เรื่องกริยาในภาษาอังกฤษ เรามาถึงหัวข้อที่ 5 กันแล้วนะครับ นักศึกษา โดยจะขยายความต่อจากตอนที่แล้วเพื่อให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น

ความสำคัญของกริยาในประโยค

ไม่ว่าจะเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียน ในประโยคนั้น จะต้องมีกริยาที่เรียกว่า Finite Verb เป็นส่วนประกอบหลักเพื่อทำให้ประโยคนั้นมีความสมบูรณ์ขึ้นมาได้ ถ้าไม่มี Finite Verb แล้ว ประโยคก็จะมีแต่ประธานหรือคำชนิดอื่น ที่ไม่ได้บอกถึงการกระทำหรือมีการเชื่อมโยงที่ถูกต้อง

พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้
• “The car.” (รถยนต์)
• “The car on the road.“ (รถยนต์บนถนน)
• “The car on the road through the mountains.” (รถยนต์บนถนนผ่านภูเขา)
สังเกตว่า มีแต่ประธานแต่ไม่มีกริยาบอกอะไร แต่เมื่อเราใส่กริยา Finite Verb จะเป็นดังนี้
• “The car drove.” (รถยนต์คันนั้นแล่นไป)
• “The car drove on the road.” (รถยนต์คันนั้นแล่นไปตามถนน)
• “The car drove on the road through the mountains.”(รถยนต์คันนั้นแล่นไปตามถนนผ่านภูเขา)
เมื่อมีกริยา Finite Verb ประโยคก็จะมีความหมายสมบูรณ์ ทำให้ผู้อ่านรู้ว่าประธานทำอะไร
อีกกรณีถ้ามีแต่ Non Finite Verb ยกตัวอย่าง
• “The car driving on the road through the mountains.”
สังเกตว่ากรณีนี้ ไม่มีกริยา Finite Verb  มีแต่ Non Finite Verb ประโยคก็ไม่มีความสมบูรณ์เช่นเดียวกัน เนื่องจากว่า driving เป็นกริยาที่อยู่ในรูปของ Present Participle ซึ่งไม่สามารถระบุการกระทำโดยตรงของประธานได้
พิจารณาตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้
• “The car was driving on the road through the mountains.”
เมื่อเราใส่ was ซึ่งเป็น Finite Verb เพิ่มเติม คู่กับ driving ก็จะมีความหมายขึ้นมาทันที ว่า
(รถยนต์กำลังแล่นบนถนนผ่านภูเขา)
นอกจากนี้ ยังบอกได้อีกว่า ประโยคนั้นเป็น Past Continuous Tense (หมายถึงกำลังกระทำ)

การระบุ Finite Verb
เนื่องจากภายในประโยคหนึ่ง ๆ อาจจะมีกริยาหลายประเภทในประโยคเดียวกัน มันจะช่วยได้มากถ้าเราสามารถระบุว่ากริยาตัวไหนเป็น Finite Verb

กริยาในรูปปัจจุบัน สำหรับประธานเอกพจน์บุรุษที่ 3

กริยาใด ๆ ที่ลงท้ายด้วย (-s) สำหรับประธานเอกพจน์บุรุษที่ 3 ใน Present Simple Tense แสดงว่ากริยาตัวนั้นเป็น Finite Verb เนื่องจาก Non Finite Verb จะไม่มี Tense
ยกเว้น กริยากลุ่ม Modal Auxiliary Verbs ซึ่งได้แก่ can, could, will, would, shall, should, may, might, และ must จะไม่เติม (-s) สำหรับประธานเอกพจน์บุรุษที่ 3 ใน Present Simple Tense  เนื่องจาก Modal Auxiliary Verbs ที่อยู่หลังประธาน และวางไว้หน้ากริยาหลัก (Main Verb) เป็นกริยาที่ช่วยในการระบุ ลักษณะเหตุการณ์(Aspect), ระบุ Tense และระบุอารมณ์ ( Mood)
พิจารณาตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้
• “He runs to the store every morning.”
• “The woman swims in the ocean.”
• “The boy kicks the soccer ball at the goal.”
• “She has three cars in her driveway.”
จากตัวอย่างประโยค กริยา Finite Verb สำหรับประธานเอกพจน์บุรุษที่ 3 ใน Present Simple Tense

