือ Inversion จะให้ความหมายที่ถูกต้องกว่า หมายถึง การกลับที่หรือสลับตำแหน่งกัน ครับการสลับตำแหน่งกรณีที่เป็นประโยคคำถาม (Interrogative sentences)
เมื่อประโยคอยู่ในรูปของ Present Simple Tense หรือ Past Simple Tense เราจะใช้กริยาช่วย "do" โดยจะใช้กริยา do สลับกับประธาน วางไว้หน้าประโยค
ยกตัวอย่างประโยค
• “John works across town.” (ประโยคบอกเล่า)
(จอห์นทำงานต่างเมือง)
• “Does John work across town?” (ประโยคคำถาม)
(จอห์นทำงานต่างเมืองใช่ไหม?)
เมื่อประโยคอยู่ในรูป Tense อื่น ๆ จะมีการสลับตำแหน่งระหว่างกริยาช่วยกับประธานดังนี้
1. Present continuous tense:
• “John is working across town.” (ประโยคบอกเล่า)
• “Is John working across town?” (ประโยคคำถาม)
2. Past continuous tense:
• “John was working across town.” (ประโยคบอกเล่า)
• “Was John working across town?” (ประโยคคำถาม)
3. Present perfect continuous tense:
• “John has been working across town.” (ประโยคบอกเล่า)
• “Has John been working across town?” (ประโยคคำถาม)
4. Past perfect continuous tense:
• “John had been working across town.” (ประโยคบอกเล่า)
• “Had John been working across town?” (ประโยคคำถาม)
5. Future simple tense:
• “John will work across town.” (ประโยคบอกเล่า)
• “Will John work across town?” (ประโยคคำถาม)
หรือ
• “John is going to work across town.” (ประโยคบอกเล่า)
• “Is John going to work across town?” (ประโยคคำถาม)
6. Future continuous tense:
• “John will be working across town.” (ประโยคบอกเล่า)
• “Will John be working across town?” (ประโยคคำถาม)
หรือ
• “John is going to be working across town.” (ประโยคบอกเล่า)
• “Is John going to be working across town?” (ประโยคคำถาม)
7. Future perfect continuous tense:
• “John will have been working across town.” (ประโยคบอกเล่า)
• “Will John have been working across town?” (ประโยคคำถาม)
หรือ
• “John is going to have been working across town.” (ประโยคบอกเล่า)
• “Is John going to have been working across town?” (ประโยคคำถาม)
ข้อสังเกตุวิธีสลับกริยาช่วยตาม Tense มีดังนี้ครับ
1. เราจะเห็นว่า กรณีที่เป็น Continuous Tense (present, past, หรือ future) หรือ future simple tense ในการสร้างประโยคคำถามนั้น ทำได้โดยการสลับกริยาช่วยกับประธาน
2. เราจะเห็นได้ว่า กรณีที่เป็น Perfect Continuous Tense (present, past, future) จะสลับเฉพาะกริยาช่วย ตัวแรกของกริยาช่วย 2 ตัว
กรณีคำถามและ Modal Verbs
ตัวอย่างประโยค
• “Where will John be working across town?”
• “Why had John been working across town?”
• “When was John working across town?”
เมื่อมีคำถาม ชนิด Question words การสลับที่ก็ยังคงเหมือนเดิม
การใช้ Modal auxiliary verbs ที่เฉพาะเจาะจง
ตัวอย่างประโยค
• “Can you work a forklift?” (คำถามเกี่ยวกับความสามารถ)
(คุณสามารถทำงานขับรถยกได้ไหม)
• “May I watch television for an hour?” (คำถามเกี่ยวกับการขออนุญาต)
(ฉันขออนุญาตดูทีวีสัก 1 ชม.ได้ไหม)
• “Must we sit through another boring play?” (คำถามเกี่ยวกับข้อผูกพัน)
(พวกเราต้องนั่งตลอดการแสดงที่น่าเบื่ออีกไหม)
การสลับตำแหน่งของกริยา be
กริยา be สามารถสลับตำแหน่งได้ เมื่อทำหน้าที่เป็น Linking Verb หรือ เมื่อทำหน้าที่เป็นกริยาช่วย
ตัวอย่างประโยค
• “I am cold.”
• “Are you cold?”
• “They were all present.”
• “Were they all present?”
การสลับตำแหน่งกริยาช่วยในประโยคเงื่อนไข (Conditional sentences)
โดยทั่วไป ประโยคเงื่อนไขจะใช้ If เป็นตัวเชื่อม
ตัวอย่างประโยค
• “If I were to move to Florida, I would be warm all year round.”
(ถ้าฉันย้ายไปฟลอริด้า ฉันจะอบอุ่นตลอดปี)
• “If they had trained a little harder, they would have won.”
(ถ้าพวกเขาซ้อมหนักอีกนิด พวกเขาอาจได้ชัยชนะ)
เราสามารถสลับตำแหน่งกริยาช่วยกับประธานในประโยคเงื่อนไขได้ ดังนี้
• “Were I to move to Florida, I would be warm all year round.”
• “Had they trained a little harder, they would have won.”
การสร้างประโยคปฏิเสธด้วย "Not"
โดยปกติในการปฏิเสธนั้น เราจะใช้ Adverb "not" แต่กริยาหลักจะไม่ตามหลัง ด้วย not ตามลำพัง จะต้องมีกริยาช่วยเพื่อให้สมบูรณ์ขึ้นได้
• “I work in a law firm downtown.”
