การใช้คำสรรพนามเกี่ยวกับบุคคล (Personal Pronouns) แทนบุรุษที่ 3

ในการใช้ภาษาอังกฤษยุคใหม่นั้นจะกลายเป็นภาษาที่ไม่กำหนดเพศ (ungendered language) มากขึ้น ในขณะที่ภาษาอื่นคำนามอาจจะแบ่งออกเป็นเพศหญิง/เพศชาย แต่คำนามในภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ไม่มีเพศ (neutral)
ก่อนพูดเนื้อหาต่อไป เรามาสรุปเกี่ยวกับคำสรรพนามแทนบุคคลในภาษาอังกฤษได้ดังนี้
1. สรรพนามแทนบุคคล ที่แบ่งเป็นเพศและเปลี่ยนแปลงตามเพศได้แก่
สรรพนามที่ใช้แทนบุรุษที่ 3 เอกพจน์ ได้แก่
เพศหญิง เอกพจน์ บุรุษที่ 3 คือ she, her, hers, herself     (หล่อน)
เพศชาย เอกพจน์ บุรุษที่ 3 คือ he, him, his, himself     (เขา)
2. สรรพนามแทนบุคคล ที่ไม่แบ่งเป็นเพศและไม่เปลี่ยนแปลงตามเพศได้แก่
บุรุษที่ 3 เอกพจน์(ไม่ระบุเพศ) คือ  it, its, its own, itself  (มัน)
บรุษที่ 3 พหูพจน์ (ไม่ระบุเพศ) คือ they, them, their, theirs, themselves (พวกเขา)
บุรุษที่ 1 เอกพจน์ (ไม่ระบุเพศ) คือ I, me, my, mine, myself  (ฉัน)
บุรุษที่ 1 พหูพจน์ (ไม่ระบุเพศ) คือ we, us, our, ours, ourselves   (พวกเรา)
บุรุษที่ 2 เอกพจน์/พหูพจน์ คือ you,  you,  your,  yours,  yourself   (คุณ/พวกคุณ)
              ยกเว้น yourselves ใช้แทนบุรุษที่ 2 พหูพจน์
นอกจากนี้แล้ว ในกรณีที่ บุรุษที่ 3 เอกพจน์ (ไม่รู้เพศ) จะใช้ they, them, their, theirs, themselves เป็นกรณีพิเศษ หรือ เรียกว่า Singular They ครับ
พิจารณาตัวอย่างประโยคการใช้ Singular They
• “If anyone needs extra help with their studies, they should feel free to see me after class.”
(ถ้าใคร ๆ ต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเรียนของพวกเขา พวกเขาควรจะรู้สึกมีอิสระที่จะพบฉันหลังจากเลิกเรียน)
เราจะพบว่า คำนามที่มีอยู่ก่อน คือ anyone (ใครบางคน) เป็นรูปเอกพจน์
แต่เขาใช้สรรพนาม their และ they แทน ก็เพราะว่า เราไม่ทราบว่า anyone เป็นผู้ชายหรือ ผู้หญิง เราจึงไม่สามารถใช้ she /he /her/him แทนได้ ครับ

การใช้คำสรรพนามแทนบุรุษที่ 3

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I really love Jenny. She is my best friend.”
(ฉันชอบเจนนี่จริง ๆ หล่อน เป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของฉัน)
(She ใช้แทน Jenny)

• “Danny said that he would lend me his jacket for tonight.”
(แดนนี่บอกว่า เขาจะให้ฉันยืมเสื้อแจ๊คเก็ตของเขาสำหรับคืนนี้)
(ใช้ he, his แทน Danny)

• “Look at that cute dog wagging his tail!”
(ดูสิ สุนัขน่ารักตัวนั้น กำลังกระดิกหางของเขา!)
(ใช้ his แทน dog กรณีเป็นสัตว์เลี้ยงและรู้เพศ)

• “Bill and Samantha told me they were coming over later.”
(Bill และ Samantha ได้บอกฉันว่า พวกเขาจะมาเยี่ยมในภายหลัง)
(ใช้ they แทน Bill และ Samantha)

• “You should not try to control love, but rather be guided by it.”
(คุณไม่ควรพยายามที่จะควบคุมความรัก แต่ควรทำตามมันมากกว่า)
(ใช้ it แทน love)

