รูปแบบของกริยา (Verb forms) ที่เรียกว่า Light Verbs

ในทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ Light Verbs หมายถึง กริยาที่ไม่มีความหมายเฉพาะโดยตัวของมันเอง แต่ต้องอาศัยคำที่ตามมา Light Verbs จึงจะมีความหมายขึ้นมาได้ เช่น กริยา do, have, take เป็นต้น
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Do your homework!”
(ทำการบ้านของคุณ)
• “Why don’t we have something to eat?”
(ทำไมพวกเราไม่หาอะไรกิน)
• “I took a shower before breakfast.”
(ฉันอาบน้ำก่อนกินอาหารเช้า)
จากตัวอย่างประโยคเราจะเห็นว่า กริยา do, have, took เมื่ออยู่คำเดียวนั้น จะไม่มีความหมายอะไร แต่จะมีความหมายเมื่อมีคำอื่นตามมา เช่น take a shower แปลว่า อาบน้ำ เป็นต้น
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Please don’t make a mess.” (กรุณาอย่าทำสกปรก)
• “Please make your bed.” (กรุณาจัดเตียง)
จาก 2 ประโยค นักศึกษาจะพบว่า กริยา make ไม่มีความหมายว่า "ทำ"
แต่พอมีคำอื่นตามมา กริยา make ก็จะมีความหมายทันที เช่น
make a mess แปลว่า ทำสกปรก
make your bed แปลว่า จัดเตียง

รูปแบบของกริยา (Verb forms) ที่เรียกว่า Phrasal Verbs

คำว่า Phrasal Verbs หมายถึง กริยาที่มาคู่กับ Prepositions หรือ Particles เพื่อสร้างความหมายที่เฉพาะเจาะจง หมายความว่า Phrasal Verbs ไม่ได้มีความหมายตรงไปตรงมาหรือตรงตามคำแต่ละส่วน
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I can’t believe that you’re giving up!”
(ฉันไม่อยากเชื่อเลยว่าคุณจะยอมแพ้)
กริยา give up แปลว่า เลิก,ยอมแพ้
• “The plane took off an hour late.”
(เครื่องบินออกเดินทางช้า 1 ชม.)
กริยา took off มาจาก take off  ถ้าใช้กับเครื่องบิน แปลว่า ออก(เดินทาง)
• “He has been looking after his mother.”
(เขาดูแลแม่)
กริยา look after แปลว่า ดูแล, เลี้ยงดู
เรื่อง Phrasal Verbs นี่เป็นหัวข้อใหญ่นะครับนักศึกษา ต้องทำแยกไว้เฉพาะอีกหมวด แต่ตอนนี้ผมแค่อยากจะให้เรารู้ว่า Phrasal Verbs สร้างขึ้นจากอะไร และความหมายของ Phrasal Verbs นั้นเราจะพบว่ามีความหมายเฉพาะ หรือเรียกว่า idiomatic นั่นเอง

รูปแบบของกริยา (Verb forms) Conditional Verbs

คำว่า Conditional Verbs หมายถึง กริยาที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentences) เพื่อบอกว่าผลลัพธ์นั้นขึ้นอยู่กับอีกเงื่อนไขเป็นจริง เราอาจจะเคยเห็นมาบ้างแล้วว่า ในโครงสร้างของประโยคเงื่อนไขนั้น จะมี If เป็นคำเชื่อม(Conjunction) และใช้กริยา Modal Auxiliary Verbs  เป็นตัวบอกผลลัพธ์ที่สมมุติขึ้น นั่นเอง
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “The leaves will fall if the wind blows.”
(ใบไม้จะร่วง ถ้าลมพัด)
กริยา will fall กับ blows เราเรียกว่า Conditional Verbs (กริยาที่มีเงื่อนไข)
• “You would get better grades if you studied harder.”
(คุณจะได้เกรดที่ดีขึ้น ถ้าคุณเรียนหนักขึ้น)

รูปแบบของกริยา (Verb forms) ที่เรียกว่า Causative Verbs

คำว่า Causative Verbs หมายถึง กริยาที่นำมาใช้เพื่อแสดงว่า คนหรือสิ่งของ ทำให้เกิด (causing) การกระทำหรือเหตุการณ์อื่น โดยทั่วไปแล้ว Causative Verbs จะตามด้วยคำนาม หรือคำสรรพนาม และ กริยารูป infinitive
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “He let his dog run through the field.”
(เขาปล่อย สุนัขของเขาวิ่งผ่านสนาม)
ตัวอย่างนี้ กริยา let เป็น Causative Verbs เพราะเป็นกริยาที่เป็นเหตุให้ dog มัน run (วิ่ง)
• “The new dress code forced the students to wear different shoes.”
(ระเบียบการแต่งกายใหม่ บังคับให้นักเรียนต้องสวมรองเท้าที่แตกต่างกัน)
• “The law requires a person to obtain a permit before hunting on public land.”
(กฎหมายกำหนดให้บุคคลต้องได้รับการอนุญาตก่อนการล่าสัตว์ในพื้นที่สาธารณะ)
เรื่อง Causative Verbs มีมากกว่านี้ครับ แค่ยกเป็นตัวอย่างพอเข้าใจก่อน ณ ตอนนี้

