ประเภทของคำนาม และการสร้างคำนามจากคำชนิดอื่น
        คำในภาษาอังกฤษนั้น คำนาม ถือว่ามีมากที่สุด ดังนั้น หัวข้อที่เกี่ยวกับคำนามนั้น ยังไม่จบครับ โพสท์นี้ผมก็จะขยายความต่อจาก ตอนที่ 3 ตามลำดับ ดังต่อไปนี้

Nominalization (Creating Nouns) : การสร้างคำนาม

คำว่า Nominalization หมายถึง คำนามที่สร้างมาจากคำกริยา( Verbs) หรือ คำคุณศัพท์(Adjectives)
โดยปกติแล้วการสร้างคำนามจากคำชนิดอื่น ทำได้โดยการเติมท้าย หรือ ที่เรียกว่า Suffixes
ยกตัวอย่างประโยค
• “My fiancée is an actor.” (คู่หมั้นของฉันเป็นนักแสดง)
กริยา act + -or = actor
เปลี่ยนจากคำกริยาไปเป็นคำนาม โดยการเติมท้ายด้วย -or
• “His acceptance of the position was received warmly.” (การตอบรับตำแหน่งของเขาได้รับการยอมรับอย่างอบอุ่น)
กริยา accept + -ance = acceptance
เปลี่ยนจากคำกริยาไปเป็นคำนาม โดยการเติมท้ายด้วย -ance
•  “This  project  will be fraught  with  difficulty.” (โครงการนี้จะเต็มไปด้วยความยากลำบาก)
คุณศัพท์ difficult + -y = difficulty
จะเห็นว่า คำนาม difficulty : ความลำบาก 
ปลี่ยนจากคำคุณศัพท์ไปเป็นคำนาม โดยการเติมท้ายด้วย -y
หมายเหตุ การสร้างคำนามจาก คำกริยา(Verbs) หรือ คำคุณศัพท์(Adjectives) โดยการเติม Suffixes นั้น
ยังมี Suffixes อีกมากมาย ซึ่งผมจะยังไม่ลงรายละเอียดในหัวข้อนี้ แต่ในหัวข้อนี้ ต้องการให้เราพอเข้าใจว่า กระบวนการสร้างคำนาม หรือ Nominalization สร้างได้อย่างไร จากอะไร

Nouns of Address (คำนามเรียกขาน)

นิยาม ของ Nouns of  Address  เรียกกันหลายแบบ เช่น
  • Vocatives
  • Nominatives  of address
  • Nouns of direct  address
ใช้ในกรณีที่ต้องการระบุถึงคนที่พูดด้วย เพื่อต้องการให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านรู้ว่า คุณกำลังถูกกล่าวถึง(เรียกขาน) เพื่อให้เขาสนใจเรา
ตัวอย่างประโยค
• “James, I need you to help me with the dishes.”(เจมส์, ฉันอยากให้คุณช่วยฉันล้างจาน)
• “Can I have some money, Mom?” (มีเงินไหม, แม่)
• “Hey, guy in the red shirt, can you help me?” (เฮ้, คนใส่เสื้อแดง, ช่วยฉันหน่อยได้ไหม)
เราจะพบว่า คำนามที่ใช้เรียกขานนั้น อาจจะอยู่ต้น กลาง หรือ ท้ายประโยคก็ได้ และมีเครื่องหมาย คอมม่า(,) เพื่อแยกออกจากส่วนอื่นของประโยค

Nouns of Address ขึ้นต้นอักษรตัวใหญ่ กรณีเป็นนามเฉพาะ

ตัวอย่างประโยค
• “Can you help me, James?”
• “Thank you, Mrs. Smith, for being here.”
• “It’s so nice to meet you, Doctor Jenner.”
• “Hey, Coach Frank, how are you doing today?”

