คำนามผสม สร้างจากอะไร แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

สวัสดีครับนักศึกษาสำหรับเนื้อหาที่จะกล่าวขยายความต่อเนื่องจากโพสท์ที่ผ่านมา โดยเนื้อหาต่อไปนี้ก็จะเป็นเนื้อหาที่มีความสำคัญในการศึกษาหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ก็คือ คำนามผสม (Compound Nouns) มีดังต่อไปนี้

คำนามผสม (Compound Nouns)

นิยาม
Compound Nouns หมายถึง คำนาม ที่ประกอบขึ้นจากคำตั้งแต่ 2 คำ หรือมากกว่านั้นนำรวมกัน เป็นหน่วยเดียว เพื่อกำหนดเป็นชื่อของคำนามของ คน สถานที่ หรือสิ่งของ ซึ่งคำนามผสม โดยปกติสร้างมาจากคำนาม 2 คำ หรือ คำนามรวมกับคำคุณศัพท์ หรือ ส่วนผสมอื่น ๆ ก็เป็นไปได้ด้วยเช่นกัน

โดยทั่วไป Compound Nouns จะประกอบด้วย 2 ส่วนด้วยกัน คือ
คำแรก ใน Compound Nouns คือ ชนิดของคนหรือสิ่งของที่เป็นตัวบอกว่ามีวัถตุประสงค์อะไร
คำที่สอง ใน Compound Nouns คือ คำที่ระบุว่าเป็นคนหรือวัตถุ
ตัวอย่างคำนามผสม
• water + bottle = water bottle (ขวดที่ใช้สำหรับใส่น้ำดื่ม)
• dining + room = dining room (ห้องที่ใช้สำหรับรับประทานอาหาร)
• back + pack = backpack (กระเป๋าที่สำหรับสวมไว้ด้านหลัง)
• police + man = policeman (ชายผู้ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ)
โดย Compound Nouns ก็มีคุณศัพทขยายได้เช่นเดียวกับคำนามทั่วไป เช่น
• “I need to buy a large water bottle.”
• “That’s a beautiful dining room.”
• “My old backpack is still my favorite.”
• “A lone policeman foiled the attempted robbery.”

เราจะรู้ว่าเป็น Compound Nouns เพราะว่าความหมายของคำ 2 คำเมื่อรวมกันแล้วจะให้ความหมายที่แตกต่างคำเดิมที่แยกจากกัน ยกตัวอย่าง
water แปลว่า น้ำ
bottle แปลว่า ขวด
water bottle แปลว่า ขวดสำหรับใส่น้ำสำหรับดื่ม (มีความหมายที่เฉพาะต่างจากคำเดี่ยว)

การสร้างคำนามผสม (Compound Nouns)

ตามที่กล่าวมานั้นว่า คำนามผสมนั้น โดยปกติจะสร้างจาก
Noun  + noun (คำนาม + คำนาม) หรือ
Noun + adjective (คำนาม + คำคุณศัพท์)
แต่ก็ยังสามารถสร้างจากการรวมกันของคำชนิดอื่น ๆ ได้อีกมาก
Noun  + noun เช่น
• backpack
• bathroom
• bathtub
• bedroom
• bus stop
• fish tank
• football
• handbag
• motorcycle
• shopkeeper
• tablecloth
• toothpaste
• wallpaper
• water bottle
• website
• wristwatch
Adjective + noun เช่น
• full moon
• blackberry
• blackbird
• blackboard
• cell(ular) phone
• mobile phone
• hardware
• highway
• greenhouse
• redhead
• six-pack
• small talk
• software
• whiteboard

คำนามผสมอื่น ๆ มีอีกหลายรูปแบบ เช่น
1. Noun + Verb (คำนาม + คำกริยา)
haircut
rainfall
sunrise
sunset
2. Noun + Preposition (คำนาม +คำบุพบท)
hanger-on
passerby
3. Noun + Prepositional Phrase (คำนาม + วลีบุพบท)
brother-in-law
mother-in-law
4. Noun + Adjective (คำนาม + คำคุณศัพท์)
cupful
spoonful
5. Verb + Noun (คำกริยา + คำนาม)
breakfast
washing machine
runway
pickpocket
swimming pool
6. Preposition + Noun (คำบุพบท + คำนาม)
bystander
influx
onlooker
underpants
upstairs
7. Verb + Preposition (คำกริยา + คำบุพบท)
check-in
checkout/check-out
drawback
lookout
makeup
8. Adjective + Verb (คำคุณศัพท์ + คำกริยา)
dry cleaning
public speaking
9. Preposition + Verb (คำบุพบท + คำกริยา)
input
output
overthrow
upturn

