สวัสดีครับนักศึกษา สำหรับโพสท์นี้ก็จะเป็นหัวข้อสุดท้ายที่จะพูดถึงเกี่ยวกับคำนามในภาษาอังกฤษ โดยเราจะมาทำความเข้าใจและรู้จักรูปของคำนามที่สร้างขึ้นมาจากคำชนิดอื่น ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่ผู้เรียนจะต้องรู้ เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างประโยคเป็นลำดับต่อไปครับ
Nominalization (Creating Nouns) คำนามที่เกิดจากการสร้างขึ้นจากคำชนิดอื่น
นิยามNominalization หมายถึง การสร้างคำนามจากคำกริยา(Verb) หรือ คำคุณศัพท์(Adjective) โดยส่วนใหญ่แล้ว คำนามที่สร้างจากคำชนิดอื่น (other parts of speech) โดยการเติม Suffix ( ส่วนที่ต่อท้ายคำ) แต่ยังมีกรณีอื่น ๆ ที่มีการเปลี่ยนคำกริยาหรือคำคุณศัพท์ไปเป็นคำนาม โดยไม่มีการเติมใด ๆ แต่จะเปลี่ยนวิธีการสะกดคำ หรือ การเน้นพยางค์(stress) ที่เรียกว่า conversion หรือ zero derivation นั่นเอง
Suffixes คือ อะไร
คำว่า Suffixes หมายถึง กลุ่มของตัวอักษร ที่นำมาต่อท้ายคำเพื่อเปลี่ยนความหมายของคำ ในหลักภาษาไทยที่เราเรียกว่า ปัจจัย หรือ คำต่อท้าย โดยปกติแล้ว การเปลี่ยนคำกริยาหรือคำคุณศัพท์ให้กลายมาเป็นคำนามนั้น โดยการเติม ปัจจัย หรือ Suffixes นั่นเอง (แต่ก็ไม่ใช่เป็นกฎตายตัวแน่นอนไปทั้งหมดในบางกรณี วิธีที่ถูกต้องที่สุด คือ การดูคำอธิบายในพจนานุกรม จะชี้ชัดได้แน่นอนที่สุด)การสร้างคำนามจากคำกริยา(Verbs) ที่เรียกว่า Gerund
รูปของคำนามที่สร้างจากคำกริยา เราเรียกว่า Gerund ที่พบโดยส่วนใหญ่ โดยการนำกริยามาเติม Suffix คือ "-ing"พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Walking is very pleasant.”
(การเดินเป็นสิ่งที่ให้ความเพลิดเพลินมาก)
• “I enjoy reading.”
(ฉันสนุกกับการอ่าน)
• “Listening is an important aspect of any relationship.”
(การฟังเป็นแง่มุมสำคัญของความสัมพันธ์ใด ๆ)
• “My sleeping has been very disrupted lately.”
(การนอนของฉันถูกรบกวนมากในช่วงนี้)
• “Baking is my favorite pastime.”
(การปิ้งย่างเป็นงานอดิเรกที่ชื่นชอบของฉัน)
• “I hate running.”
(ฉันเกลียดการวิ่ง)
โดยปกติแล้ว คำนามที่สร้างจากคำกริยา เมื่อเปลี่ยนเป็นคำนามจะขึ้นต้นด้วย การ หรือความ เช่น
walk(เดิน) - walking(การเดิน)
read(อ่าน) - reading(การอ่าน)
เป็นต้น
หมายเหตุเพิ่มเติมทางไวยากรณ์ เกี่ยวกับ Gerund
คำว่า Gerund เราหมายถึง Verb+(-ing) สามารถทำหน้าที่ได้หลายแบบ เช่น
- Subject
- Adverbs
- Present participial clauses
- Subject complement
- Objects of prepositions
- Objects of verbs
- Objects of phrasal verbs
- Object complement
คำนามที่หมายถึง ผู้กระทำหรืออาชีพ
โดยปกติแล้วการเปลี่ยนกริยาให้เป็นคำนามที่หมายถึง ผู้กระทำ หรืออาชีพ โดยการเติม suffixes “-or,” “-er,” หรือ “-r”
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “My fiancée is an actor.” (กริยา act เป็น actor)
• “I’m training to be a teacher.” (กริยา teach เป็น teacher)
• “The writer is very well known.” (กริยา write เป็น writer)
• “The company is a major employer in the area.” (กริยา employ เป็น employer)
• “The projector was broken today.” (กริยา project เป็น projector)
คำนามที่หมายถึง ผู้รับ (recipience)
เราจะเห็นบ่อยในกรณีที่มีการเปลี่ยนคำกริยาเป็นคำนาม ที่หมายถึง ผู้รับ โดยการเติม “-ee”
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “The employee is disputing his wages.”
