คำสรรพนามบ่งชี้เฉพาะ (Demonstrative Pronouns)

นิยาม
Demonstrative Pronouns หมายถึงคำสรรพนามที่ใช้แทนคำนาม (Nouns) หรือ วลีที่หมายถึงคำนาม (Noun Phrases) เพื่อเป็นการแทนให้รู้ว่า สิ่งนั้น อยู่ใกล้ หรือ อยู่ไกล จากตัวผู้พูด
โดยปกติถ้าในภาษาพูดนั้น การที่เราจะบอกว่าสิ่งนั้นอยู่ใกล้หรือไกล ผู้พูดก็อาจจะใช้ท่าทางชี้เพื่อบอกทิศทางประกอบเพื่อความชัดเจน แต่ในภาษาเขียน เราจะใช้ Demonstrative Pronouns แทนพวก คำนาม แนวคิด หรือ ประเด็น ที่ผู้เขียนต้องการระบุความชัดเจน

หมายเหตุภาษาไทย
เนื่องจากการนิยามศัพท์ทางไวยากรณ์จากภาษาไทยมาเป็นภาษาอังกฤษนั้น ค่อนข้างมีปัญหาสำหรับผม มีบางส่วนเท่านั้นที่สามารถเทียบภาษาไทยได้ชัดเจน เนื่องจากเราเรียนภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการสื่อสารกับเจ้าของภาษา ดังนั้น เราก็ต้องยึดตามความหมายของเจ้าของภาษาเพื่อจะได้สื่อความหมายที่ตรงกัน
วิธีการปฏิบัติสำหรับคนไทยที่จะเรียนภาษาอังกฤษ คือ
1. อย่าพยายามแปลภาษาอังกฤษเป็นไทย เพราะจะทำให้สมองเราทำงานสองครั้ง
2. อย่าพยายามเปรียบเทียบโครงสร้างภาษาอังกฤษกับภาษาไทย เพราะมีโครงสร้างต่างกัน
3. พยายามนึก คิด อะไรที่เป็นภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างประโยค
4. การจำภาษาอังกฤษควรจำเป็นประโยค อย่าท่องเป็นคำ ๆ เพราะถ้าท่องเป็นคำ เราจะไม่รู้ว่าคำ ๆ นั้นจะนำไปใช้ในกรณีไหน หรือ บริบทไหน

คำสรรพนามบ่งชี้เฉพาะ (Demonstrative Pronouns) มีดังต่อไปนี้
this - นี้
that - นั้น
these - เหล่านี้
those - เหล่านั้น
none - ไม่มีเลย
such - เช่นนั้น
neither - ไม่ทั้งคู่

คำสรรพนามบ่งชี้เฉพาะ (Demonstrative Pronouns) หลัก มี 4 คำ เพื่อบอกว่าบางสิ่ง เป็นเอกพจน์ หรือ พหูพจน์ และ อยู่ใกล้ หรือ ไม่ใกล้จากตัวของผู้พูด
ยกตัวอย่างประโยค
• “This isn’t mine.” (แทนนามเอกพจน์ ซึ่งอยู่ใกล้)
(นี้ไม่ใช่ของฉัน)
• “Give me that.” (แทนนามเอกพจน์ ซึ่งอยู่ไม่ใกล้)
(เอานั้นมาให้ฉัน)
• “These are really gross.” (แทนคำนามพหูพจน์ ซึ่งอยู่ใกล้)
(เหล่านี้คือยอดรวมจริง)
• “I forgot to bring those.” (แทนคำนามพหูพจน์ ซึ่งอยู่ไม่ใกล้)
(ฉันลืมนำสิ่งเหล่านั้นมา)

ตัวอย่างประโยคที่ใช้กับสิ่งที่จับต้องไม่ได้
• “I really love this!” (ฉันชอบอันนี้จริง ๆ)
(หมายถึง สิ่งใกล้ตัว เหตุการณ์ปัจจุบัน หรือ ความคิดเห็นเมื่อเร็ว ๆ นี้)
• “That was so cool.” (ก่อนนั้นเป็นสิ่งที่เยี่ยมมาก)
(หมายถึง สิ่งไกล เหตุการณ์ในอดีต หรือความคิดเก่า ๆ)
• “These  are the times I remember to stay calm.”
(เหล่านี้คือช่วงเวลาที่ฉันจำว่าจะอยู่อย่างสงบ)
(หมายถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้)
• “Those were some fantastic days, right?”
(เหล่านั้นได้เป็นวันที่วิเศษ จริงไหม)
(หมายถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอดีต)
*สังเกตว่า แม้ว่า Demonstrative Pronouns จะไม่ได้หมายถึงสิ่งที่จับต้องได้ กริยาก็จะต้องผันตามรูปของสิ่งที่อ้างถึง

