คำสรรพนามแทนบุคคล ที่เป็นคำสรรพนามแสดงถึงประธานเป็นผู้รับผลการกระทำ (Reflexive Pronouns)

นิยาม
Reflexive Pronouns หมายถึง คำสรรพนามที่ใช้ในกรณีเมื่อ บางคนหรือบางสิ่ง เป็นทั้งประธานและเป็นกรรมของกริยาตัวเดียวกัน นั่นคือ ทั้งคู่เป็นผู้สั่งกริยาและรับผลกริยาเอง ถ้าผมบอกว่า "ประธานกระทำอัตวินิบาตกรรม" ประมาณนั้น เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีกริยาที่สามารถย้อนผลการกระทำให้กับประธานได้ หรือเรียกว่า Reflexive Verb 

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I heard you  speaking.” (ฉันได้ยินเสียงคุณกำลังพูด)
ประธานของประโยค คือ I
กริยาของประโยค คือ  heard
กรรมของกริยา คือ you
กรณีนี้ ประธานและกรรม ไม่เป็นคนเดียวกัน

“I heard myself speaking.” (ฉันได้ยินเสียงตัวของฉันกำลังพูด)
ประธานของประโยค คือ I
กริยาของประโยค คือ  heard
กรรมของกริยา คือ myself
กรณีนี้ ประธานและกรรม เป็นคนเดียวกัน

Reflexive Pronouns มีรูปดังต่อไปนี้
myself - ตัวของฉันเอง
ourselves - ตัวของพวกเราเอง
yourself - ตัวของคุณเอง
yourselves - ตัวของพวกคุณเอง
herself - ตัวของหล่อนเอง
himself - ตัวของเขาเอง
itself - ตัวของมันเอง
themselves - ตัวของพวกเขาเอง
oneself - ตัวของคนเราเอง
สำหรับตัวสุดท้ายนั้น มาจากคำสรรพนามไม่ชี้เฉพาะ ใช้ในกรณีไม่ระบุเพศ ซึ่งมีรูปแสดงความเป็นเจ้าของ (one's) แต่ one ไม่เป็นสรรพนามที่ใช้แทนบุคคล

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• I wish you could hear yourselves right now!
(ฉันหวังว่าคุณจะได้ยินเสียงตัวคุณเอง ณ ขณะนี้)
• She admitted to herself that she was wrong.
(หล่อนได้ยอมรับตัวหล่อนเองที่หล่อนผิด)
• The vole hides itself beneath the ground for safety.
(หนูนาซ่อนตัวมันเองใต้พื้นเพื่อความปลอดภัย)
• The players have really outdone themselves today!
(ผู้เล่นได้ทำพวกเขาเองเหนือกว่าจริง ๆ วันนี้)
• One should strive to better oneself every day.
(คนเราควรมีมานะตัวเราเองให้ดีขึ้นทุก ๆ วัน)

ข้อระวัง
ถึงแม้ว่า Reflexive Pronouns มีฐานะเป็นคำนาม แต่ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยาได้เท่านั้น เราไม่สามารถนำไปเป็นประธานได้

พิจารณาตัวอย่างประโยค
“John and myself will be in attendance”
(จอห์นและตัวฉันเองจะเข้าร่วมงาน)
ผิดเพราะว่า จอห์นและผู้พูด เป็นประธานของกริยาในประโยค
“John and I will be in attendance.”
(จอห์นและฉันจะเข้าร่วมงาน)

คำสรรพนามแทนบุคคล ที่เป็นคำสรรพนามแสดงถึงการเน้นย้ำประธาน (Intensive Pronouns)

นิยาม
Intensive Pronouns จะมีรูปเหมือนกับ Reflexive Pronouns แต่แตกต่างกันที่ว่า Intensive Pronouns ไม่มีหน้าที่ทางไวยากรณ์ใด ๆ ในประโยค โดย Intensive Pronouns เป็นคำที่ไปเพิ่มการเน้นย้ำโดยการกล่าวซ้ำประธานของประโยค
โดยทั่วไปแล้วเราจะวาง Intensive Pronouns ไว้หลังประธาน หรือหลังกรรมตรงของกริยา

