คำอธิบายกริยา Finite และ Non-finite ต่างกันอย่างไร

สวัสดีครับ ก่อนที่จะลงรายละเอียดเรื่องนี้ ผมอยากให้นักศึกษาเข้าใจนิดหนึ่งว่า เดิมทีนั้น(สมัยก่อน) ในภาษาอังกฤษจะมีการใช้กัน แค่ 2 Tense  คือ Present Simple Tense กับ Past Simple Tense ส่วน Tense อื่น ๆ ที่อยู่ในรูป Continuous, Perfect, Future นั้น เพิ่งมีขึ้นมาทีหลัง นักไวยากรณ์บางคน ยังบอกว่า เขาไม่นับ Future Tense ว่าเป็น Tense ด้วยซ้ำ ก็เพราะว่าไม่ใช่การกระทำที่เกิดขึ้นจริง เป็นเพียงการคาดคะเนหรือเหตุการณ์ที่สมมุติขึ้น ดังนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง คือ เหตุการณ์อดีตและเหตุการณ์ปัจจุบัน

ด้วยเหตุนั้น Finite Verb จึงหมายถึงกริยาที่มีไว้เพื่อบอกเชิงไวยากรณ์ดังต่อไปนี้
1. Finite Verb เป็นกริยาที่จะบอกว่าประโยคนั้น Tense อะไร
2. Finite Verb เป็นกริยาที่จะบอกว่า ประธานเป็นบุรุษที่ 1 บุรุษที่ 2 หรือ บุรุษที่ 3
3. Finite Verb เป็นกริยาที่จะบอกว่า ประธานเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์
ดังนั้น Finite Verb จึงหมายถึงเฉพาะคำกริยาที่ผันตามประธาน แสดงว่า กริยาใด ๆ ที่ไม่ผันตามประธานเขาเรียกว่า  Non-finite ครับ
ยกเว้น กริยาที่ถือว่าเป็น Finite Verb แต่ไม่ผันตามประธาน คือ can, could, will, would, shall, should, may, might, และ must ซึ่งกลุ่มนี้เราเรียกว่า Modal Auxiliary Verbs

โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค อีกครั้ง
• “They went to the mall today.”
• “The outfielder leaped for the baseball.”
• “Many people travel to the ocean in the summer.”
• “The sailboat glides over the water.”
• “The lion is the king of the jungle.”
จากตัวอย่างประโยค เราจะเห็นว่า Finite Verb หมายถึง รูปกริยาที่มาจาก Present Simple Tense กับ Past Simple Tense โดยถ้าผันในรูปปัจจุบัน กริยา จะเติม -s และไม่เติม s สำหรับรูปอดีตส่วนใหญ่ก็จะ เติม - ed ยกเว้นกริยาที่ผันผิดปกติ

ส่วนกริยาที่เรียกว่า Non-finite นั้น หมายถึงรูปกริยาที่ไม่ผันตามประธาน ซึ่ง กริยารูป Non-finite ที่ผมได้บอกไว้แล้วว่า ปกติมี 4 ประเภทด้วยกัน คือ
1. Infinitives
2. Gerunds
3. Present Participles 
4. Past Participles 

โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค อีกครั้ง ของการใช้ Infinitives

• “To run is often tiresome. (การวิ่งเป็นสิ่งน่าเบื่อ)
ประโยคนี้ กริยา is เป็น Finite Verb
ส่วน to run (การวิ่ง) เป็น Infinitives ทำหน้าที่เหมือนคำนาม
• “It takes a while to learn to ride a bicycle.”
(มันต้องใช้ เวลาระยะหนึ่ง ในการเรียนรู้ที่จะขี่จักรยาน)
ประโยคนี้ กริยา takes เป็น Finite Verb
ส่วน to learn กับ to ride เป็น Infinitives ทำหน้าที่เหมือนคุณศัพท์ไปขยายคำนาม while
• “I can’t swim yet.”
(ฉันยังว่ายน้ำไม่เป็น)
กริยา can เราเรียกว่า finite auxiliary verb
ส่วน swim เราเรียก bare infinitive ที่ต้องอาศัยกริยา can เพื่อบอกความหมายให้สมบูรณ์ขึ้น

โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค อีกครั้ง ของการใช้ Gerunds (-ing)

• “Seeing the ocean for the first time is incredible.”
(การเห็นมหาสมุทรครั้งแรก เป็น สิ่งเหลือเชื่อ)
• “Reading books is often very enjoyable.”
(การอ่านหนังสือ เป็นสิ่งที่สนุกมาก)
เราจะเห็นว่า Seeing กับ Reading ทำหน้าที่เหมือนคำนาม เพราะเป็น กริยารูป Non-finite

โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค อีกครั้ง ของ Present Participles

จริงอยู่ว่า กริยารูป Present Participles จะมีรูปเหมือนกับ  Gerunds แต่ว่ากริยารูป Present Participles จะทำหน้าที่ 2 ลักษณะ คือ
1. เพื่อเป็นส่วนประกอบของ Continuous Tense
2. เพื่อเป็นส่วนขยายของคำนาม หรือเรียกว่า attributive or predicative adjective

โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค อีกครั้ง
• “My daughter is watching me work.”
(ลูกสาวของฉัน กำลังดูฉันทำงาน)
ประโยคนี้ watching ถูกนำมาใช้กับกริยา is เพื่อสร้างเป็น Present Continuous Tense

• “The car sat rusting in the driveway for over a year.”
(รถได้จอดจนขึ้นสนิม ในถนนส่วนบุคคลมานานกว่า 1 ปี)
ประโยคนี้ มี sat เป็น Finite Verb
ส่วน rusting ใช้เพื่อเชื่อมกับกริยา sat เพื่อบอกว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นขนานกัน

• “I read a very engaging book last week.”
(ฉันได้อ่านหนังสือซึ่งน่าติดตามมาก เมื่อสัปดาห์ที่แล้วป
ประโยคนี้ engaging ทำหน้าที่เหมือนคำคุณศัพท์ที่ไปขยาย book
เราเรียก engaging ว่า Attributive Adjective

• “This book is engaging.”
(หนังสือนี้ เป็นหนังสือที่น่าติดตาม)
ประโยคนี้ engaging ทำหน้าที่เหมือนคำคุณศัพท์ที่ไปขยาย book
เราเรียก engaging ว่า Predicative Adjective  เพราะตามหลัง Linking Verb (is)

จากตัวอย่างเบื้องต้น นักศึกษาพอเข้าใจว่า กริยารูป Present Participles ที่เป็น Non-finite Verb ทำหน้าที่บอกความหมายที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่มันอยู่ในโครงสร้างของประโยค

โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค อีกครั้ง ของ Past Participles

เมื่อพูดถึงกริยารูป Past Participles นั้น นักศึกษาโดยทั่วไปมักจะรู้จักว่ากริยาช่องที่ 3 ที่เราเรียนกันมา แต่ในตำราฝรั่งเขาเรียกว่า กริยารูป Past Participles และถือว่าเป็น Non-finite Verb อีกกลุ่มครับ
โดยกริยารูป Past Participles จะนำไปใช้ในกรณีต่อไปนี้
1. เพื่อเป็นส่วนประกอบในการสร้าง Perfect Verb Tenses
2. เพื่อนำมาใช้เป็นเสมือนคำคุณศัพท์ทำหน้าที่ขยายคำนาม
3. เพื่อนำไปสร้างประโยคที่ประธานถูกกระทำ(Passive Voice)

โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค อีกครั้ง
• “I had already walked for many miles.” (โครงสร้าง Past Perfect Tense)
(ฉันได้เดินมาหลายไมล์เรียบร้อย)
ในประโยคนี้ กริยา walked กริยารูป Past Participles ซึ่งต้องอาศัยกริยาช่วย have เพื่อนำมาสร้างในการระบุเหตุการณ์ว่าเป็น Past Perfect Tense
•  “Those clothes  are washed.”
(เสื้อผ้าเหล่านั้นซักแล้ว)
ในประโยคนี้ washed เป็นรูป Past Participles
washed ทำหน้าที่เหมือนคำคุณศัพท์ขยาย clothes
เราเรียก washed ว่าเป็น Predicative Adjective  เพราะตามหลัง Linking Verb (are)

• “She carried the washed clothes upstairs.”
(หล่อนได้นำเสื้อผ้าที่ซักแล้วขึ้นไปชั้นบน)
ในประโยคนี้ carried เป็นกริยาที่อยู่ในรูปของ Past Tense
ส่วน washed เป็นกริยาที่อยู่ในรูปของ Past Participles (ช่อง 3 ของเรา)
และ washed ทำหน้าที่เสมือนคำคุณศัพท์ไปขยาย clothes
washed clothes แปลว่า เสื้อผ้าซึ่งซักเรียบร้อยแล้ว
เราเรียก washed ว่า Attributive Adjective

หมายเหตุ
Attributive Adjective หมายถึง คำคุณศัพท์ที่อยู่หน้าคำนามหรือคำสรรพนามที่ไปขยาย
Predicative Adjective หมายถึง คำคุณศัพท์ที่อยู่หลังคำนาม โดยมี Linking Verb เป็นตัวเชื่อม
*สำหรับเรื่องคำคุณศัพท์ผมจะอธิบายอย่างละเอียดไว้อีกส่วนนะครับ

สำหรับ หัวข้อนี้ผมจะค้างเรื่อง กริยา Finite และ Non-finite ไว้แค่นี้ก่อน โปรดติดตามตอนต่อไป ผิดพลาดส่วนไหน ขออภัย สวัสดีครับ

เรียบเรียงโดย
  • ติวเตอร์แบงค์
  • สถาบันติว PERFECT ซ.รามคำแหง 43/1
  • ติวเตอร์ประจำวิชา ENG, ENS, CEN2101, CEN2102, APR2101
  • ติดต่อติวเตอร์ โทร. 081-7269394 Line ID : sjbank
เอกสารอ้างอิง
  1. Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
  2. Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
  3. Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
  4. Raymond Murphy. 2019. English Grammar in Use, Cambridge University Press; 5 edition (24 Jan. 2019).
  5. Marianne Celce-Murcia (Author), Donna M. Brinton. 2013. Teaching English as a Second or Foreign Language. Cengage Learning, 4th edition.
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 14 ธ.ค. 2562