กริยาในรูปอดีต สำหรับประธานเอกพจน์บุรุษที่ 3 กรณี Irregular Verbs

เราจะพบว่ากริยาทุกตัวที่อยู่ใน Past Simple Tense  เป็น Finite Verb อย่างแน่นอน อย่างที่ผมได้บอกไว้แล้วว่า กริยาที่กระจายปกติ จะมีรูป Past Tense และ Past Participle จะมีรูปที่เหมือนกัน การที่เราจะดูว่ากริยาตัวไหนเป็น Past Tense กริยาตัวไหนเป็น Past Participle เราสามารถดูได้จากการทำหน้าที่ของกริยาตัวนั้นในประโยค แต่ในกรณีที่เป็นกริยาที่กระจายไม่ปกติ จะมีรูป Past Tense และ Past Participle ที่ไม่เหมือนกัน ไม่มีกฎการกระจายที่แน่นอน ต้องอาศัยความจำเท่านั้นครับ

พิจารณาตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้
กริยา Be
• “She was feeling unwell.” (past tense – finite)
• “She has been feeling unwell.” (past participle – non-finite)
กริยา Go
• “I went to the store.” (past tense – finite)
• “I had gone to the store.” (past participle – non-finite)
กริยา Fly
• “They flew to San Diego already.” (past tense – finite)
• “They have flown to San Diego already.” (past participle – non-finite)

เราจะเห็นบ่อย ๆ ว่า Finite Verb มักจะตามหลังประธานโดยทันที ทำให้ง่ายสำหรับเราในการที่จะรู้ว่า กริยาตัวไหนเป็น Finite Verb และกริยาตัวไหนเป็น Non Finite Verb ครับ เพราะว่า กริยา Non Finite Verb จะไม่วางไว้ติดกับประธานและไม่ได้เป็นกริยาที่บอกการกระทำโดยตรงของประธาน ในขณะเดียวกัน Non Finite Verb เป็นกริยาที่ใช้เพื่อบอกจุดประสงค์ทางไวยากรณ์อื่น ๆ ในประโยค ครับ
พิจารณาตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้
• “Everyone listened to the music.”
• “Elephants travel together in herds to find water.”
• “Across the field, the trees swayed in the wind.”

ตัวอย่างข้อสอบ
คำถาม จงระบุ finite verb ในประโยคต่อไปนี้
Identify the finite verb in the following sentence.
“Running late, the family quickly drove to their relative's house.”
a) Running
b) to their
c) relative
d) drove

คำหมายของ Transitive และ Intransitive Verbs

นิยาม
Transitive Verbs คือ กริยาที่มีกรรมในประโยค  อาจจะมีกรรม 1 ส่วน หรือมากกว่า 1 ส่วน ก็ได้
Intransitive Verbs คือ กริยาที่ไม่มีกรรมในประโยค

Transitive Verbs
หมายถึง กริยาที่บอกว่าการกระทำนั้น เกิดขึ้นหรือส่งผลต่อ ใคร หรือ สิ่งใด ซึ่งผู้ที่รับผลของกริยานั้นเราเรียกว่า กรรม(Object) ของกริยานั่นเอง

พิจารณาตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้
• “The people watched the game from the bleachers.”
(คนนั่งดูการแข่งขันจากอัฒจันทร์)
the game คือ สิ่งที่คนได้ดู
the game จึงเป็นกรรมตรงของกริยา watched
• “I was eating a delicious steak for dinner last night.”
(ฉันกำลังกินเนื้ย่างที่อร่อยเป็นมื้อค่ำเมื่อคืนที่แล้ว)
a delicious steak คือ สิ่งที่ถูกกิน จึงเป็นกรรมตรงของกริยา was eating
 • “They met your brother at the airport in Dubai.”
(พวกเขาได้พบกับพี่ชายของคุณที่สนามบินดูไบ)
your brother (พี่ชายของคุณ) เป็นกรรมตรงของกริยา met

Intransitive Verbs
หมายถึงกริยาที่บอกว่า การกระทำนั้น ไม่ได้มีผลต่อใครหรือสิ่งใด เป็นการกระทำที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง
พิจารณาตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้
• “I arrived late.”
(ฉันมาถึงสาย)
arrived (มาถึง) มีความหมายสมบูรณ์ ไม่จำเป็นต้องมีใครหรือสิ่งใดมารองรับผลจากการมาถึง
• “Don’t be too loud while the baby sleeps.”
(อย่าส่งเสียงดังเกินไปขณะที่เด็กนอนหลับ)
sleeps (นอนหลับ) ไม่มีใครหรือสิ่งใดมารับผลจากการนอน

Intransitive verbs กับวลีที่เกิดจากบุพบท (Prepositional Phrases)