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “The surgeon general himself will oversee the operation.”
(เจ้ากรมแพทย์จะตรวจดูการผ่าตัดด้วยตัวเขาเอง)
• “They themselves indicated that the transactions might be illegal.”
(พวกเขาได้แสดงให้เห็นด้วยตัวของพวกเขาเองว่า การซื้อขายอาจจะผิดกฎหมาย)
• “He did it himself, much to his father’s surprise.”
(เขาได้ทำมันด้วยตัวเขาเองมากจนถึงความประหลาดใจของพ่อของเขา)
• “We designed the album artwork ourselves.”
(พวกเราได้ออกแบบงานศิลปะที่เป็นอัลบัมด้วยตัวของพวกเราเอง)
• “I can operate the TV remote myself, thank you very much.”
(ฉันสามารถใช้รีโมททีวีด้วยตัวฉันเองได้ ขอบคุณมาก)
• “Our son can do the project himself, Hank.”
(ลูกชายของเราสามารถทำโครงงานด้วยตัวเขาเอง , แฮงค์)

ความแตกต่างระหว่าง Reflexive Pronouns กับ Intensive Pronouns

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I saw myself in the mirror.” (เป็น Reflexive Pronouns)
(ฉันได้เห็นตัวฉันเองในกระจก)
• “She asked herself if it was worth the hassle.” (เป็น Reflexive Pronouns)
(หล่อนได้ถามตัวหล่อนเองว่ามันควรค่าต่อการทะเลาะหรือไม่)
• “The actor played himself in the film about his life.” (เป็น Reflexive Pronouns)
(นักแสดงได้เล่นเป็นตัวเขาเองในหนังเกี่ยวกับชีวิตของเขา)
• “John played the tuba himself.” (เป็น Intensive Pronouns)
(จอห์นได้เล่นแตรใหญ่นั้นด้วยตัวเขาเอง)
เมื่อนักศึกษาพิจารณาประโยคแล้วจะพบว่าจะพบว่า ทั้ง 2 มีโครงสร้างและความหมายไม่เหมือนกัน
พิจารณาประโยคเดิม
• “John played the tuba. (จอห์นได้เล่นแตรใหญ่นั้น)
พิจารณาประโยคใหม่
• “John played the tuba himself.” (จอห์นได้เล่นแต่ใหญ่นั้นด้วยตัวเอง)
เพื่อเป็นการย้ำให้ผู้ฟังรู้ว่า คนที่เล่นแตรนั้นคือจอห์น เป็นเขาแน่นอน ไม่ใช่คนอื่นเล่น

ลองพิจารณาประโยคในภาษาไทย
1. ท่านนายกรัฐมนตรีจะออกมาแถลงข่าว
2. ท่านนายกรัฐมนตรีจะออกมาแถลงข่าวด้วยตัวท่านเอง
ประโยคที่ 2 เป็นการเน้นย้ำว่า ท่านจะมาแถลงข่าวด้วยตัวเอง

สรุปสั้น ๆ และชัด ๆ กันนะครับ
Reflexive Pronouns เป็นคำสรรพนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา และมีฐานะเป็นคำนาม
Intensive Pronouns เป็นคำสรรพนามที่ไม่มีหน้าที่ใด ๆ ในประโยค เป็นเพียงการกล่าวย้ำประธาน
(นักเรียนหลายคนเข้าใจว่ามันเหมือนกัน ดูดี ๆนะว่า รูปมันเหมือนกัน แต่ความหมายต่างกันโดยสิ้นเชิง)

สำหรับโพสท์นี้ จะขยายความเรื่องคำสรรพนามไว้เพียงแค่นี้ก่อน ยังมีอีกหลายประเด็นเกี่ยวกับคำสรรพนาม โปรดติดตามตอนต่อไป สวัสดีครับ

เรียบเรียงโดย
  • ติวเตอร์แบงค์
  • สถาบันติว PERFECT ซ.รามคำแหง 43/1
  • ติวเตอร์ประจำวิชา ENG, ENS, CEN2101, CEN2102, APR2101
  • ติดต่อติวเตอร์ โทร. 081-7269394 Line ID : sjbank
เอกสารอ้างอิง
  1. Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
  2. Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
  3. Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
  4. Raymond Murphy. 2019. English Grammar in Use, Cambridge University Press; 5 edition (24 Jan. 2019).
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 6 ธ.ค. 2562