Nouns of Address ขึ้นต้นอักษรตัวใหญ่ กรณี เป็นตำแหน่งงาน, สมาชิกครอบครัว

ตัวอย่างประโยค
• “How are you doing, Coach?” (สบายดีไหมครับ, โค้ช)
• “I need your advice, Mr. President.” (ผมต้องการคำแนะนำจากคุณ, ท่านประธานาธิบดี)
• "Can you come with me, Mom?” (จะมากับผมไหมครับ,แม่)
• “Pleased to meet you, Doctor.” (ยินดีที่พบคุณ, คุณหมอ)

Nouns of Address ที่เป็นคำนามทั่วไป

ตัวอย่างประโยค
• “This, class, is the video I was telling you about.”
• “Can you help me, guy in the red shirt?”
• “Please stand up, boys and girls.”
• “Ladies  and  gentlemen,  please  remain  seated for the duration of the performance.”
จะขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ กรณีอยู่ต้นประโยคเท่านั้นครับ

ทบทวนเรื่องคำนาม(Nouns) ในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ

เมื่อมาถึงตอนนี้ เนื้อหาไวยากรณ์ภาษาอังกฤษก็จะขยายความลงรายละเอียดมากขึ้นเรื่อย ๆ และนักศึกษาก็อาจจะเริ่มสับสนได้ ไม่รู้อะไรเยอะแยะไปหมด หลายเรื่อง หลายกรณี ผมจึงอยากจะสรุปเรื่องของคำนาม(Nouns) พอสังเขปอีกครั้ง เพราะหลาย ๆ ตำรามีการแบ่งประเภทของคำนามที่แตกต่างกัน บางทีผู้เรียนก็สับสนได้ ถ้าเรายังสับสนเกี่ยวกับคำนาม จะทำให้เราไปศึกษาถึงการใช้คำที่จะมาระบุ ปริมาณ หรือ คุณสมบัติของคำนาม เช่น พวก Articles หรือ พวก Determiners หรือพวกวลีที่ใช้บ่งชี้ปริมาณของคำนาม หรือรวมไปถึงการผันกริยาให้สอดคล้องกับคำนามในลักษณะต่าง ผิดพลาดได้
ดังนั้น ผมจึงขอสรุปเบื้องต้นเกี่ยวกับคำนามได้ดังนี้
คำนาม(Nouns) คือ ชื่อที่ใช้ระบุว่าเป็น ประเภทของ คน สถานที่ สัตว์ สิ่งของ แนวคิด ต่าง ๆ ดังนั้น คำนามจึงมีขอบเขตที่กว้างกว่าคำชนิดอื่น ๆ เราสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มกว้าง ๆ ได้ดังนี้
1. Countable Nouns (นามนับได้) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
  • Concrete Countable Nouns (นามนับได้ที่ เป็นสิ่งจับต้องหรือเห็นได้)
  • Abstract Countable Nouns (นามนับได้ที่ เป็นสิ่งไม่สามารถจับต้องหรือเห็นได้)
2. Uncountable Nouns (นามนับไม่ได้) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
  • Concrete Uncountable Nouns (นามนับไม่ได้ที่ เป็นสิ่งจับต้องหรือเห็นได้)
  • Abstract Uncountable Nouns (นามนับไม่ได้ที่ เป็นสิ่งไม่สามารถจับต้องหรือเห็นได้)
3. Count Nouns (การนับคำนาม) แบ่งออกเป็น 2 รูป หรือ forms ได้ดังนี้
  • Singular Nouns (นามที่เป็นรูปเอกพจน์)
  • Plural Nouns (นาที่เป็นรูปพหูจน์)
เหตุผลที่ต้องรู้ก็เพราะว่า คำนามบางชนิด เป็นเอกพจน์ได้อย่างเดียว บางชนิดเป็นพหูพจน์ได้อย่างเดียว และบางชนิดเป็นได้ทั้งรูปเอกพจน์และพหูพจน์ ครับ
ส่วนหัวข้อที่เกี่ยวกับ ชนิดของคำนาม เช่น นามทั่วไป นามชี้เฉพาะ นามกลุ่ม นามสถานที่ การเปลี่ยนรูปของคำนาม ฯลฯ หัวข้อดังกล่าว ผมถือว่าเป็นประเด็นย่อยลงไปอีก ค่อย ๆ ศึกษาลงลึกไปเรื่อย ๆ ได้