โดยทั่วไปเรามักจะเห็นว่า Intransitive verbs มักจะตามด้วยวลีบุพบท ทำให้นักศึกษาเข้าใจผิดว่าเป็นกรรมตรงของกริยา
พิจารณาตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้
• “The baby is sleeping in our room.”
(เด็กกำลังนอน ในห้องของเรา)
is sleeping (กำลังนอน)
in (ใน) เป็นคำบุพบท (Prepositions)
our room (ห้องของเรา) เป็นกรรมของบุพบท (objects of the prepositions) ไม่ใช่เป็นกรรมตรงของกริยา
in our room (ในห้องของเรา) เรียกว่า วลีบุพบท (Prepositional Phrases) เป็นส่วนขยาย (modify) กริยา sleeping ดังนั้น กริยา sleep ก็ยังเป็น Intransitive verbs ครับ

• “I sneezed  from the dust.”
(ฉันจาม จากฝุ่น)
the dust เป็นกรรมของ คำบุพบท from
the dust ไม่ได้เป็นกรรมของกริยา sneezed
from the dust เรียกว่า วลีบุพบท (Prepositional Phrases) เป็นส่วนขยาย (modify) กริยา sneezed

หมายเหตุ
Transitive verbs แปลว่า กริยาที่ส่งผ่านหรือถ่ายโอน(transition or transfer) การกระทำไปยังคนหรือสิ่ง ที่มารับผลนั้น
In- แปลว่า ไม่
Intransitive แปลว่า ไม่ส่งผ่าน ไม่ส่งทอด หรือ ไม่ถ่ายโอน ครับ

กริยาที่เรียกว่า “Ambitransitive Verbs”

หมายถึง กริยาที่เป็นได้ทั้ง Transitive และ Intransitive บางตำราเรียกว่า Ergative verbs
ส่วนจะเป็นแบบไหนนั้น ขึ้นอยู่กับบริบท หรือ ข้อมูลที่ผู้พูดต้องการสื่อความหมาย

พิจารณาตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้
• “She eats before going to work.”
(หล่อนกินก่อนไปทำงาน)
กรณีนี้ กริยา eats เป็น Intransitive Verbs เพราะไม่มีกรรมมารองรับกริยา eats

• “She eats breakfast before going to work.”
(หล่อนกินอาหารเช้าก่อนไปทำงาน)
กรณีนี้ กริยา eats เป็น Transitive Verb เพราะมี breakfast เป็นกรรมของกริยา eats

พิจารณาตัวอย่างประโยคดังต่อไปนี้
• “I’ve been trying to read more.” (intransitive)
• “I’ve been trying to read more novels.” (transitive)
• “I’m still cooking, so I’m going to be a little late.” (intransitive)
• “I’m still cooking dinner, so I’m going to be a little late.” (transitive)
• “I’ve been exercising every day this month.” (intransitive)
• “I’ve been exercising my arms every day this month.” (transitive)

Monotransitive, Ditransitive, และ “Tritransitive”

นิยาม
1. Monotransitive Verb หมายถึง กริยาชนิดที่มีกรรมเพียง 1 ส่วนเท่านั้นที่มารองรับ
2. Ditransitive Verb หมายถึง กริยาชนิดที่มีกรรม 2 ส่วนมารองรับ
3. Tritransitive Verb หมายถึง กริยาชนิดที่มีกรรม 3 ส่วนมารองรับ

พิจารณาตัวอย่างประโยค กรณี Monotransitive Verb
• “I rode my bike to get here.”
(ฉันขี่จักรยานของฉัน ไปยังที่นั่น)
กริยา คือ rode ส่วน my bike เป็นกรรมตรง(Direct Object)
• “Jim just told a funny joke.”
กริยา คือ told ส่วน a funny joke เป็นกรรมตรง(Direct Object)
*กริยาโดยส่วนใหญ่จะมีกรรมเพียงตัวเดียวมารองรับ หรือเรียกว่า เป็นกรรมตรง(Direct Object)

พิจารณาตัวอย่างประโยค กรณี Ditransitive Verb
• “He gave Mary a pen.”
(เขาให้ปากกาแก่แมรี่)
กริยา คือ gave (ให้)
a pen คือ กรรมตรง (Direct Object) ของกริยา gave
Mary คือ กรรมรองหรือกรรมโดยอ้อม (Indirect Object)  ของกริยา gave
เขียนอีกแบบ
• “He gave a pen to Mary.”
กริยา คือ gave (ให้)
a pen คือ กรรมตรง (Direct Object) ของกริยา gave
กรณีนี้ Mary เป็นกรรมของบุพบท to
to Mary เป็นวลีบุพบท ที่เป็นส่วนขยายกรรมตรง คือ pen
หมายเหตุ
กรรมรอง(Indirect Object) จะอยู่ก่อนหรือหลัง กรรมตรง(Direct Object)ก็ได้
ถ้ากรรมรองอยู่หลังกรรมตรง จะมี บุพบท to หรือ for เพื่อเป็นส่วนขยายของกรรมตรง

พิจารณาตัวอย่างประโยค กรณี Ditransitive Verb
• “She teaches the students mathematics.”
(หล่อนสอน คณิตศาสตร์ให้นักเรียน)
กริยา คือ teaches
กรรมตรง คือ mathematics (คณิตศาสตร์)
กรรมรอง คือ the students
เขียนอีกแบบ
• “She teaches mathematics to the students.”