employ - จ้างงาน
employer - นายจ้าง
employee - ลูกจ้าง
• “The bank must approve you as the payee.
pay - จ่าย
payer - ผู้จ่าย
payee - ผู้รับเงิน
• “There is one more interviewee waiting to be seen.”
interview - สัมภาษณ์
interviewer - ผู้สัมภาษณ์
interviewee - ผู้ถูกสัมภาษณ์
เป็นต้นครับ
คำนามที่หมายถึง การกระทำทั่วไป
โดยปกติการเปลี่ยนคำกริยาให้เป็นคำนาม ที่หมายถึงการกระทำทั่วไป โดยการเติม suffix ต่าง ๆ เช่น
“-tion,” “-sion,” “-ance,” “-ment,” และ “-ence”
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “His acceptance of the position was received warmly.”
(กริยา accept (ยอมรับ) กลายเป็น acceptance (การยอมรับ))
• “Thank you for the invitation!”
(กริยา invite (เชิญ) กลายเป็น invitation (การเชิญ))
• “In conclusion, we should see a spike in profits soon.”
(กริยา conclude (สรุป) กลายเป็น conclusion (การสรุป))
• “Government must derive from the will of the population.”
(กริยา govern (ปกครอง) กลายเป็น government (การปกครอง) ; กริยา populate (อาศัยอยู่) กลายเป็น population (ประชากร))
• “Attendance is at an all-time low.”
(กริยา attend (เข้าร่วม) กลายเป็น attendance(การเข้าร่วม)
• “I was surprised by my enjoyment of the play.”
(กริยา enjoy (สนุก) กลายเป็น enjoyment(ความสนุก)
• “Use the textbook as your reference if you’re confused.”
(กริยา refer (อ้างอิง) กลายเป็น reference (การอ้างอิง))
• “Failure to find a solution is not an option.”
(กริยา fail(ล้มเหลว) กลายเป็น failure(ความล้มเหลว)
• “The review will include a quick perusal of your work.”
(กริยา peruse(ตรวจ กลายเป็น perusal(การตรวจ)
ทั้งหมดที่ยกมา เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้นครับ นักศึกษาสามารถหาข้อมูลศึกษาเพิ่มเติมได้
การสร้างคำนามจากคำคุณศัพท์(Adjectives)
นักศึกษาสามารถเปลี่ยนคำคุณศัพท์ให้เป็นคำนามได้ โดยการ เติม suffix ต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการสะกด
ตัวอย่างการเติมท้าย ด้วย “-ness”
• “The hardness of diamond makes it a great cutting tool.”
(คุณศัพท์ hard (แข็ง) กลายเป็น hardness (ความแข็ง)
• “The child’s meekness is quite sweet.”
(คุณศัพท์ meek (นอบน้อม) กลายเป็น meekness (ความนอบน้ออม))
• “His gruffness is not appreciated.”
(คุณศัพท์ gruff (หยาบคาย) กลาย gruffness (ความหยาบคาย)
• “I don’t care for the roughness of my hands.”
(คุณศัพท์ rough (กระด้าง) กลายเป็น roughness (ความกระด้าง)
• “The teacher puts her students’ happiness above all else.”
(คุณศัพท์ happy (สุข) กลายเป็น happiness (ความสุข))
ตัวอย่างการเติมท้าย ด้วย “-y”
การเปลี่ยนคำคุณศัพท์เป็นคำนาม โดยเฉพาะคำคุณศัพท์ที่ลงท้าย ด้วย "-t"
• “This project will be fraught with difficulty.”
(คุณศัพท์ difficult (ลำบาก) กลายเป็น difficulty (ความลำบาก)
• “That’s enough of your modesty.”