Concrete Nouns กับ Abstract Nouns

ในบรรดาสรรพสิ่งที่เป็นชื่อ คน สถานที่ หรือ สิ่งของนั้น ถ้าแบ่งตามการมองเห็นหรือสัมผัส
สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
1. Tangible Things  หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ ซึ่งสามารถมองเห็นหรือสัมผัสได้
2. Intangible Things หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ ซึ่งไม่สามารถมองเห็นหรือสัมผัสได้
คำนามทุกชนิด ที่ใช้เป็นการระบุว่าเป็น คน สถานที่ หรือ สิ่งของนั้น ถ้าแบ่งตามคุณสมบัติ(class) แบ่งออกเป็น 2 คือ
1. Concrete Nouns หมายถึง นามที่มีคุณสมบัติทางกายภาพ(สิ่งที่เป็นวัตถุ)
2. Abstract Nouns หมายถึง นามที่ไม่มีคุณสมบัติทางกายภาพ(สิ่งที่ไม่เป็นวัตถุ)
นิยาม
Name หมายถึง การกำหนดชื่อหรือเรียกชื่อ ของสิ่งต่าง ๆ 
Noun หมายถึง ประเภทของคำที่ระบุชื่อว่าสิ่งนั้นเป็น คน สถานที่ สัตว์ สิ่งของ แนวคิด

Concrete Nouns

ทำหน้าที่กำหนดชื่อ คน สถานที่ สัตว์ หรือ สิ่งของ ที่เป็นสิ่งที่สามารถมองเห็นหรือสัมผัสได้ หรือสิ่งที่มีคุณสมบัติเชิงกายภาพ
ตัวอย่างของ Concrete Nouns
rocks - หิน
lake - ทะเลสาป
countries - ประเทศต่าง ๆ
people - คน
child - เด็ก
air - อากาศ
water - น้ำ
bread - ขนมปัง
Mary - แมรี่
The Queen - ราชินี
Africa - ทวีปอัฟริกา
เป็นต้น

Abstract Nouns

ทำหน้าที่กำหนดชื่อ สิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นหรือสัมผัสได้ เช่น บรรดา
concepts - แนวคิดต่าง ๆ
ideas - ความคิดต่าง ๆ
feelings - ความรู้สึกต่าง ๆ
characteristics - ลักษณะต่าง ๆ
attributes - คุณสมบัติต่าง ๆ
เป็นต้น

ตัวอย่างคำที่เป็น Abstract Nouns
love - ความรัก
hate - ความเกลียดชัง
decency - ความประพฤติดี
conversation - การสนทนา
emotion - อารมณ์
aspiration - แรงบันดาลใจ

Gerunds

หมายถึง กริยาที่ลงท้ายด้วย “-ing” และทำหน้าที่เป็นคำนาม ถือว่าเป็น Abstract Nouns เช่น
running - การวิ่ง
swimming - การว่ายน้ำ
jumping  - การกระโดด
reading  - การอ่าน
writing - การเขียน
loving - ความรัก
breathing - การหายใจ
เราจะกำหนดชื่อของการกระทำต่าง ๆ ว่าเป็นแนวคิด (Concepts) เพราะว่าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสได้

Countable Nouns กับ Uncountable Nouns (คำนามที่นับได้กับนับไม่ได้)

ทั้ง Concrete Nouns และ Abstract Nouns สามารถเป็นได้ทั้งที่นับได้หรือนับไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเป็นชื่อของสิ่งใด

Countable Nouns (นามที่สามารถนับได้)

Concrete Nouns  จำนวนมากสามารถนับได้ เช่น
cup
ambulance
phone
person
dog
computer
doctor
เนื่องจากคำนามเหล่านี้ เราสามารถแยกเป็นหน่วยออกมานับได้ เช่น เป็น 1,5,10,100 เป็นต้น ซึ่งคำนามเหล่านี้ เราสามารถใช้  Articles (a / an) นำหน้าได้ หรือทำเป็นรูปพหูพจน์ได้ เช่น
a cup – two cups
an ambulance – several ambulances
a phone – 10 phones
a person – many people

Abstract countable nouns (คำนามที่สามารถนับได้แม้มองไม่เห็น)

