เรามาต่อกันเกี่ยวกับเรื่องคำกริยาในภาษาอังกฤษ มาถึงตอนที่ 7 แล้วนะครับ จะมีเรื่องที่นักศึกษาจะต้องทำความเข้าใจและเป็นเรื่องที่สำคัญมากอีกประเด็นหนึ่ง มีดังต่อไปนี้

กลุ่มกริยาที่เรียกว่า Auxiliary Verbs

นิยาม
Auxiliary Verbs หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Helping Verbs คือ กริยาที่ช่วยเพิ่มการบอกความหมายเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของกริยาหลัก(Main or Full Verbs) ในประโยคหรืออนุประโยค
Auxiliary Verbs ทำหน้าที่ช่วยในกรณีดังต่อไปนี้
1. Auxiliary Verbs ช่วยในการระบุ Tense ต่าง ๆ
2. Auxiliary Verbs ช่วยในการระบุลักษณะของเหตุการณ์ (Aspect)
3. Auxiliary Verbs ช่วยในการสร้างประโยคปฏิเสธ (Negatives)
4. Auxiliary Verbs ช่วยในการสร้างประโยคคำถาม (Interrogatives)
5. Auxiliary Verbs ช่วยในการเน้นย้ำในประโยค(Emphasis)
หมายเหตุ
เมื่อไรที่กริยานั้นทำหน้าที่เป็น Auxiliary Verbs จะไม่มีการให้ความหมายเชิงอรรถศาสตร์(Semantic Meaning) ในตัวของมันเอง

ชนิดของ Auxiliary Verbs มีดังต่อไปนี้

  1. be 
  2. do 
  3. have 
  4. can 
  5. could 
  6. will 
  7. would 
  8. shall 
  9. should 
  10. must 
  11. may 
  12. might 
  13. ought to 
  14. used to 
  15. need 
  16. dare
■ กริยาช่วยหลัก (Primary Auxiliary Verbs) มี 3 ชนิด คือ
  1. be 
  2. do 
  3. have
โดยกริยากลุ่มนี้ ยังเป็นกริยาหลักได้ด้วย และยังเป็นตัวกระจายเพื่อบอก รูปพหูพจน์ ของ Tense และบอกลักษณะของเหตุการณ์ได้ด้วยครับ
■ กริยาช่วยที่เรียกว่า กลุ่ม Modal Auxiliary Verbs มี 9 ชนิด คือ
  1. can 
  2. could 
  3. will 
  4. would 
  5. shall 
  6. should 
  7. must 
  8. may 
  9. might 
■ กริยาช่วยที่เรียกว่า กลุ่ม Semi-Modal Verbs มี 4 ชนิด คือ
  1. ought to 
  2. used to 
  3. need 
  4. dare
สำหรับกลุ่มนี้มีลักษณะที่ไม่เหมือนกับ Modal Auxiliary Verbs เพียงแต่จะทำหน้าที่เป็นกริยาช่วยในบางกรณีโดยเฉพาะ

การใช้กริยา กลุ่ม Auxiliary Verbs ในการสร้าง Verb Tense ต่าง ๆ

จากที่ผมเคยได้บอกไว้ในตอนต้นแล้วว่า เดิมทีนั้น ในภาษาอังกฤษจะใช้กันเพียงแค่ 2 Tense คือ Present Simple Tense กับ Past Simple Tense ต่อมาเมื่อมี Tense เพิ่มขึ้นมามากมาย มีโครงสร้างประโยคอื่น ๆ ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องสร้างกริยาอีกกลุ่มหนึ่งขึ้นมาที่เราเรียกว่า กริยาช่วย หรือ Auxiliary Verbs นั่นเอง จากที่มีกริยาตัวเดียวในประโยค ทำให้มีกริยาหลายตัว หรือที่เราเรียกว่า Complex Verb Tenses แต่สำหรับบทนี้ ผมจะยกตัวอย่างพอเข้าใจว่า เราจะใช้ Auxiliary Verbs  ไปสร้าง Tense อย่างไรได้บ้าง ส่วนเรื่อง Tense แบบละเอียดนั้น ผมจะพูดไว้อีกบทครับ

พิจารณาตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
1. “We went to the same restaurant for five years” (ฉันได้ไปกินอาหารภัตตาคารเดิมนาน 5 ปี)
2. “We had been going to the same restaurant for five years.” (ฉันได้ไปกินอาหารภัตตาคารเดิมนาน 5 ปี)
ทั้ง 2 ประโยคนี้มีความหมายเหมือนกัน แต่ประโยคที่ 2 บอกให้ทราบว่าเป็นการกระทำแบบต่อเนื่อง

1. การใช้กริยาช่วยในการสร้าง Future Simple Tense
โครงสร้าง Future Simple Tense คือ
S + will  +  Main Verb
S + is/am/are  +  going to  +  Main Verb

พิจารณาตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
• “I will arrive in New York at 10 PM.” (ฉันจะถึงนิวยอร์คตอน 4 ทุ่ม)
• “I am going to arrive in New York at 10 PM.” (ฉันจะถึงนิวยอร์คตอน 4 ทุ่ม)