(คุณศัพท์ modest(สุภาพ) กลายเป็น modesty (ความสุภาพ)
• “Honesty is a very important virtue.”
(คุณศัพท์ honest (ซื่อสัตย์) กลายเป็น honesty(ความซื่อสัตย์)
ตัวอย่างการเติมท้าย ด้วย “-ity”
การเปลี่ยนคำคุณศัพท์เป็นคำนาม โดยเฉพาะคำคุณศัพท์ที่ลงท้าย ด้วย "-e"
• “There is a scarcity of food in the city.”
(scarce (ขาดแคลน) กลายเป็น scarcity (ความขาดแคลน))
• “Kindness is a rarity in this world.”
(rare (หายาก) rarity (ความหายาก)
• “This project is your responsibility.”
(responsible (รับผิดชอบ) responsibility(ความรับผิดชอบ)
• “I have no question of your ability.”
(able (สามารถ) ability(ความสามารถ)
ตัวอย่างการเติมท้าย ด้วย “-ance” และ “-ence”
การเปลี่ยนคำคุณศัพท์เป็นคำนาม โดยเฉพาะคำคุณศัพท์ที่ลงท้าย ด้วย "-ant, -ent"
• “This is of the utmost importance.”
(important (สำคัญ) importance (ความสำคัญ))
• “Your ignorance is astounding.”
(ignorant (ไม่รู้) ignorance (ความไม่รู้))
• “We demand greater independence.”
(independent (อิสรภาพ) independence (ความมีอิสรภาพ)
• “Silence is expected during tests.”
(silent (เงียบ) silence (ความเงียบ))
การเปลี่ยนคำกริยาเป็นคำนามโดยไม่เปลี่ยนรูป(conversion หรือ zero derivation)
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “Please answer the phone, Tom.”
(กรณีนี้ answer (ตอบ) เป็นคำกริยา)
• “We’ll need an answer by tomorrow.”
(กรณีนี้ answer (คำตอบ) เป็นคำนาม)
• “I run each morning before breakfast.”
(กรณีนี้ run (วิ่ง) เป็นคำกริยา)
• “I’m going for a run later today.”
(กรณีนี้ run (การวิ่ง) เป็นคำนาม)
• “Meteorologists are forecasting a snowstorm overnight.”
(กรณีนี้ forecasting (พยากรณ์) เป็นคำกริยา )
• “The forecast said there would be rain in the afternoon.”
(กรณีนี้ forecast (การพยากรณ์) เป็นคำนาม)
การเปลี่ยนคำกริยาเป็นคำนาม โดยเปลี่ยนวิธีการออกเสียงเน้นพยางค์ หรือเรียกว่า Suprafix
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “You need to convert pounds into kilograms.”
คำว่า convert(แปลง) เมื่อออกเสียงเน้นพยางค์หลัง จะเป็นคำกริยา
• “The church always welcomes recent converts to its meetings.”
คำว่า convert เมื่อออกเสียงเน้นพยางค์แรก จะเป็นคำนาม แปลว่า การแปลง
• “Make sure you record the meeting so we can review it later.”
คำว่า record เมื่อออกเสียงเน้นที่พยางค์หลัง จะเป็นคำกริยา แปลว่า บันทึก
• “I love listening to old records.”
คำว่า record เมื่อออกเสียงเน้นที่พยางค์แรก จะเป็นคำนาม แปลว่า การบันทึก
• “Please don’t insult my intelligence.”
คำว่า insult เมื่อออกเสียงเน้นที่พยางค์หลัง จะเป็นคำกริยา แปลว่า ดูถูก
• “We will not forget this insult to our company.”
คำว่า insult เมื่อออกเสียงเน้นที่พยางค์แรก จะเป็นคำนาม แปลว่า การดูถูก
นอกจากนี้แล้ว อาจมีบางคำที่เปลี่ยนวิธีการออกเสียงทั้งคำ เพื่อเปลี่ยนจากกริยาเป็นคำนาม ครับ
การเปลี่ยนคำคุณศัพท์เป็นคำนามโดยไม่เปลี่ยนรูป (Nominal adjectives)
เราสามารถเปลี่ยนคำคุณศัพท์ไปเป็นคำนามโดยการใช้ Article "the" นำหน้า
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “The wealthy have an obligation to help the poor.”