✖ “I work not in a law firm downtown.”
✔ “I do not work in a law firm downtown.”
การใช้กริยาช่วยระดับพื้นฐาน (Primary Auxiliary Verbs)
กริยาช่วยระดับพื้นฐานในภาษาอังกฤษ คือ กริยา be, have, doกริยา be และ have ใช้เป็นกริยาช่วยในกรณี
- 1. Continuous Tense
- 2. Perfect Tense
- 3. Perfect Continuous Tense
- 1. ใช้ในการปฏิเสธกริยาหลัก
- 2. ใช้ในการสร้างประโยคคำถาม
- 3. ใช้เพื่อเพิ่มการเน้นย้ำในประโยค
การกระจายกริยา be, have, do
เนื่องจากกริยา be, have, do สามารถทำหน้าที่เป็นกริยาหลักและยังสามารถเปลี่ยนเป็นรูปพหูพจน์และ Tense ได้อีกด้วย ดังนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทราบการกระจายเมื่อนำมาใช้ให้ถูกต้องเมื่อทำหน้าที่เป็นกริยาช่วย
รูปของการกระจายกริยาช่วยกลุ่มพื้นฐาน มีดังนี้
การกระจายกริยา be มี 8 รูป1. be
- กรณีเป็น Base Form
ตัวอย่างประโยค
"You must be joking."
2. am
- กรณีเป็น present tense บุรุษที่ 1 เอกพจน์)
ตัวอย่างประโยค
"I am moving to Germany next month."
3. are
- กรณีเป็น present tense บุรุษที่ 1 พหูพจน์
- กรณีเป็น บุรุษที่ 2 เอกพจน์/พหูพจน์ present tense
- กรณีเป็น บุรุษที่ 3 พหูพจน์ present tense
ตัวอย่างประโยค
"We are leaving tomorrow morning."
"Are you working later?"
"Where are they going?"
4. is
- กรณีเป็น present tense ประธานบุรุษที่ 3 เอกพจน์
ตัวอย่างประโยค
"She is wondering where we're going."
5. was
- กรณีเป็น past tense บุรุษที่ 1 เอกพจน์
- กรณีเป็น past tense ประธานบุรุษที่ 3 เอกพจน์
ตัวอย่างประโยค
"I was talking to my brother yesterday."
"It was raining quite hard last night."
6. were
- กรณีเป็น past tense บุรุษที่ 1 พหูพจน์
- กรณีเป็น บุรุษที่ 2 เอกพจน์/พหูพจน์ past tense
- กรณีเป็น บุรุษที่ 3 พหูพจน์ past tense)
ตัวอย่างประโยค
"We were looking for a new place to live."
"You were thinking of running away?"
"When were they planning on electing a new president?"
7. been
- กรณีเป็น past participle
ตัวอย่างประโยค
"Everyone has been worrying about their jobs."
8. being
- กรณีเป็น present participle
การกระจายกริยา do มี 5 รูป
1. do
- กรณีเป็น Base Form
ตัวอย่างประโยค
"Do be careful."
2.. did
- กรณีเป็น past tense
ตัวอย่างประโยค
"We didn't know any better."
3. does
- กรณีเป็น present tense ประธานบุรุษที่ 3 เอกพจน์
ตัวอย่างประโยค
"Does he know what he's talking about?"
4. done
- กรณีเป็น past participle
5. doing
- กรณีเป็น present participle
การกระจายกริยา have มี 4 รูป
1. have
- กรณีเป็น Base Form
ตัวอย่างประโยค
"I have been to this part of town before."
2. had
- กรณีเป็น past tense/participle
ตัวอย่างประโยค
"They had been confident in the project's success."
3. has
กรณีเป็น present tense ประธานบุรุษที่ 3 เอกพจน์
ตัวอย่างประโยค
"It has been raining for over an hour now."
4. having
กรณีเป็น present participle
ตัวอย่างประโยค
"Having worked his whole life, Larry relished the thought of retirement."
สำหรับโพสท์นี้ประเด็นหลัก ๆ มี 3 เรื่อง คือ
1. การใช้กริยาช่วยในการตั้งคำถาม (Yes/No) หลักการสับเปลี่ยนตำแหน่ง
2. การกระจายกริยา กลุ่ม Primary Auxiliary Verbs
3. การนำ Primary Auxiliary Verbs ใปใช้ในโครงสร้าง Tense ต่าง ๆ
ผมจะไม่ได้แปลประโยคหรือ อธิบายความหมาย เพราะหัวข้อนี้เราแค่ศึกษารูปแบบการนำกริยาช่วยไปสร้าง Tense ต่าง ๆ เท่านั้นครับ โปรดติดตามตอนต่อไป
เรียบเรียงโดย
- ติวเตอร์แบงค์
- สถาบันติว PERFECT ซ.รามคำแหง 43/1
- ติวเตอร์ประจำวิชา ENG, ENS, CEN2101, CEN2102, APR2101
- ติดต่อติวเตอร์ โทร. 081-7269394 Line ID : sjbank
- Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
- Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
- Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
- Raymond Murphy. 2019. English Grammar in Use, Cambridge University Press; 5 edition (24 Jan. 2019).
- Marianne Celce-Murcia (Author), Donna M. Brinton. 2013. Teaching English as a Second or Foreign Language. Cengage Learning, 4th edition.
- Peter Huring. 2016. Complete English Grammar Rules - Examples, Exceptions & Everything You Need to Master Proper Grammar by Farlex International.
0 ความคิดเห็น