รูปแบบของกริยา (Verb forms) ที่เรียกว่า Factitive Verbs

คำว่า Factitive Verbs หมายถึง กริยาที่ใช้เพื่อบอก สภาวะ หรือ สถานะ ของคน สถานที่หรือสิ่งของ ที่เป็นผลมาจากการกระทำของกริยา
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “She was appointed commissioner by the mayor.”
(หล่อนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมาธิการโดยนายกเทศมนตรี
เราเรียกกริยา appointed ว่าเป็น Factitive Verbs
• “The committee elected Mr. Fuller chairman of the board.”
(คณะกรรมการได้เลือกให้ Mr. Fuller เป็นประธานบอร์ด)
• “The jury judged the defendant not guilty.”
(คณะลูกขุนได้ตัดสินให้จำเลยพ้นผิด)

รูปแบบของกริยา (Verb forms) ที่เรียกว่า Reflexive Verbs

คำว่า Reflexive Verbs หมายถึง รูปกริยาที่มีประธานและกรรมตรงของกริยาเป็นคนเดียวกัน ซึ่งกรรมของ Reflexive Verbs จะเป็น Reflexive Pronouns  ซึ่งผมได้อธิบายไว้แล้วในหัวข้อคำสรรพนาม ให้นักศึกษาลองไปอ่านดูนะครับ
โปรดพิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I accidentally burned myself with the hairdryer.”
(ฉันเผาตัวเองโดยไม่ได้เจตนาด้วยที่เป่าผม)
**ทำไฟไหม้ตัวเอง ด้วยที่เป่าผม)
• “The problem seems to have worked itself out in the end.”
(ปัญหานั้น ดูเหมือนได้ลุกลามตัวมันเองในที่สุด)

รูปแบบของกริยา (Verb forms) ที่เรียกว่า Conjugation

เมื่อพูดถึงกริยาแล้ว เราคงต้องพูดเกี่ยวกับการกระจายหรือผันคำกริยา (Conjugation) เรื่องนี้ คือ การเปลี่ยนรูป(inflection) เพื่อสร้างความหมายใหม่ตามบริบทต่าง ๆ  โดยทั่วไปแล้วการผันคำกริยา (Conjugation) เรามักจะหมายถึง Tense  แต่การเปลี่ยนรูปของกริยาโดยส่วนใหญ่แล้วขึ้นอยู่กับว่ากริยานั้นมีการนำไปใช้อย่างไรในประโยค
ในทางไวยากรณ์นั้น การเปลี่ยนรูปของคำ เราเรียกว่า Inflection สำหรับการเปลี่ยนรูปของกริยาตาม Tense ,Voice ... ราจะเรียกว่า Conjugation  ส่วนการเปลี่ยนรูปของคำนาม คำคุณศัพท์ คำสรรพนาม และคำกริยาวิเศษณ์ เราเรียกว่า Declension นะครับ

สรุป ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ผมได้จำแนกรูปแบบหรือประเภทของคำกริยาออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ว่าจะนำไปใช้เกี่ยวกับเรื่องอะไรในภาคไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เป็นเพียงแค่สังเขปเท่านั้น หัวข้อต่อไปผมก็ลงรายละเอียดลึกลงไปอีกตามลำดับ เริ่มตั้งแต่ หัวข้อแรก คือ Finite Verbs กับ Non-Finite Verb เป็นลำดับต่อไป และผมเชื่อว่า ถ้านักศึกษาได้ทำความเข้าใจตั้งแต่เริ่ม ทุกคนสามารถเข้าใจไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้ไม่ยาก แม้จะไม่มีพื้นฐานมาเลยก็ตาม ขอเพียงเราศึกษาให้เป็นลำดับขั้นตอน หากเราอ่านข้ามขั้นตอน มันก็จะยากที่จะทำความเข้าใจถึงหัวข้อที่ซับซ้อนขึ้นไปอีกได้
สำหรับวันนี้คงค้างไว้เพียงแค่นี้ ผิดพลาดประการใด ต้องขออภัย สวัสดีครับ

เรียบเรียงโดย
  • ติวเตอร์แบงค์
  • สถาบันติว PERFECT ซ.รามคำแหง 43/1
  • ติวเตอร์ประจำวิชา ENG, ENS, CEN2101, CEN2102, APR2101
  • ติดต่อติวเตอร์ โทร. 081-7269394 Line ID : sjbank
เอกสารอ้างอิง
  1. Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
  2. Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
  3. Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
  4. Raymond Murphy. 2019. English Grammar in Use, Cambridge University Press; 5 edition (24 Jan. 2019).
  5. Marianne Celce-Murcia (Author), Donna M. Brinton. 2013. Teaching English as a Second or Foreign Language. Cengage Learning, 4th edition.
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 14 ธ.ค. 2562