คำว่า wealthy แปลว่า รวย ส่วน The wealthy แปลว่า บรรดาคนรวย
คำว่า poor แปลว่า จน ส่วน the poor แปลว่า บรรดาคนจน
***จะสังเกตพบว่า จะกลายเป็นคำนามรูปพหูพจน์ นะครับ
• “We all want the best for her.”
คำว่า best แปลว่า ดีที่สุด ส่วน the best แปลว่า สิ่งที่ดีที่สุด
• “This law protects the innocent.”
คำว่า innocent แปลว่า บริสุทธิ์ ส่วน the innocent แปลว่า ผู้บริสุทธิ์
การสร้างคำนามจากคำกริยาโดยการเปลี่ยนเป็นรูป Infinitive
รูป Infinitive หมายถึง การนำ "to" นำหน้ากริยา เพื่อต้องการเปลี่ยนให้เป็นคำนาม
ข้อควรทราบ
รูป Infinitive นั้น ไม่ได้เป็นแค่คำนามได้อย่างเดียว อาจกลายเป็นคำคุณศัพท์หรือกริยาวิเศษณ์ก็ได้ ซึ่งรายละเอียดนั้น ผมจะขอยกไปกล่าวไว้ในอีกบทครับ
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “To err is human; to forgive is divine.”
To err แปลว่า ความผิดพลาด to forgive แปลว่า การให้อภัย
• “To study mathematics at Harvard was her ultimate dream.”
To study แปลว่า การศึกษา
• “To live in the city means adjusting to a completely different lifestyle.”
To live แปลว่า การอยู่อาศัย
*** จากตัวอย่างข้างต้น รูป Infinitive เป็นคำนาม และทำหน้าที่เป็น Subject ของประโยค
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I’m not going unless you agree to go with me.”
กรณีนี้ to go เป็นคำนาม แต่ทำหน้าที่เป็น Object ของกริยา agree
• “You appear to be correct.”
กรณีนี้ to be เป็นคำนาม แต่ทำหน้าที่เป็น Object ของกริยา appear
• “Please be quiet; I’m trying to study.”
กรณีนี้ to study เป็นคำนาม แต่ทำหน้าที่เป็น Object ของกริยา trying
พิจารณาตัวอย่างประโยค
• “I don’t expect you to approve of my decision.”
(ฉันไม่คาดวังความเห็นด้วยจากคุณเกี่ยวกับการตัดสินใจของฉัน)
กรณีนี้ to approve เป็นคำนาม แต่ทำหน้าที่เป็น ส่วนเติมเต็มของกรรม (Object Complement)
• “She’s forcing me to work through the weekend.”
(หล่อนบังคับให้ฉันทำงานตลอดทั้งสัปดาห์)
กรณีนี้ to work เป็นคำนาม แต่ทำหน้าที่เป็น ส่วนเติมเต็มของกรรม (Object Complement)
• “We need you to make a few more copies.”
กรณีนี้ to make เป็นคำนาม แต่ทำหน้าที่เป็น ส่วนเติมเต็มของกรรม (Object Complement)
(เราต้องการให้คุณทำสำเนามากขึ้นอีก)
หลังจากที่นักศึกษาได้อ่านหัวข้อนี้ ก็พอที่จะเข้าใจว่า เราสารมารถเปลี่ยนคำชนิดอื่นให้เป็นคำนามนั้น สามารถทำได้อย่างไร และสามารถแบ่งออกเป็นกี่รูปแบบ และมีความหมายอย่างไร สำหรับหัวข้อต่อไปนั้น ผมก็จะขึ้นหัวข้อใหม่ เรื่อง คำสรรพนาม (Pronoun) เป็น ลำดับต่อไปครับ สวัสดีครับ
- ติวเตอร์แบงค์
- สถาบันติว PERFECT ซ.รามคำแหง 43/1
- ติวเตอร์ประจำวิชา ENG, ENS, CEN2101, CEN2102, APR2101
- ติดต่อติวเตอร์ โทร. 081-7269394 Line ID : sjbank
- Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
- Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
- Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
- Raymond Murphy. 2019. English Grammar in Use, Cambridge University Press; 5 edition (24 Jan. 2019).
0 ความคิดเห็น