• “I’ve got the report for you. I’ll just set it on your desk.”
(ฉันได้รายงานนั้นมาให้คุณ ฉันจะตั้งมันไว้บนโต๊ะของคุณ)
(ใช้ it แทน the report)

• “The horse galloped by, its hooves pounding the ground violently.”
(ม้านั้นถูกควบ, เกือกของมันทำเสียงกระทบพื้นอย่างแรง)
(ใช้ its แทน The horse)  เราใช้ it แทนสัตว์ที่ไม่ถือว่าเป็นสัตว์เลี้ยง (pet)

• “The parade floats  are spectacular!  I love  watching  them go down the street.”
(กองทหารเดินขบวนน่าตื่นตา ฉันชอบดูพวกเขาเดินขบวนตามถนน)
(ใช้ them แทน floats )

การใช้คำสรรพนามแทนนั้น ชื่อมันก็บอกว่าใช้แทนคำนามที่มีอยู่ก่อน (Antecedent) ในขณะที่คำนามที่มีอยู่ก่อนนั้น อาจมีฐานะเป็นประธาน หรือ กรรมของประโยคก็ได้ ในการทำข้อสอบต้องพิจารณาให้ดีครับ

การใช้คำสรรพนามแทนบุรุษที่ 3 ที่เป็นประเทศหรือเรือ

เราจะพบว่า มีการใช้คำสรรพนามแทนชื่อประเทศต่าง ๆ หรือ เรือ
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “The SS Freedom is a good ship. She has certainly seen her fair share of adventure.”
จะเห็นว่า เขาจะใช้คำสรรพนาม she และ her แทนชื่อเรือ SS Freedom

• “The Prime Minister promised that the United Kingdom would be returned to her former glory during his term.”
จะเห็นได้ว่า เขาจะใช้ คำสรรพนาม her แทนประเทศ United Kingdom

การใช้คำสรรพนามแทนบุคคลตามฐานะของการทำหน้าที่ (Case)

ในการใช้คำสรรพนามแทนบุคคลนั้น จะเปลี่ยนรูปตามการทำหน้าที่ 4 ลักษณะมีดังนี้
1. Subject - ผู้กระทำ(ประธานของกริยา)
2. Object - เป็นกรรมของกริยา
3. Possessive determiner - เป็นส่วนบ่งชี้ความเป็นเจ้าของ(คุณศัพท์แสดงความเป็นเจ้าของ)
4. Possessive pronoun - เป็นสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ

คำสรรพนามที่ใช้แทนคำที่มีฐานะเป็น Subject (ผู้กระทำ)

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I know that she said that.” (ฉันรู้ว่าหล่อนได้พูดดังกล่าว)
จะเห็นว่า เราใช้ คำสรรพนามแทน I และ she เพราะว่า ทั้งคู่มีฐานะเป็นผู้กระทำ

• “He told her to be quiet.” (เขาได้บอกให้หล่อนเงียบ)
ประโยคนี้ เราใช้คำสรรพนาม He เพราะว่าเขาเป็นผู้กระทำ หรือเป็นประธานของประโยค
ในขณะที่เราใช้คำสรรพนาม her เพราะหล่อนมีฐานะเป็นกรรมของกริยา told

คำสรรพนามที่ใช้แทนคำที่มีฐานะเป็น Object (กรรม)

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Please send them in straight away.” (กรุณาส่งไปให้พวกเขาทันที)
กรณีนี้เราใช้คำสรรพนาม them เพราะมีฐานะเป็นกรรมตรง (Direct Object) ของกริยา send

• “Take him away!” (นำตัวเขาออกไป!)
กรณีนี้เราใช้คำสรรพนาม him เพราะมีฐานะเป็นกรรมตรง (Direct Object) ของประโยค

• “Please tell me any news immediately!” (โปรดแจ้งข่าวให้ฉันโดยทันที!)
เราจะเห็นว่าในประโยคนี้ เราจะพบว่า
คำว่า any news มีฐานะเป็นกรรมตรง (Direct Object) ของกริยา tell
คำสรรพนาม me มีฐานะเป็นกรรมรองของประโยค (Indirect Object)
อธิบายเพิ่มเติม สำหรับนักศึกษาที่สับสนระหว่างกรรมตรงกับกรรมรอง
กริยาของประโยค คือ tell (บอก)
กรรมตรงของกริยา คือ news (ข่าว)
กรรมรองของกริยา คือ  me (ตัวฉัน) เพราะฉันเป็นผู้รับ news จากการกระทำของกริยา tell
เพียงแต่ในประโยคภาษาอังกฤษนิยมวางกรรมรองไว้ก่อนกรรมตรง ก็เท่านั้นเองครับ