หน้าที่ต่าง ๆ ของ Demonstrative Pronouns อื่น ๆ

ยังมี Demonstrative Pronouns อื่น ๆ อีก แต่ปกติใช้กันน้อย ได้แก่ none, such, neither
สำหรับ none กับ such ใช้แทนได้ทั้งรูปเอกพจน์ และพหูพจน์
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “None of this makes sense.” (อย่างนี้ไม่มีเหตุผลเลย)
กรณีนี้ none เป็นเอกพจน์ เพราะว่า this เป็นเอกพจน์
• “None of the people here seem to like the cake I made.”
(คนที่นี่ดูเหมือนไม่ชอบเค้กที่ฉันทำเลย)
กรณีนี้ none เป็นพหูพจน์ เพราะว่า the people เป็นพหูพจน์
Such is the way of life.” (อย่างนั้น คือ วิถีของชีวิต)
กรณีนี้ such เป็นเอกพจน์ เพราะ the way of life เป็นเอกพจน์
• “Such are the rules.” (อย่างนั้น เป็นกฎ)
กรณีนี้ such เป็นพหูพจน์ เพราะว่า rules เป็นพหูพจน์

สำหรับ neither เป็น Demonstrative Pronouns ที่มีรูปเอกพจน์เท่านั้น ไม่ว่านามจะพหูพจน์
พิจารณาตัวอย่างประโยค
Neither sounds good to me.” (ทั้งคู่นั้นไม่ดีต่อฉัน)
“I think neither of the twins wants a babysitter.” (ฉันคิดว่าฝาแแฝดทั้งคู่นั้นไม่ต้องการพี่เลี้ยง)
Neither of his parents work at the firm.”

การบรรยายบุคคลด้วย Demonstrative Pronouns

นอกจากเราจะใช้ Demonstrative Pronouns แทน สิ่งของ เหตุการณ์ สถานที่ เวลา หรือ แนวคิดแล้ว เรายังสามารถใช้ Demonstrative Pronouns บรรยายบุคคลได้ แต่ต้องมีคำนามอื่นในประโยคอยู่ด้วยเสมอ
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “That is Amy standing by the door.”
(คนนั้นคือ เอมี่ที่กำลังยืนอยู่ข้างประตู)
• “This must be Jake.”
(คนนี้ต้องเป็น เจค)
• “That appears to be the woman I saw earlier.”
(คนนั้นดูเหมือนจะเป็นผู้หญิงคนที่ฉันได้เห็นมาก่อน)
• “Who is that?”
(คนนั้น คือ ใคร)
“Go talk to that.” (ไม่มี antecedent)
“Go talk to that woman.” (ไปคุยกับผู้หญิงคนนั้น)
That is quite handsome.” (ไม่มี antecedent)
That man is quite handsome.” (ผู้ชายคนนั้นหล่อทีเดียว)

ความแตกต่างระหว่าง Demonstrative Pronouns กับ  Demonstrative Adjectives และ Determiners

เนื่องจากหัวข้อเกี่ยวกับ Demonstrative Adjectives และ Determiners เป็นหัวข้อที่ผมยังไม่ได้กล่าวถึง แต่ตอนนี้ ขอให้นักศึกษาดูผ่าน ๆ ไปก่อน
เนื่องจากว่ายังมีการนำคำที่เป็น Demonstrative Pronouns ใช้เป็น Demonstrative Adjectives และ Determiners แต่จริง ๆ แล้วการใช้นั้นมีความแตกต่างกันมากทีเดียว เนื่องจาก Demonstrative Pronouns เช่น this, that, these, those, such, และ neither ใช้สำหรับแทนคำนาม แต่เมื่อใช้เป็น Demonstrative Adjectives และ Determiners คำพวกนี้จะเป็นส่วนขยายคำนาม (modify nouns)

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “She wants to photograph this.” (demonstrative pronoun)
• “She wants to photograph this painting.” (demonstrative adjective)
• “That is one of my favorites.” (demonstrative pronoun)
• “That book is one of my favorites.” (demonstrative adjective)
• “These taste the best.” (demonstrative pronoun)
• “These chocolates taste the best.” (demonstrative adjective)
• “He wanted to try those.” (demonstrative pronoun)
• “He wanted to try those recipes.” (demonstrative adjective)
• “Such  is the man’s poor choice.” (demonstrative pronoun)
• “Such men  make poor choices.” (determiner)
• “Neither is mine.” (demonstrative pronoun)
• “Neither locket is mine.” (determiner)
มีแต่ none เท่านั้นที่เป็น demonstrative pronoun แต่ไม่มีหน้าที่ในส่วนของ demonstrative adjective
พิจารณาตัวอย่างประโยค
✔ “I’ll eat none.”
✖ “I’ll eat none sandwiches.”

สำหรับโพสท์นี้ จะขยายความเรื่องคำสรรพนามไว้เพียงแค่นี้ก่อน ยังมีอีกหลายประเด็นเกี่ยวกับคำสรรพนาม โปรดติดตามตอนต่อไป สวัสดีครับ

เรียบเรียงโดย
  • ติวเตอร์แบงค์
  • สถาบันติว PERFECT ซ.รามคำแหง 43/1
  • ติวเตอร์ประจำวิชา ENG, ENS, CEN2101, CEN2102, APR2101
  • ติดต่อติวเตอร์ โทร. 081-7269394 Line ID : sjbank
เอกสารอ้างอิง
  1. Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
  2. Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
  3. Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
  4. Raymond Murphy. 2019. English Grammar in Use, Cambridge University Press; 5 edition (24 Jan. 2019).
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 7 ธ.ค. 2562