ตัวอย่างประโยค
• “I sent my brother a letter.”
(ฉันส่งจดหมายให้พี่ชายของฉัน)
กริยา คือ sent
กรรมตรง คือ a letter
กรรมรอง คือ my brother
เขียนอีกแบบ
• “I sent a letter to my brother.

กริยาที่เรียกว่า Factitive Verbs

จากที่ผมได้เคยพูดไว้แล้ว เกี่ยวกับ Factitive Verbs และเราจะพบว่า Factitive Verbs ถือว่าเป็น Ditransitive Verb เพราะมีกรรม 2 ส่วนมารองรับผลของกริยานั้น
พิจารณาตัวอย่างประโยค กรณี Factitive Verbs
• “The  American people elected her the president of the United States.”
(คนอเมริกัน ได้เลือกหล่อน ให้เป็นประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกา)
elected คือ กริยาของประโยค
her (หล่อน) คือ กรรมตรงของกริยา elected
the president (ประธานาธิบดี) คือ ส่วนเติมเต็มของกรรม หรือ Object Complement

• “We painted the ceiling white.”
(เขาทาเพดานเป็นสีขาว)
painted (ระบายสี) เป็นกริยาของประโยค
the ceiling (เพดาน) เป็นกรรมตรง
white (สีขาว) เป็น ส่วนเติมเต็มของกรรม หรือ Object Complement

หมายเหตุ
ในการใช้ Factitive Verbs จะมีกรรม 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเราเรียกว่ากรรมตรง ส่วนที่ 2 อาจจะเป็นกรรมหรือส่วนเติมเต็มของกรรมตรงก็ได้ ซึ่งส่วนที่ 2 นั้นจะเป็นสิ่งที่บอก สถานภาพ ประเภท หรือ คุณสมบัติ ดังนั้น Factitive Verbs จะใช้เมื่อต้องการบอก การเปลี่ยนคนหรือสิ่ง ไปเป็นอีกคนหรืออีกสิ่ง ครับ สำหรับ Object Complement นั้น อาจจะเป็น คำนาม คำคุณศัพท์ หรือ คำสรรพนามก็ได้

กริยาที่เรียกว่า Tritransitive verbs 

Tritransitive verbs หมายถึง กริยาที่มีกรรม ที่แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
พิจารณาตัวอย่างประโยค กรณี
• “We will make you CEO for $300,000.”
(พวกเราจะทำให้คุณเป็น CEO ด้วยเงิน 300,000 เหรียญ)
make เป็นกริยาของประโยค
you เป็นกรรมตรง
CEO เป็นส่วนเติมเต็มของกรรมตรง
for $300,000 เป็น วลีบุพบท (Prepositional Phrases) ที่รับผลจากกริยาในฐานะกรรมรอง

สรุปประเด็นที่กล่าวมาในโพสท์นี้
1. ความสำคัญและการระบุ Finite Verb
2. Transitive Verbs
3. Intransitive Verbs
4. Ambitransitive Verbs
5. Monotransitive Verb
6. Ditransitive Verb
7. Factitive Verbs
8. Tritransitive Verb
เป็นการแบ่งกลุ่มกริยา ตามลักษณะของการกระทำที่มีผลต่อสิ่งที่มารองรับ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาโครงสร้างประโยค ที่ซับซ้อนต่อไป หัวข้อต่อไปก็จะพูดถึงกริยากลุ่มอื่น ๆ อีก จนกว่าจะหมด สวัสดีครับ

เรียบเรียงโดย
  • ติวเตอร์แบงค์
  • สถาบันติว PERFECT ซ.รามคำแหง 43/1
  • ติวเตอร์ประจำวิชา ENG, ENS, CEN2101, CEN2102, APR2101
  • ติดต่อติวเตอร์ โทร. 081-7269394 Line ID : sjbank
เอกสารอ้างอิง
  1. Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
  2. Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
  3. Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
  4. Raymond Murphy. 2019. English Grammar in Use, Cambridge University Press; 5 edition (24 Jan. 2019).
  5. Marianne Celce-Murcia (Author), Donna M. Brinton. 2013. Teaching English as a Second or Foreign Language. Cengage Learning, 4th edition.
  6. Peter Huring. 2016. Complete English Grammar Rules - Examples, Exceptions & Everything You Need to Master Proper Grammar by Farlex International.
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 16 ธ.ค. 2562