• “I can’t believe he brought you flowers. How sweet!”
(ฉันไม่อยากเชื่อว่าเขาได้นำดอกไม้มาให้คุณ ช่างน่ารักจริง!)
กรณีนี้ก็เช่นเดียวกัน flowers (ดอกไม้) เป็นกรรมตรงของกริยา brought
ส่วนคำสรรพนาม you มีฐานะเป็นกรรมรอง

• “You said to give you the money as soon as I had it.”
(คุณได้บอกว่าจะให้เงินคุณ ทันทีที่ฉันได้มัน)
จากประโยคข้างต้น จะพบว่า You และ I เป็นคำสรรพนามมีฐานะเป็นประธาน (Subject)
ส่วน you มีฐานะเป็นกรรมรอง และ it มีฐานะเป็นกรรมตรง

การใช้คำสรรพนามแทนบุคคลหลังกริยาเชื่อม (Linking Verbs)
สำหรับเรื่องนี้มักเป็นสิ่งที่นักเรียนสับสนในกรณีที่เราใช้คำสรรพนามหลังกริยาเชื่อม เป็นส่วนเติมเต็มของประธาน (Subject Complement) เนื่องจากการใช้ Linking Verbs มีลักษณะการใช้ที่แตกต่างจากกริยากลุ่มอื่น และอาจมีการเข้าใจผิดและใช้ผิดพลาดได้
พิจารณาตัวอย่างประโยค
“It was me who did this.”
“It was I who did this.” (มันคือ ฉันผู้ได้ทำสิ่งนี้)
นักเรียนพึงระวังไว้เสมอว่าหลัง Linking Verbs จะไม่มีกรรมมารองรับ จะมีแต่ส่วนเติมเต็มของประธาน
จากประโยคข้างต้นเราจะเห็นว่า คำสรรพนาม I มีฐานะเป็นประธาน

Me was the one* who did this.”
I was the one* who did this (ฉันคือคนผู้ได้ทำสิ่งนี้)
ประโยคนี้ก็เช่นเดียวกัน เนื่องจาก one ในที่นี้หมายถึงตัวของผู้พูดเองว่าได้ทำบางสิ่ง
เราจะใช้ me ไม่ได้ เพราะผู้พูดไม่มีฐานะเป็นกรรมในประโยคนั่นเอง ครับนักเรียน

• “Her husband took all the credit, but it was she who did all the work.”
(สามีของหล่อนได้เอาเครดิตทั้งหมด แต่มันเป็นหล่อนผู้ซึ่งได้ทำงานนั้นทั้งหมด)
จะเห็นว่าหลัง Linking Verbs สรรพนามแทนบุคคลจะอยู่ในรูปของ Subject เสมอ

• “It was they who assured us that there would be no problems.”
(มันคือ พวกเขาผู้ที่ทำให้เรามันใจว่านั่นจะไม่เป็นปัญหา)

หมายเหตุ
ในภาษาพูดเราอาจจะเคยได้ยินประโยคว่า
“it’s me”  (มันคือฉัน)
“that was her” (นั่นเป็นหล่อน)
แต่ในภาษาเขียนหรือภาษาทางการที่ถูกต้องนั้น จะเขียนแบบนั้นไม่ได้ ก็เพราะว่า ส่วนที่ตามหลัง กริยา be จะเป็นคำสรรพนามที่มีรูปเป็น Subjective case ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเติมของประธาน (Subject Complement)  สำหรับรายละเอียดเกี่ยว Linking Verbs ผมจะพูดอย่างละเอียดไว้อีกบทนะครับ

การใช้คำสรรพนามแทนบุคคล ในฐานะแสดงถึงความเป็นเจ้าของ (Possessive Case)

โดยรูปของคำสรรพนามแทนบุคคลนั้น เมื่อแสดงความเป็นเจ้าของจะมีการเปลี่ยนรูป โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ Possessive Determiners และ Possessive Pronouns
โดย Possessive Determiners จะทำหน้าที่เหมือนกับคำคุณศัพท์ (Adjective) เป็นตัวขยายคำนาม ไม่สามารถทำหน้าที่เป็นคำนามในประโยคได้
พิจารณาตัวอย่างประโยค
My dad’s glasses went missing.” (แว่นตาของพ่อของฉันกำลังหายไป)
กรณีนี้ my (ของฉัน) ทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ ขยาย dad นั่นเอง เราจะเรียกคำสรรพนาม my ว่าเป็น Possessive Determiners หรือ คุณศัพท์ที่แสดงความเป็นเจ้าของ