ถึงแม้ว่า Abstract Nouns จะหมายถึงสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่มีจำนวนมากที่สามารถนับได้ เช่นเดียวกับ Concrete Nouns
ยกตัวอย่าง
a conversation – two conversations
an emergency – several emergencies
a reading – 10 readings
an aspiration – many aspirations

Uncountable Nouns (นามที่ไม่สามารถนับได้)
นามที่ไม่สามารถนับได้ เรามักเรียกว่า non-count nouns หรือ mass nouns

Concrete Uncountable Nouns (นามนับไม่ได้ที่เป็นวัตถุ)

กลุ่มนี้ มักจะเป็น สสาร หรือ ประเภทของสิ่งที่มีลักณะเป็นชุด  เช่น
• wood, smoke, air, water
• furniture, homework, accommodation, luggage
นามกลุ่มนี้ ไม่สามารถใช้ Articles (a / an) นำหน้าได้ หรือทำเป็นรูปพหูพจน์ได้ เพราะไม่สามารถนำมาแยก แจกแจงนับเป็นหน่วยได้ เช่น
“I see a smoke over there.”
“I see (some*) smoke over there.”
“I don’t have furnitures.”
“I don’t have (any*) furniture.”
(*โดยปกติ เราจะใช้คำว่า  some หรือ  any  เพื่อแสดงถึงปริมาณของนามที่นับไม่ได้)
อย่างไรก็ตาม บางครั้ง นามที่นับไม่ได้ เราสามารถใช้ article "the" ได้ เพราะว่าไม่ได้ระบุจำนวน เช่น
• “They’re swimming in the water.”
• “The homework this week is hard.”

Abstract Uncountable Nouns

 โดยส่วนมากแล้ว กลุ่มนี้จะเป็นคำนามที่นับไม่ได้ เช่น
• love, hate, news*, access, knowledge
• beauty, intelligence, arrogance, permanence
ต้วอย่าง
“He’s just looking for a love.”
“He’s just looking for love.” (correct)
“She’s gained a great deal of knowledges during college.”
“She’s gained a great deal of knowledge during college.”
อย่างไรก็ตาม บางครั้ง นามที่นับไม่ได้ เราสามารถใช้ article "the" ได้ เช่น
• “I can’t stand watching the news.”
• “Can you believe the arrogance he exhibits?”

สำหรับโพสท์นี้ จะลงไว้ประมาณนี้ก่อนครับ ยังมีอีกเยอะที่เกี่ยวกับคำนาม ผมคงไม่สามารถนำมาลงทีเดียวได้หมดในคราวเดียว และต้องขออภัยที่ไม่ได้แปลศัพท์หรือประโยคที่ยกตัวอย่าง ผมคิดว่านักศึกษาพอที่จะช่วยตัวเองในการหาความหมายได้ เพราะเป็นคำศัพท์ที่ไม่ยากนัก แน่นอนครับ อาจมีข้อผิดพลาดในการพิมพ์ หรือ การแปลเป็นไทยอยู่บ้าง ต้องขออภัย ไว้ ณ โอกาสนี้ และจะพยายามแก้ไขให้ดีขึ้นในโอกาสต่อไป สำหรับวันนี้ พักเรื่องคำนามไว้เพียงเท่านี้ก่อน สวัสดีครับ

เรียบเรียงโดย
  • ติวเตอร์แบงค์
  • สถาบันติว PERFECT ซ.รามคำแหง 43/1
  • ติวเตอร์ประจำวิชา ENG, ENS, CEN2101, CEN2102, APR2101
  • ติดต่อติวเตอร์ โทร. 081-7269394
เอกสารอ้างอิง
  1. Brinton, Laurel J. & Donna M. Brinton. 2010. The linguistic structure of Modern English, 2nd edn. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company.
  2. Hopper, Paul J. 1999. A short course in grammar. New York: W. W. Norton & Company.
  3. Huddleston, Rodney. 1984. Introduction to the grammar of English. Cambridge: Cambridge University Press.
  4. Peter Huring. 2016. Complete English Grammar Rules - Examples, Exceptions & Everything You Need to Master Proper Grammar by Farlex International.
ปรับปรุงแก้ไขล่าสุดเมื่อ 26 พ.ย. 2562