2. การใช้กริยาช่วยในการสร้าง Present Continuous Tense
S + am/is/are  +  Present Participle ของ Main Verb

พิจารณาตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
• “I am working tomorrow.” (ฉันจะทำงานวันพรุ่งนี้)
• “She is living in New York.” (หล่อนกำลังอาศัยอยู่ในนิวยอร์ค)
• “They are trying to save some money.” (พวกเขากำลังพยายามเก็บเงิน)
หมายเหตุ 
กริยาที่ลงท้าย -ing ใน Present Continuous Tense เราเรียกว่า กริยารูป Present Participle ของ Main Verb นะครับ

3. การใช้กริยาช่วยในการสร้าง Past Continuous Tense
S + was/were   +  Present Participle ของ Main Verb

พิจารณาตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
• “I was cooking breakfast when she called.” (ฉันกำลังปรุงอาหารเช้าเมื่อหล่อนโทรมา)
• “We were talking on the phone at the time.” (พวกเรากำลังคุยทางโทรศัพท์ ณ ขณะนั้น)

4. การใช้กริยาช่วยในการสร้าง Future Continuous Tense
S +will be + Present Participle ของ Main Verb
S + am/is/are + going to be + Present Participle ของ Main Verb

พิจารณาตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
• “I will be leaving in the morning.” (ฉันจะอยู่ระหว่างการออกเดินทางในเช้านั้น)
• “I am going to be leaving in the morning.”  (ฉันจะอยู่ระหว่างการออกเดินทางในเช้านั้น)

5. การใช้กริยาช่วยในการสร้าง Present Perfect Tense
S + have/has  +  Past Participle ของ Main Verb

พิจารณาตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
• “I have lived here all my life.” (ฉันได้อาศัยที่นี่มาตลอดชีวิต)
• “She has studied for this exam for weeks.” (หล่อนได้ศึกษาข้อสอบนี้มาหลายสัปดาห์)
• “They have tried to find a solution to the problem.” (พวกเขาได้พยายามหาทางออกต่อปัญหานั้น)

6. การใช้กริยาช่วยในการสร้าง Past Perfect Tense
S + had  +  Past Participle ของ Main Verb

พิจารณาตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
• “I had already made my fortune when I was your age.”
(ฉันได้กำหนดโชคชะตาของฉันไว้แล้ว เมื่อฉันมีอายุเท่าคุณ)
• “We had seen that the results were constant.”
(พวกเราได้เห็นแล้วว่าผลลัพธ์นั้นคงที่)

7. การใช้กริยาช่วยในการสร้าง Future Perfect Tense
S + will have  +  Past Participle ของ Main Verb

พิจารณาตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
• “I will have  finished by that time.”
(ฉันจะทำเสร็จเมื่อเวลานั้น)
• “She will have sung with a professional orchestra before the tour begins.”
(ฉันจะได้ร้องเพลงกับวงดนตรีมืออาชีพก่อนที่การเดินสายจะเริ่มขึ้น)

8. การใช้กริยาช่วยในการสร้าง Present Perfect Continuous Tense
S + have been + Present Participle ของ Main Verb

พิจารณาตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
• “I have been trying to reach you for over an hour.”
(ฉันได้พยายามที่จะเข้าถึงคุณนานกว่า 1 ชม.)

9. การใช้กริยาช่วยในการสร้าง Past Perfect Continuous Tense
S + had been + Present Participle ของ Main Verb

พิจารณาตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
• “We had been working through the night.”
(พวกเราได้ทำงานตลอดทั้งคืนนั้น)

10. การใช้กริยาช่วยในการสร้าง Future Perfect Continuous Tense
S + will have been + Present Participle ของ Main Verb
S + am/is/are + going to + have been + Present Participle ของ Main Verb

พิจารณาตัวอย่างประโยคต่อไปนี้
• “She will have  been living here for most of her life.”
(หล่อนกำลังจะได้อาศัยอยู่ที่นี่เกือบทั้งชีวิตของหล่อน)
• “I am going to have  been working here for 10 years next week.”
(ฉันกำลังจะได้ทำงานอยู่ที่นี่ครบ 10 ปีในสัปดาห์หน้า)

ยังไม่จบครับ สำหรับการใช้กริยาช่วยในโครงสร้างต่าง ๆ ยังมีอีกเยอะ โปรดติดตามในตอนต่อไป สวัสดีครับ

เรียบเรียงโดย
  • ติวเตอร์แบงค์
  • สถาบันติว PERFECT ซ.รามคำแหง 43/1
  • ติวเตอร์ประจำวิชา ENG, ENS, CEN2101, CEN2102, APR2101
  • ติดต่อติวเตอร์ โทร. 081-7269394 Line ID : sjbank
เอกสารอ้างอิง
  1. Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
  2. Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
  3. Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
  4. Raymond Murphy. 2019. English Grammar in Use, Cambridge University Press; 5 edition (24 Jan. 2019).
  5. Marianne Celce-Murcia (Author), Donna M. Brinton. 2013. Teaching English as a Second or Foreign Language. Cengage Learning, 4th edition.
  6. Peter Huring. 2016. Complete English Grammar Rules - Examples, Exceptions & Everything You Need to Master Proper Grammar by Farlex International.
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 17 ธ.ค. 2562