รูปแบบการเขียนคำนามผสม (Compound Nouns) มี 3 ลักษณะ

รูปแบบที่ 1 เขียนแยกกันระหว่างคำ (Open  compound nouns) เช่น
washing machine
swimming pool
water bottle
รูปแบบที่ 2 เขียนโดยมีเครื่องหมายเครื่องหมายยัติภังค์ (Hyphenated compound nouns) เช่น
check-in
hanger- on
mother-in-law
รูปแบบที่ 3 เขียนรวมเป็นคำเดียว (Closed compound nouns) เช่น
rainfall
drawback
toothpaste
ยกเว้นมีบางคำที่สามารถเขียนได้ 2 แบบ เช่น
website บางที่เขียนเป็น web site
checkout บางที่เขียนเป็น check- out
ขึ้นอยู่กับว่าเป็นแบบ American  English  หรือ British  English
อย่างไรก็ตาม จะเขียนแบบไหน คำนามผสม ก็ยังถือว่าเป็นหน่วยเดียว

การเปลี่ยนเป็นรูปพหูพจน์ของคำนามผสม

โดยปกติรูปพหูพจน์ทำได้โดยการเติม “-s” หรือ “-es” ที่ตำแหน่งของคำหลัก แต่ก็ไม่ทุกกรณี ตัวอย่าง
bedroom - bedrooms
football - footballs
water bottle - water bottles
full moon - full moons
กรณีที่ต่างจากกฎโดยทั่วไป เช่น
secretary general - secretaries general
mother-in-law - mothers-in-law
passerby / passer-by - passersby / passers-by
haircut - haircuts
check-in - check-in
checkout / check-out - checkouts / check-outs
upturn - upturns

การออกเสียงคำนามผสม

โดยทั่วไป คำนามผสมจะออกเสียงโดยเน้นที่คำแรก เช่น
BEDroom
BLACKbird
CHECK-in
GREENhouse
MAKEup
WATER bottle
แต่การเน้นคำที่ออกเสียง ก็ยังมีกรณียกเว้นมากมาย ดังนั้นให้นักศึกษาตรวจสอบใน Dictionary

หวังว่าโพสท์นี้จะทำให้นักศึกษาเข้าใจถึง คำนามผสม ประกอบขึ้นมาอย่างไร และมีกี่รูปแบบ ที่สำคัญคือ มีความหมายที่เปลี่ยนไปจากเดิม นักศึกษาสามารถหาความหมายของคำนามผสมต่าง ๆ ได้ในพจนานุกรม ซึ่งในที่นี้ผมยังไม่ได้แปลความหมายของแต่ละคำไว้ เพราะมันเยอะเหลือเกิน สำหรับ หัวข้อสุดท้ายของคำนาม คือ Nominalization (Creating Nouns) หรือ คำนามที่เกิดจากการสร้างขึ้นจาก คำกริยา และคำนามที่สร้างขึ้นจากคำคุณศัพท์ ซึ่งหัวข้อนี้มีความสำคัญมาก เป็นลำดับต่อไปครับ

เรียบเรียงโดย
  • ติวเตอร์แบงค์
  • สถาบันติว PERFECT ซ.รามคำแหง 43/1
  • ติวเตอร์ประจำวิชา ENG, ENS, CEN2101, CEN2102, APR2101
  • ติดต่อติวเตอร์ โทร. 081-7269394 Line ID : sjbank
เอกสารอ้างอิง
  1. Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
  2. Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
  3. Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
  4. Peter Huring. 2016. Complete English Grammar Rules - Examples, Exceptions & Everything You Need to Master Proper Grammar by Farlex International.
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 29 พ.ย. 2562