  “Hey,  those glasses are my!”
  “Hey,  those glasses are mine!” (เฮ้ แว่นตาเหล่านั้นเป็นของฉัน)
  “Hey, those are my glasses! (เฮ้ เหล่านั้นเป็นแว่นตาของฉัน)
นักศึกษาจะสงสัยว่า ทำไมประโยคแรกถึงใช้ my (ของฉัน) ไม่ได้ ก็เพราะตามที่ผมบอกมาแล้วว่า my จะต้องตามด้วยคำนามที่มันขยายเสมอ เพราะมันเป็นคำคุณศัพท์แสดงความเป็นเจ้าของ เราจะวางโดด ๆ ไม่ได้ครับ จะต้องใช้ my glasses ถึงจะถูกต้อง
ส่วนคำว่า mine (ของฉัน) เป็นคำสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ ไม่ต้องมีคำนามตามมา

สำหรับ คำสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ (Possessive Pronouns) ในทางไวยากรณ์เป็นคำสรรพนามที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I can see mine through the window!”
(ฉันสามารถเห็นของของฉันทางหน้าต่าง)
• “You said you bought yours for $50?”
(คุณบอกว่า คุณได้ซื้อของของคุณ ในราคา 50 เหรียญ)
• “Jenny seems pretty sure that the book is hers.”
(เจนนี่ดูเหมือนมั่นใจมากว่า หนังสือนั้น เป็น ของของหล่อน)
เราจะสังเกตเห็นว่า คำสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ ไม่ต้อง + คำนาม

พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “He said it was his computer, but I don’t think it is actually his.”
(เขาบอกว่า มันเป็น คอมพิวเตอร์ของเขา แต่ฉันไม่คิดว่าจริง ๆ แล้ว มันเป็นของของเขา)
นักศึกษาจะเห็นว่า ประโยคนี้ ประธานที่มีอยู่ก่อนก็คือ He
ส่วน his computer (คอมพิวเตอร์ของเขา) his เป็น Possessive Determiners ขยาย computer
ส่วน his ตัวหลัง แปลว่า ของของเขา เป็น Possessive Pronouns
เนื่องจาก มีรูปที่เหมือนกัน ให้นักศึกษากลับไปดูตารางที่ผมได้สรุปไว้ในโพสท์ที่ผ่านมาครับ

• “As the campaign reached the peak of its success, it seemed to take on a life of its own.”
(เมื่อการรณรงค์ได้ถึงจุดสูงสุดของความสำเร็จของมัน มันเหมือนการเริ่มชีวิตเป็นของของมันเอง)
เราจะพบว่า  its success (ความสำเร็จของมัน) กรณีนี้ its เป็น Possessive Determiners
ในขณะที่ its own (ของของมัน) เป็น Possessive Pronouns 
โดยปกติแล้วเราจะพบว่า its จะมีรูปเหมือนกันทั้ง Possessive Determiners และ Possessive Pronouns
แต่เขามักนิยมใช้คำว่า its own (ของของมัน) แทน its ซึ่งมีความหมายเหมือนกัน
ในขณะที่สำนวน a life of its own หมายถึง ลักษณะการมีชีวิตที่อิสระด้วยตัวของมัน

สำหรับโพสท์นี้ จะขยายความเรื่องคำสรรพนามไว้เพียงแค่นี้ก่อน โปรดติดตามตอนต่อไป สวัสดีครับ

เรียบเรียงโดย
  • ติวเตอร์แบงค์
  • สถาบันติว PERFECT ซ.รามคำแหง 43/1
  • ติวเตอร์ประจำวิชา ENG, ENS, CEN2101, CEN2102, APR2101
  • ติดต่อติวเตอร์ โทร. 081-7269394 Line ID : sjbank
เอกสารอ้างอิง
  1. Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
  2. Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
  3. Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
  4. Raymond Murphy. 2019. English Grammar in Use, Cambridge University Press; 5 edition (24 Jan. 2019).
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 5 ธ.ค. 2562